เป็นแค่หวัดหรือไซนัสอักเสบ
เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมถึงเป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหลไม่หาย ไอติดต่อกันหลายสัปดาห์ และยังปวดฟันกรามด้านบน ปวดศีรษะ ลมหายใจไม่สดชื่น มีกลิ่นปากทั้งที่แปรงฟันอย่างดี หากมีอาการเหล่านี้สงสัยว่าอาจเป็นไซนัสอักเสบ (Sinusitis) อยู่หรือไม่?
รู้จักโรคไซนัสอักเสบ
ไซนัส เป็นโพรงอากาศที่อยู่บริเวณข้างโพรงจมูก ตำแหน่งของไซนัสจะอยู่ในกระดูกใบหน้า หรือกระดูกกระโหลกศีรษะ เช่น แก้ม หน้าผาก ด้านข้างลูกตา และหลังต่อโพรงจมูก เมื่อเยื่อบุโพรงไซนัสมีการอักเสบ จึงเรียกว่า ไซนัสอักเสบ
สาเหตุการเกิดโรคไซนัสอักเสบ
- เกิดตามหลังอาการไข้หวัด เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด โดยเฉพาะในรายที่เป็นหวัดแล้วไม่พักผ่อนอย่างเพียงพอ การดำน้ำลึก หรือกระโดดน้ำ อาจทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการไซนัสอักเสบอยู่เดิมกำเริบได้
- เป็นโรคภูมิแพ้
- โรคริดสีดวงจมูก หรือเนื้องอกในโพรงจมูก
- ฟันกรามแถวบนอักเสบ
- มีสิ่งแปลกปลอมเข้ารูจมูก เช่น ลูกปัด เม็ดถั่วเขียว พบมากในเด็ก
- ต่อมอะดินอยด์โตและติดเชื้อ
- ผนังจมูกคด
อาการโรคไซนัสอักเสบ
- คัดจมูก น้ำมูกข้นเขียวหรือเหลือง
- หายใจมีกลิ่นเหม็น
- ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดแก้ม ปวดท้ายทอย หนักศีรษะ
- เสมหะข้นไหลลงคอ ไอบ่อย
- รายที่เป็นรุนแรงอาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบ
ชนิดของโรคไซนัสอักเสบ
โรคไซนัสอักเสบมี 2 ชนิด คือ โรคไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน และโรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง โดยจะสามารถแบ่งได้ตามระยะเวลาทั้งหมดที่ผู้ป่วยมีอาการ ดังนี้
- โรคไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน คือ ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยกว่า 4 สัปดาห์
- โรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการนานกว่า 12 สัปดาห์
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอยู่ในช่วง 4 - 12 สัปดาห์ เรียกว่า "โรคไซนัสอักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลันกึ่งเรื้อรัง"
โรคไซนัสอักเสบกับหวัดแตกต่างกันอย่างไร?
โดยทั่วไปหวัดจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ โดยปกติแล้วผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสหวัดจะเกิดไซนัสอักเสบซึ่งจากเชื้อไวรัสซึ่งมักจะหายได้เองภายในประมาณ 10 วันโดยไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการนานกว่า 10 วันขึ้นไปโดยที่อาการไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจน หรือมีอาการดีขึ้นในช่วงแรกแล้วกลับแย่ลงอีก เราจะถือว่าผู้ป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนโรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรังสาเหตุของโรคมักเกิดจากการอักเสบมากกว่าการติดเชื้อ
การตรวจวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ
การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบใช้ประวัติอาการและการตรวจร่างกายเป็นหลัก ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง มักจะมีอาการไม่ชัดเจนเท่ากับโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน จึงมีความจำเป็นต้องใช้การตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม เพื่อตรวจดูการอักเสบของไซนัส เช่น การส่องกล้องเข้าไปในโพรงจมูก หรือตรวจโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันไม่นิยมใช้การตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดาเพราะความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคต่ำ
การรักษาโรคไซนัสอักเสบ
โรคไซนัสอักเสบบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ บางชนิดอาจรักษาหายแต่มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่สูง ทางที่ดีที่สุดคือผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง โดยทั่วไปการรักษาทำได้หลายวิธี ได้แก่
- การรักษาด้วยยา เช่น ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น โดยทั่วไปถ้าพบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียในโพรงไซนัสแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและชนิดของเชื้อก่อโรค นอกจากนี้ในกรณีของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยสเตียรอยด์พ่นจมูกหรือสเตียรอยด์ผสมน้ำเกลือล้างจมูก
- การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยทั่วไปข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดในโรคไซนัสอักเสบคือ ไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่ไม่หายจากการรักษาด้วยยาหรือกลับเป็นซ้ำบ่อย และไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ควบคุมอาการได้ไม่ดีจากการรักษาด้วยยา ในปัจจุบันการผ่าตัดไซนัสสามารถผ่าตัดด้วยการส่องกล้องผ่านจมูกได้เกือบทั้งหมด เป็นวิธีการผ่าตัดที่ปลอดภัยและได้ผลดี ผู้ป่วยไม่มีบาดแผลจากการผ่าตัดบริเวณใบหน้า โดยต้องดมยาสลบในการผ่าตัด ใช้เวลาพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดไม่นาน คืออยู่โรงพยาบาลประมาณ 1 - 2 วัน หากไม่มีอาการผิดปกติก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ ใช้เวลาประมาณ 3-5 วันก็กลับไปทำงานที่ไม่ต้องออกแรงหนักได้ตามปกติ
ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบจำเป็นต้องผ่าตัดทุกคนหรือไม่?
โดยส่วนใหญ่โรคไซนัสอักเสบสามารถหายได้ด้วยการใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ แต่อาจมีผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เช่น หลังจากใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีการติดเชื้อไซนัสแบบจำเพาะบางชนิด เช่น มีการติดเชื้อราในไซนัส หรือเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ควบคุมอาการได้ไม่ดีจากการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว
วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคไซนัสอักเสบ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หักโหม
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ เมื่อมีอาการคล้ายหวัดกำเริบ
- หลีกเลี่ยงภาวะอุณหภูมิแปรเปลี่ยนเฉียบพลัน
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
- ถ้ามีอาการมากขึ้นควรรีบมาพบแพทย์ รับประทานยา พร้อมทั้งติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าเคยเป็นโรคไซนัสอักเสบแล้วจะกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ จริงหรือ?
ผู้ที่เคยเป็นโรคไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลันมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำไม่มาก ส่วนผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังมักมีอาการเป็นเวลานานไม่หายขาด จำเป็นต้องได้รับยาเพื่อควบคุมอาการของโรคเป็นระยะเวลานานกว่า
การรักษาโรคไซนัสอักเสบต้องอาศัยเวลา ควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอาการกำเริบ ในรายที่รักษาติดต่อกันเป็นเวลานานแล้วไม่หายหรือเป็นซ้ำ ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงเพื่อรับการรักษาต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D
เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมถึงเป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหลไม่หาย ไอติดต่อกันหลายสัปดาห์ และยังปวดฟันกรามด้านบน ปวดศีรษะ ลมหายใจไม่สดชื่น มีกลิ่นปากทั้งที่แปรงฟันอย่างดี หากมีอาการเหล่านี้สงสัยว่าอาจเป็นไซนัสอักเสบ (Sinusitis) อยู่หรือไม่?
รู้จักโรคไซนัสอักเสบ
ไซนัส เป็นโพรงอากาศที่อยู่บริเวณข้างโพรงจมูก ตำแหน่งของไซนัสจะอยู่ในกระดูกใบหน้า หรือกระดูกกระโหลกศีรษะ เช่น แก้ม หน้าผาก ด้านข้างลูกตา และหลังต่อโพรงจมูก เมื่อเยื่อบุโพรงไซนัสมีการอักเสบ จึงเรียกว่า ไซนัสอักเสบ
สาเหตุการเกิดโรคไซนัสอักเสบ
- เกิดตามหลังอาการไข้หวัด เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด โดยเฉพาะในรายที่เป็นหวัดแล้วไม่พักผ่อนอย่างเพียงพอ การดำน้ำลึก หรือกระโดดน้ำ อาจทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการไซนัสอักเสบอยู่เดิมกำเริบได้
- เป็นโรคภูมิแพ้
- โรคริดสีดวงจมูก หรือเนื้องอกในโพรงจมูก
- ฟันกรามแถวบนอักเสบ
- มีสิ่งแปลกปลอมเข้ารูจมูก เช่น ลูกปัด เม็ดถั่วเขียว พบมากในเด็ก
- ต่อมอะดินอยด์โตและติดเชื้อ
- ผนังจมูกคด
อาการโรคไซนัสอักเสบ
- คัดจมูก น้ำมูกข้นเขียวหรือเหลือง
- หายใจมีกลิ่นเหม็น
- ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดแก้ม ปวดท้ายทอย หนักศีรษะ
- เสมหะข้นไหลลงคอ ไอบ่อย
- รายที่เป็นรุนแรงอาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบ
ชนิดของโรคไซนัสอักเสบ
โรคไซนัสอักเสบมี 2 ชนิด คือ โรคไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน และโรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง โดยจะสามารถแบ่งได้ตามระยะเวลาทั้งหมดที่ผู้ป่วยมีอาการ ดังนี้
- โรคไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน คือ ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยกว่า 4 สัปดาห์
- โรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการนานกว่า 12 สัปดาห์
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอยู่ในช่วง 4 - 12 สัปดาห์ เรียกว่า "โรคไซนัสอักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลันกึ่งเรื้อรัง"
โรคไซนัสอักเสบกับหวัดแตกต่างกันอย่างไร?
โดยทั่วไปหวัดจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ โดยปกติแล้วผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสหวัดจะเกิดไซนัสอักเสบซึ่งจากเชื้อไวรัสซึ่งมักจะหายได้เองภายในประมาณ 10 วันโดยไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการนานกว่า 10 วันขึ้นไปโดยที่อาการไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจน หรือมีอาการดีขึ้นในช่วงแรกแล้วกลับแย่ลงอีก เราจะถือว่าผู้ป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนโรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรังสาเหตุของโรคมักเกิดจากการอักเสบมากกว่าการติดเชื้อ
การตรวจวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ
การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบใช้ประวัติอาการและการตรวจร่างกายเป็นหลัก ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง มักจะมีอาการไม่ชัดเจนเท่ากับโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน จึงมีความจำเป็นต้องใช้การตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม เพื่อตรวจดูการอักเสบของไซนัส เช่น การส่องกล้องเข้าไปในโพรงจมูก หรือตรวจโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันไม่นิยมใช้การตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดาเพราะความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคต่ำ
การรักษาโรคไซนัสอักเสบ
โรคไซนัสอักเสบบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ บางชนิดอาจรักษาหายแต่มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่สูง ทางที่ดีที่สุดคือผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง โดยทั่วไปการรักษาทำได้หลายวิธี ได้แก่
- การรักษาด้วยยา เช่น ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น โดยทั่วไปถ้าพบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียในโพรงไซนัสแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและชนิดของเชื้อก่อโรค นอกจากนี้ในกรณีของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยสเตียรอยด์พ่นจมูกหรือสเตียรอยด์ผสมน้ำเกลือล้างจมูก
- การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยทั่วไปข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดในโรคไซนัสอักเสบคือ ไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่ไม่หายจากการรักษาด้วยยาหรือกลับเป็นซ้ำบ่อย และไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ควบคุมอาการได้ไม่ดีจากการรักษาด้วยยา ในปัจจุบันการผ่าตัดไซนัสสามารถผ่าตัดด้วยการส่องกล้องผ่านจมูกได้เกือบทั้งหมด เป็นวิธีการผ่าตัดที่ปลอดภัยและได้ผลดี ผู้ป่วยไม่มีบาดแผลจากการผ่าตัดบริเวณใบหน้า โดยต้องดมยาสลบในการผ่าตัด ใช้เวลาพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดไม่นาน คืออยู่โรงพยาบาลประมาณ 1 - 2 วัน หากไม่มีอาการผิดปกติก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ ใช้เวลาประมาณ 3-5 วันก็กลับไปทำงานที่ไม่ต้องออกแรงหนักได้ตามปกติ
ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบจำเป็นต้องผ่าตัดทุกคนหรือไม่?
โดยส่วนใหญ่โรคไซนัสอักเสบสามารถหายได้ด้วยการใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ แต่อาจมีผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เช่น หลังจากใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีการติดเชื้อไซนัสแบบจำเพาะบางชนิด เช่น มีการติดเชื้อราในไซนัส หรือเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ควบคุมอาการได้ไม่ดีจากการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว
วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคไซนัสอักเสบ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หักโหม
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ เมื่อมีอาการคล้ายหวัดกำเริบ
- หลีกเลี่ยงภาวะอุณหภูมิแปรเปลี่ยนเฉียบพลัน
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
- ถ้ามีอาการมากขึ้นควรรีบมาพบแพทย์ รับประทานยา พร้อมทั้งติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าเคยเป็นโรคไซนัสอักเสบแล้วจะกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ จริงหรือ?
ผู้ที่เคยเป็นโรคไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลันมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำไม่มาก ส่วนผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังมักมีอาการเป็นเวลานานไม่หายขาด จำเป็นต้องได้รับยาเพื่อควบคุมอาการของโรคเป็นระยะเวลานานกว่า
การรักษาโรคไซนัสอักเสบต้องอาศัยเวลา ควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอาการกำเริบ ในรายที่รักษาติดต่อกันเป็นเวลานานแล้วไม่หายหรือเป็นซ้ำ ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงเพื่อรับการรักษาต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D