ไอโอดีน ขาดก็ไม่ได้ เกินก็ไม่ดี

     ไอโอดีน (Iodine) คือแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายช่วยในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย มีส่วนช่วยในการเจริญและเติบโตของระบบประสาทและสมอง ไอโอดีนหากได้รับมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ หรือหากขาดสารไอโอดีน มีผลทำให้เกิดโรคคอพอกและกลุ่มอาการอื่น ๆ ตามมาได้ กลุ่มที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เช่น ทารกในครรภ์มารดา เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน และเด็กวัยรุ่น เป็นต้น

 

ผลจากการขาดไอโอดีน

1.  โรคคอพอก (Goiter) เกิดจากการได้รับไอโอดีนไม่เพียงพออย่างต่อเนื่อง เซลล์ของต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น เกิดการเพิ่มจำนวนเซลล์ (Hyperplasia) ต่อมไทรอยด์ใหญ่ขึ้นกว่าปกติ และเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (hypothyroidism) ทำให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายต่ำ ผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตตัวล่าง (diastolic blood pressure) สูง เชื่องช้า ง่วงนอน ท้องผูก ผิวหนังและผมแห้ง ถ้าเป็นเด็กจะรูปร่างเตี้ย

2. ด้านการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การขาดไอโอดีนในแต่ละวัยมีอาการที่คล้ายและต่างกัน ดังนี้

- ทารกในครรภ์ ทารกในครรภ์มารดาที่มีภาวะขาดไอโอดีน อาจจะแท้งหรือตายระหว่างคลอดได้ ถ้ารอดจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและมีอาการผิดปกติของสมอง มีการพัฒนาด้านระบบประสาทที่บกพร่อง (Neurologic cretinism) หรือที่เรียกว่าโรคเอ๋อ มีลักษณะตัวเตี้ย แคระแกร็น

- ทารกแรกคลอด หากมีภาวะขาดไอโอดีน จะมีอาการต่อมไทรอยด์โต ทำให้เป็นโรคคอพอกและมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism)

- เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน เด็กวัยรุ่น และผู้ใหญ่ หากมีภาวะขาดไอโอดีน ทำให้เป็นคอพอก มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) และมีความบกพร่องด้านอารมณ์และจิตใจ เป็นคนเซื่องซึม เฉื่อยชา

 

ผลจากการได้รับไอโอดีนมากเกินไป

     การได้รับไอโอดีนในปริมาณสูง อาจทำให้เกิดอาการเดียวกับการขาดไอโอดีน เช่น โรคคอพอก หรือภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่ทำให้ต่อมไทรอยด์จับสารไอโอดีนมากทำให้เกิดการผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป การได้รับไอโอดีนในปริมาณที่มากเกินเรื้อรังอาจทำให้เกิดต่อมไทรอยด์อักเสบและเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ อาการผิดปกติเช่น ทางระบบประสาท อัตราการเต้นของหัวใจสูง นอนไม่พอ อ่อนเพลีย เหงื่อออกง่าย น้ำหนักลดทั้งที่กินมาก อาการเป็นพิษเฉียบพลัน ได้แก่ แสบปากคอและท้อง ไข้ อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ชีพจรเต้นช้า

 

 

 

คำแนะนำในการบริโภคไอโอดีน

     สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ออก ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ อาหารที่ต้องเสริมสารไอโอดีน ได้แก่ น้ำปลา ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีน ของถั่วเหลือง ต้องมีไอโอดีน ไม่น้อยกว่า 2 และไม่เกิน 3 มิลลิกรัมต่อผลิตภัณฑ์ 1 ลิตร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขตามประกาศฯ ฉบับปรับปรุงลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยแนะนำให้ประชาชนทั่วไป ใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ วันละไม่เกิน 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 กรัม มีไอโอดีน ประมาณ 150 ไมโครกรัม โดยเกลือ 1 กรัม มีไอโอดีน ประมาณ 30 ไมโครกรัม) หรือผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่เสริมไอโอดีนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับการกินอาหารที่มีไอโอดีนตามธรรมชาติ เช่น อาหารทะเล

     ในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีความต้องการไอโอดีนมากกว่าปกติ จำเป็นต้องกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน วันละ 1 เม็ด ทุกวัน ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนถึงหลังคลอดให้นมบุตร 6 เดือน (ประกอบด้วย ไอโอดีน 150 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม และกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม) เพิ่มจากอาหารหลัก

 

ความต้องการไอโอดีนในแต่ละวัย

     ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 ข้อมูลจากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย

1. หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 200 ไมโครกรัม

2. ทารกแรกเกิดจนถึงก่อนอายุครบ 6 เดือนได้รับสารไอโอดีนจากน้ำนมแม่

3. ทารกอายุ 6-11 เดือนควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 70 ไมโครกรัม

4. เด็กอายุ 1-8 ปี ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 90 ไมโครกรัม

5. เด็กวัยรุ่นอายุ 9-12 ปี ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 120 ไมโครกรัม

6. เด็กวัยรุ่นอายุ 13-18 ปี ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 130 ไมโครกรัม

7. ผู้ใหญ่ ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัม

 

แหล่งที่มาของไอโอดีนในอาหาร

     อาหารที่มีสารไอโอดีนตามธรรมชาติพบมากใน พืชและสัตว์ทะเลเช่น ปลาทะเล กุ้งทะเล สาหร่ายทะเล ในปลาทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 25-70 ไมโครกรัม สาหร่ายทะเลแห้ง 100 กรัม มีสารไอโอดีน 200-400 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยังมีใน กุ้ง หอย ปู ปลา เกลือเสริมไอโอดีน น้ำปลาเสริมไอโอดีน ผัก เช่น ผักโขม ผักกาดเขียว บร็อคโคลี่ ผลไม้ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต นม ชีส รวมถึงสามารถพบในน้ำนมแม่ และนมสูตรสำหรับทารก

     หมายเหตุ : เกลือทะเลและเกลือสินเธาว์ ไม่มีไอโอดีน เพราะไอโอดีนระเหยออกไปตอนตากน้ำทะเลให้เป็นเกลือ

 

การป้องกันการขาดไอโอดีน ทำอย่างไรบ้าง?

1. ใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนในการประกอบอาหารทุกวัน โดยตรวจดูฉลากบนซองเกลือที่ระบุว่า มีการเสริมไอโอดีน มีที่อยู่ของผู้ผลิตชัดเจน และมีเลข อย.

2. รับประทานอาหารทะเลเป็นประจำ เช่น ปลาทู หอย กุ้ง ปู เป็นต้น

3. นอกจากบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน และบริโภคอาหารทะเลเป็นประจำแล้ว ยังสามารถเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ เสริมไอโอดีนอื่น ๆ เช่น น้ำปลา ซอส ซีอิ๊ว เสริมไอโอดีน เป็นต้น

อาหารไอโอดีนต่ำ (Low Iodine Diet) คือ การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนน้อยกว่า 50 ไมโครกรัมต่อวัน เหมาะกับผู้ป่วยที่จะได้รับการรักษาด้วยไอโอดีนกัมมันตภาพรังสี ในกรณีส่วนใหญ่แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนต่ำเป็นระยะเวลา 1 - 2 สัปดาห์ก่อนการรักษา โดยจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

 

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

ไอโอดีน (Iodine) คือแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายช่วยในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย มีส่วนช่วยในการเจริญและเติบโตของระบบประสาทและสมอง ไอโอดีนหากได้รับมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ หรือหากขาดสารไอโอดีน มีผลทำให้เกิดโรคคอพอกและกลุ่มอาการอื่น ๆ ตามมาได้ กลุ่มที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เช่น ทารกในครรภ์มารดา เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน และเด็กวัยรุ่น เป็นต้น

 

ผลจากการขาดไอโอดีน

1.  โรคคอพอก (Goiter) เกิดจากการได้รับไอโอดีนไม่เพียงพออย่างต่อเนื่อง เซลล์ของต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น เกิดการเพิ่มจำนวนเซลล์ (Hyperplasia) ต่อมไทรอยด์ใหญ่ขึ้นกว่าปกติ และเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (hypothyroidism) ทำให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายต่ำ ผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตตัวล่าง (diastolic blood pressure) สูง เชื่องช้า ง่วงนอน ท้องผูก ผิวหนังและผมแห้ง ถ้าเป็นเด็กจะรูปร่างเตี้ย

2. ด้านการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การขาดไอโอดีนในแต่ละวัยมีอาการที่คล้ายและต่างกัน ดังนี้

- ทารกในครรภ์ ทารกในครรภ์มารดาที่มีภาวะขาดไอโอดีน อาจจะแท้งหรือตายระหว่างคลอดได้ ถ้ารอดจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและมีอาการผิดปกติของสมอง มีการพัฒนาด้านระบบประสาทที่บกพร่อง (Neurologic cretinism) หรือที่เรียกว่าโรคเอ๋อ มีลักษณะตัวเตี้ย แคระแกร็น

- ทารกแรกคลอด หากมีภาวะขาดไอโอดีน จะมีอาการต่อมไทรอยด์โต ทำให้เป็นโรคคอพอกและมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism)

- เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน เด็กวัยรุ่น และผู้ใหญ่ หากมีภาวะขาดไอโอดีน ทำให้เป็นคอพอก มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) และมีความบกพร่องด้านอารมณ์และจิตใจ เป็นคนเซื่องซึม เฉื่อยชา

 

ผลจากการได้รับไอโอดีนมากเกินไป

     การได้รับไอโอดีนในปริมาณสูง อาจทำให้เกิดอาการเดียวกับการขาดไอโอดีน เช่น โรคคอพอก หรือภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่ทำให้ต่อมไทรอยด์จับสารไอโอดีนมากทำให้เกิดการผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป การได้รับไอโอดีนในปริมาณที่มากเกินเรื้อรังอาจทำให้เกิดต่อมไทรอยด์อักเสบและเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ อาการผิดปกติเช่น ทางระบบประสาท อัตราการเต้นของหัวใจสูง นอนไม่พอ อ่อนเพลีย เหงื่อออกง่าย น้ำหนักลดทั้งที่กินมาก อาการเป็นพิษเฉียบพลัน ได้แก่ แสบปากคอและท้อง ไข้ อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ชีพจรเต้นช้า

 

 

คำแนะนำในการบริโภคไอโอดีน

     สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ออก ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ อาหารที่ต้องเสริมสารไอโอดีน ได้แก่ น้ำปลา ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีน ของถั่วเหลือง ต้องมีไอโอดีน ไม่น้อยกว่า 2 และไม่เกิน 3 มิลลิกรัมต่อผลิตภัณฑ์ 1 ลิตร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขตามประกาศฯ ฉบับปรับปรุงลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยแนะนำให้ประชาชนทั่วไป ใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ วันละไม่เกิน 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 กรัม มีไอโอดีน ประมาณ 150 ไมโครกรัม โดยเกลือ 1 กรัม มีไอโอดีน ประมาณ 30 ไมโครกรัม) หรือผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่เสริมไอโอดีนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับการกินอาหารที่มีไอโอดีนตามธรรมชาติ เช่น อาหารทะเล

     ในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีความต้องการไอโอดีนมากกว่าปกติ จำเป็นต้องกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน วันละ 1 เม็ด ทุกวัน ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนถึงหลังคลอดให้นมบุตร 6 เดือน (ประกอบด้วย ไอโอดีน 150 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม และกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม) เพิ่มจากอาหารหลัก

 

ความต้องการไอโอดีนในแต่ละวัย

     ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 ข้อมูลจากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย

1. หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 200 ไมโครกรัม

2. ทารกแรกเกิดจนถึงก่อนอายุครบ 6 เดือนได้รับสารไอโอดีนจากน้ำนมแม่

3. ทารกอายุ 6-11 เดือนควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 70 ไมโครกรัม

4. เด็กอายุ 1-8 ปี ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 90 ไมโครกรัม

5. เด็กวัยรุ่นอายุ 9-12 ปี ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 120 ไมโครกรัม

6. เด็กวัยรุ่นอายุ 13-18 ปี ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 130 ไมโครกรัม

7. ผู้ใหญ่ ควรได้รับสารไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัม

 

แหล่งที่มาของไอโอดีนในอาหาร

     อาหารที่มีสารไอโอดีนตามธรรมชาติพบมากใน พืชและสัตว์ทะเลเช่น ปลาทะเล กุ้งทะเล สาหร่ายทะเล ในปลาทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 25-70 ไมโครกรัม สาหร่ายทะเลแห้ง 100 กรัม มีสารไอโอดีน 200-400 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยังมีใน กุ้ง หอย ปู ปลา เกลือเสริมไอโอดีน น้ำปลาเสริมไอโอดีน ผัก เช่น ผักโขม ผักกาดเขียว บร็อคโคลี่ ผลไม้ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต นม ชีส รวมถึงสามารถพบในน้ำนมแม่ และนมสูตรสำหรับทารก

     หมายเหตุ : เกลือทะเลและเกลือสินเธาว์ ไม่มีไอโอดีน เพราะไอโอดีนระเหยออกไปตอนตากน้ำทะเลให้เป็นเกลือ

 

การป้องกันการขาดไอโอดีน ทำอย่างไรบ้าง?

1. ใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนในการประกอบอาหารทุกวัน โดยตรวจดูฉลากบนซองเกลือที่ระบุว่า มีการเสริมไอโอดีน มีที่อยู่ของผู้ผลิตชัดเจน และมีเลข อย.

2. รับประทานอาหารทะเลเป็นประจำ เช่น ปลาทู หอย กุ้ง ปู เป็นต้น

3. นอกจากบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน และบริโภคอาหารทะเลเป็นประจำแล้ว ยังสามารถเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ เสริมไอโอดีนอื่น ๆ เช่น น้ำปลา ซอส ซีอิ๊ว เสริมไอโอดีน เป็นต้น

อาหารไอโอดีนต่ำ (Low Iodine Diet) คือ การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนน้อยกว่า 50 ไมโครกรัมต่อวัน เหมาะกับผู้ป่วยที่จะได้รับการรักษาด้วยไอโอดีนกัมมันตภาพรังสี ในกรณีส่วนใหญ่แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนต่ำเป็นระยะเวลา 1 - 2 สัปดาห์ก่อนการรักษา โดยจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

 

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง