เบาหวานในเด็ก เรื่องไม่เล็กที่พ่อแม่ต้องรู้

หากพูดถึงโรคเบาหวาน หลายคนมักนึกถึงโรคที่เกิดในผู้ใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเด็กก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้ โดยกลไกของโรคเบาหวานเกิดจากการขาดอินซูลิน หรือการทำงานบกพร่องของอินซูลิน หรือจากทั้ง 2 สาเหตุร่วมกัน ซึ่งเบาหวานในเด็กแบ่งเป็น 2 ประเภทที่พบบ่อยคือ

     เบาหวานชนิดที่ 1

     โรคนี้เกิดได้ในเด็กตั้งแต่อายุน้อย ส่วนมากมักไม่อ้วน ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากมีการสร้างภูมิต้านทานตนเองมาทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ส่งผลให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินในร่างกายได้ ผู้ป่วยจึงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 

     เบาหวานชนิดที่ 2

     ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ป่วยที่เข้าวัยรุ่นแล้ว โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ภาวะอ้วน ปัจจัยทางพันธุกรรม อายุที่มากขึ้น เชื้อชาติ (Asian, Native American, African American, Latino, Pacific Islander) และประวัติการคลอดที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยหรือมากกว่าปกติ กลไกเกิดจากการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ร่วมกับตับอ่อนบกพร่องในการหลั่งอินซูลิน ปัจจุบันเนื่องจากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการกินที่เปลี่ยนไป เช่น การนิยมรับประทานอาหาร Fast Food ร่วมกับเด็กใช้เวลาไปกับมือถือมากขึ้นทำให้ขาดการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้เด็กไทยเป็นโรคอ้วน และเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น

 

อาการแสดงของโรคเบาหวาน

    อาการสำคัญคือ หิวบ่อย รับประทานอาหารมากขึ้น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดลง ทั้งที่กินอาหารในปริมาณที่มากกว่าปกติ บางรายมีปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยคุมการถ่ายปัสสาวะได้แล้ว การติดเชื้อที่ผิวหนังในเด็กหญิงบางรายพบการติดเชื้อที่ช่องคลอด

    ในกรณีที่เป็นรุนแรงจะพบภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis : DKA) ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึมลง หายใจหอบลึก ในรายที่เป็นรุนแรงอาจหมดสติ หรือมีภาวะขาดน้ำจนช็อกได้ ภาวะเลือดเป็นกรดมักเป็นอาการแสดงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1

    ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีอาการอย่างช้า ๆ ไม่รุนแรง พบภาวะเลือดเป็นกรดได้น้อย มากกว่าร้อยละ 85 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีภาวะอ้วนร่วมด้วย และตรวจพบลักษณะดื้ออินซูลิน คือผู้ปวยจะมีรอยปื้นหนาสีดำขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับ (Acanthosis Nigricans)

การรักษาเบาหวาน 

     เบาหวานชนิดที่ 1

     ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีเพียงวิธีเดียวคือการฉีดยาอินซูลิน ควบคู่กับการรับประทานอาหารให้เป็นสัดส่วนให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของผู้ป่วยร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม ยังไม่มีการรักษาด้วยยารับประทาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ปัจจุบันการฉีดยาอินซูลินมีหลากหลายแบบตั้งแต่ 2 - 4 ครั้ง/วัน หรือในบางรายอาจใช้การติดปั๊มอินซูลินไว้กับตัว (Insulin Pump) เพื่อให้มีการหลั่งอินซูลินเหมือนตามธรรมชาติของตับอ่อนมากที่สุด อย่างไรก็ตามจะเลือกใช้วิธีการฉีดยาแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษาพิจารณาร่วมกับครอบครัวผู้ป่วยอีกที

     เบาหวานชนิดที่ 2

     ประกอบด้วยการดูแลเรื่องอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการกินยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถ้าการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผลถึงพิจารณาให้การรักษาด้วยยาฉีดอินซูลินเพิ่มเติม

 

การป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน 

     ปัจจุบันยังไม่มีวิธีในการป้องกันเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แต่เบาหวานชนิดที่ 2 อาจป้องกันโดยการควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะอ้วน โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ

การตรวจคัดกรองเบาหวาน

     เบาหวานชนิดที่ 1

     ไม่มีการตรวจคัดกรองถ้าผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าบุตรหลานของท่านมีอาการแสดงของโรคเบาหวาน ได้แก่ หิวบ่อย กินจุ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดทั้งที่รับประทานอาหารมากขึ้น แนะนำให้รีบพามาพบแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็น  กรดที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

     เบาหวานชนิดที่ 2

     ควรคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยอ้วนที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป หรือเข้าวัยรุ่นแล้ว ที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 2 อย่างดังนี้

  • มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • เชื้อชาติ (Asian, Native American, African American, Latino, Pacific Islander)
  • ตรวจพบอาการแสดงของภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือภาวะที่สัมพันธ์กับการดื้อต่ออินซูลิน เช่น รอยปื้นหนาสีดำขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับ (Acanthosis Nigricans)  ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลืดสูง ภาวะถุงน้ำที่รังไข่
  • มีประวัติมารดาเป็นเบาหวาน หรือมีเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

ขอบคุณข้อมูลจาก อ. พญ. พรรณทิพา เจือณรงค์ฤทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

หากพูดถึงโรคเบาหวาน หลายคนมักนึกถึงโรคที่เกิดในผู้ใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเด็กก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้ โดยกลไกของโรคเบาหวานเกิดจากการขาดอินซูลิน หรือการทำงานบกพร่องของอินซูลิน หรือจากทั้ง 2 สาเหตุร่วมกัน ซึ่งเบาหวานในเด็กแบ่งเป็น 2 ประเภทที่พบบ่อยคือ

     เบาหวานชนิดที่ 1

     โรคนี้เกิดได้ในเด็กตั้งแต่อายุน้อย ส่วนมากมักไม่อ้วน ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากมีการสร้างภูมิต้านทานตนเองมาทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ส่งผลให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินในร่างกายได้ ผู้ป่วยจึงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 

     เบาหวานชนิดที่ 2

     ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ป่วยที่เข้าวัยรุ่นแล้ว โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ภาวะอ้วน ปัจจัยทางพันธุกรรม อายุที่มากขึ้น เชื้อชาติ (Asian, Native American, African American, Latino, Pacific Islander) และประวัติการคลอดที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยหรือมากกว่าปกติ กลไกเกิดจากการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ร่วมกับตับอ่อนบกพร่องในการหลั่งอินซูลิน ปัจจุบันเนื่องจากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการกินที่เปลี่ยนไป เช่น การนิยมรับประทานอาหาร Fast Food ร่วมกับเด็กใช้เวลาไปกับมือถือมากขึ้นทำให้ขาดการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้เด็กไทยเป็นโรคอ้วน และเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น

 

อาการแสดงของโรคเบาหวาน

    อาการสำคัญคือ หิวบ่อย รับประทานอาหารมากขึ้น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดลง ทั้งที่กินอาหารในปริมาณที่มากกว่าปกติ บางรายมีปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยคุมการถ่ายปัสสาวะได้แล้ว การติดเชื้อที่ผิวหนังในเด็กหญิงบางรายพบการติดเชื้อที่ช่องคลอด

    ในกรณีที่เป็นรุนแรงจะพบภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis : DKA) ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึมลง หายใจหอบลึก ในรายที่เป็นรุนแรงอาจหมดสติ หรือมีภาวะขาดน้ำจนช็อกได้ ภาวะเลือดเป็นกรดมักเป็นอาการแสดงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1

    ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีอาการอย่างช้า ๆ ไม่รุนแรง พบภาวะเลือดเป็นกรดได้น้อย มากกว่าร้อยละ 85 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีภาวะอ้วนร่วมด้วย และตรวจพบลักษณะดื้ออินซูลิน คือผู้ปวยจะมีรอยปื้นหนาสีดำขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับ (Acanthosis Nigricans)

การรักษาเบาหวาน 

     เบาหวานชนิดที่ 1

     ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีเพียงวิธีเดียวคือการฉีดยาอินซูลิน ควบคู่กับการรับประทานอาหารให้เป็นสัดส่วนให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของผู้ป่วยร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม ยังไม่มีการรักษาด้วยยารับประทาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ปัจจุบันการฉีดยาอินซูลินมีหลากหลายแบบตั้งแต่ 2 - 4 ครั้ง/วัน หรือในบางรายอาจใช้การติดปั๊มอินซูลินไว้กับตัว (Insulin Pump) เพื่อให้มีการหลั่งอินซูลินเหมือนตามธรรมชาติของตับอ่อนมากที่สุด อย่างไรก็ตามจะเลือกใช้วิธีการฉีดยาแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษาพิจารณาร่วมกับครอบครัวผู้ป่วยอีกที

     เบาหวานชนิดที่ 2

     ประกอบด้วยการดูแลเรื่องอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการกินยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถ้าการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผลถึงพิจารณาให้การรักษาด้วยยาฉีดอินซูลินเพิ่มเติม

 

การป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน 

     ปัจจุบันยังไม่มีวิธีในการป้องกันเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แต่เบาหวานชนิดที่ 2 อาจป้องกันโดยการควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะอ้วน โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ

การตรวจคัดกรองเบาหวาน

     เบาหวานชนิดที่ 1

     ไม่มีการตรวจคัดกรองถ้าผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าบุตรหลานของท่านมีอาการแสดงของโรคเบาหวาน ได้แก่ หิวบ่อย กินจุ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดทั้งที่รับประทานอาหารมากขึ้น แนะนำให้รีบพามาพบแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็น  กรดที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

     เบาหวานชนิดที่ 2

     ควรคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยอ้วนที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป หรือเข้าวัยรุ่นแล้ว ที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 2 อย่างดังนี้

  • มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • เชื้อชาติ (Asian, Native American, African American, Latino, Pacific Islander)
  • ตรวจพบอาการแสดงของภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือภาวะที่สัมพันธ์กับการดื้อต่ออินซูลิน เช่น รอยปื้นหนาสีดำขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับ (Acanthosis Nigricans)  ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลืดสูง ภาวะถุงน้ำที่รังไข่
  • มีประวัติมารดาเป็นเบาหวาน หรือมีเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

ขอบคุณข้อมูลจาก อ. พญ. พรรณทิพา เจือณรงค์ฤทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง