โรคไตในเด็ก เรื่องไม่เล็กที่พ่อแม่ควรรู้

     โรคไตเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็กจะแตกต่างจากในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรคไตในเด็กจะแตกต่างกันตามแต่ละ ช่วงอายุ ดังนี้

  1. เด็กเล็ก ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดในโครงสร้างของไต หรือของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ภาวะอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะเนื้อไตเจริญผิดปกติ
  2. เด็กโต ส่วนใหญ่จะเกิดจากภาวะไตอักเสบจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไตอักเสบที่เกิดตามหลังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลำคอหรือผิวหนัง โรคเอสแอลอี

     นอกจากนั้นพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสมในปัจจุบันของเด็กอาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ รวมถึงโรคไตในอนาคตได้ การที่เด็กมีกิจกรรมประจำวันส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ใช้พลังงาน การออกกำลังกายที่น้อยเกินไป การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และเครื่องดื่มที่หวานมากเกินไป ทำให้เกิดโรคอ้วน และอาจส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรังตามมาได้

 

อาการของเด็กที่เป็นโรคไต

เด็กที่เป็นโรคไตแต่ละชนิด อาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน อาการที่สามารถสังเกตได้เอง เช่น ปัสสาวะมีสีผิดปกติ สีแดง หรือสีน้ำล้างเนื้อ มีปริมาณปัสสาวะน้อยหรือมากเกินปกติ มีการขับถ่ายปัสสาวะบ่อย หรือน้อยครั้งเกินปกติ ต้องเบ่งเวลาถ่ายปัสสาวะ ในเด็กโตมีปัสสาวะเล็ดราด หรือมีอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ มีท้องโตผิดปกติ มีอวัยวะเพศภายนอกที่ผิดรูป ความดันเลือดสูง การเจริญเติบโตช้า

 

วิธีป้องกันโรคไตในเด็ก

โรคไตในเด็กบางชนิดอาจป้องกันได้ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ โดยที่หญิงมีครรภ์ควรมีการตรวจติดตามและดูแลโดยสูติแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสารเคมีหรือยาบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เด็กที่เริ่มควบคุมการขับถ่ายได้ให้ฝึกเด็กขับถ่ายโดยวิธีที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารหรือขนมที่มีเกลือโซเดียมหรือรสเค็มมากเกินไป หลีกเลี่ยงขนมหรือเครื่องดื่มรสหวานและให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินซึ่งอาจนำไปสู่โรคความดันเลือดสูงและโรคเบาหวานได้ในอนาคต กรณีต้องใช้ยา ให้ใช้ตามที่ระบุไว้บนเอกสารกำกับ/ฉลากยาหรือคำสั่งการรักษาของแพทย์ ให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงยาหรือสารใดๆ ที่มีผลเสียต่อไต

 

วิธีการดูแลเด็กที่เป็นโรคไต

สำหรับผู้ที่ดูแลเด็กโรคไต ควรทำความเข้าใจในชนิดโรคไตของเด็ก เข้าใจแนวทางการดูแลรักษาผลข้างเคียงของแต่ละวิธีการรักษาและยาแต่ละชนิด เข้าใจวิธีปฏิบัติตนและการกินอาหารซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดโรคไตของเด็ก นอกจากนั้นควรให้เด็กได้ร่วมวางแผนในการใช้ยาและการปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ คอยเป็นกำลังใจให้แก่เด็ก เป็นที่ปรึกษาให้แก่เด็กเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติ และที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทุกครั้งเมื่อมีปัญหาในการใช้ยาหรือในการปฏิบัติตน

 

โรคไตในเด็กรักษาหายขาดหรือไม่

โรคไตมีหลายชนิด บางชนิดก็มีโอกาสหายขาดได้มากหลังการรักษา เช่น ไตอักเสบหลังการติดเชื้อ  การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และบางชนิดอาจเกิดอาการช้ำเป็นๆ หายๆ เช่น โรคไตเนโฟรติก

ส่วนโรคในกลุ่มของความผิดปกติของโครงสร้างของไตและระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กำเนิด อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว ก็จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตลงได้ และหากเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจะได้รับการรักษาโดยการล้างไตผ่านทางช่องท้อง การฟอกเลือด หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

 

ข้อมูลจาก : รศ. นพ.อนิรุธ ภัทรากาญจน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

     โรคไตเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็กจะแตกต่างจากในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรคไตในเด็กจะแตกต่างกันตามแต่ละ ช่วงอายุ ดังนี้

  1. เด็กเล็ก ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดในโครงสร้างของไต หรือของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ภาวะอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะเนื้อไตเจริญผิดปกติ
  2. เด็กโต ส่วนใหญ่จะเกิดจากภาวะไตอักเสบจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไตอักเสบที่เกิดตามหลังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลำคอหรือผิวหนัง โรคเอสแอลอี

     นอกจากนั้นพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสมในปัจจุบันของเด็กอาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ รวมถึงโรคไตในอนาคตได้ การที่เด็กมีกิจกรรมประจำวันส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ใช้พลังงาน การออกกำลังกายที่น้อยเกินไป การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และเครื่องดื่มที่หวานมากเกินไป ทำให้เกิดโรคอ้วน และอาจส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรังตามมาได้

 

อาการของเด็กที่เป็นโรคไต

เด็กที่เป็นโรคไตแต่ละชนิด อาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน อาการที่สามารถสังเกตได้เอง เช่น ปัสสาวะมีสีผิดปกติ สีแดง หรือสีน้ำล้างเนื้อ มีปริมาณปัสสาวะน้อยหรือมากเกินปกติ มีการขับถ่ายปัสสาวะบ่อย หรือน้อยครั้งเกินปกติ ต้องเบ่งเวลาถ่ายปัสสาวะ ในเด็กโตมีปัสสาวะเล็ดราด หรือมีอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ มีท้องโตผิดปกติ มีอวัยวะเพศภายนอกที่ผิดรูป ความดันเลือดสูง การเจริญเติบโตช้า

 

วิธีป้องกันโรคไตในเด็ก

โรคไตในเด็กบางชนิดอาจป้องกันได้ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ โดยที่หญิงมีครรภ์ควรมีการตรวจติดตามและดูแลโดยสูติแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสารเคมีหรือยาบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เด็กที่เริ่มควบคุมการขับถ่ายได้ให้ฝึกเด็กขับถ่ายโดยวิธีที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารหรือขนมที่มีเกลือโซเดียมหรือรสเค็มมากเกินไป หลีกเลี่ยงขนมหรือเครื่องดื่มรสหวานและให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินซึ่งอาจนำไปสู่โรคความดันเลือดสูงและโรคเบาหวานได้ในอนาคต กรณีต้องใช้ยา ให้ใช้ตามที่ระบุไว้บนเอกสารกำกับ/ฉลากยาหรือคำสั่งการรักษาของแพทย์ ให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงยาหรือสารใดๆ ที่มีผลเสียต่อไต

 

วิธีการดูแลเด็กที่เป็นโรคไต

สำหรับผู้ที่ดูแลเด็กโรคไต ควรทำความเข้าใจในชนิดโรคไตของเด็ก เข้าใจแนวทางการดูแลรักษาผลข้างเคียงของแต่ละวิธีการรักษาและยาแต่ละชนิด เข้าใจวิธีปฏิบัติตนและการกินอาหารซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดโรคไตของเด็ก นอกจากนั้นควรให้เด็กได้ร่วมวางแผนในการใช้ยาและการปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ คอยเป็นกำลังใจให้แก่เด็ก เป็นที่ปรึกษาให้แก่เด็กเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติ และที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทุกครั้งเมื่อมีปัญหาในการใช้ยาหรือในการปฏิบัติตน

 

โรคไตในเด็กรักษาหายขาดหรือไม่

โรคไตมีหลายชนิด บางชนิดก็มีโอกาสหายขาดได้มากหลังการรักษา เช่น ไตอักเสบหลังการติดเชื้อ  การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และบางชนิดอาจเกิดอาการช้ำเป็นๆ หายๆ เช่น โรคไตเนโฟรติก

ส่วนโรคในกลุ่มของความผิดปกติของโครงสร้างของไตและระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กำเนิด อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว ก็จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตลงได้ และหากเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจะได้รับการรักษาโดยการล้างไตผ่านทางช่องท้อง การฟอกเลือด หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

 

ข้อมูลจาก : รศ. นพ.อนิรุธ ภัทรากาญจน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง