เอ็นร้อยหวายอักเสบเรื้อรัง

     เอ็นร้อยหวาย เป็นเอ็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า ทำหน้าที่ในการขยับข้อเท้าและเท้าให้ชี้ไปที่ฝ่าเท้า ดังนั้นเอ็นร้อยหวายจึงมีความสำคัญในการยืนเดินในชีวิต โดยเฉพาะการขึ้นลงบันได ภาวะที่เอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือได้รับการบาดเจ็บ จะทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันได้

สาเหตุ อาจจะเกิดจากหลายปัจจัยดังนี้

  • เกิดจากการใช้งานมากเกินไป (overuse) เกินความแข็งแรงของเอ็นที่ใช้งานปกติอย่างกระทันหัน เช่น ขึ้นลงบันไดมากกว่าเดิม หรือนักกีฬาที่มีการเปลี่ยนโปรแกรมออกกำลังกายโดยเพิ่มความหนัก (intensity) หรือระยะเวลา อย่างรวดเร็วทันที ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเอ็นร้อยหวายได้
  • อายุ เนื่องจากพบว่าเอ็นร้อยหวายจะมีความยืดหยุ่นลดลง ตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลทำให้เอ็นร้อยหวายอ่อนแอและบาดเจ็บได้ง่าย
  • ภาวะเสื่อมของเอ็น อาจจะเกิดจากการบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวายหลายครั้งทำให้ มีพังผืดในเอ็นมากขึ้น ความยืดหยุ่นลดลง เกิดการอักเสบได้ง่าย
  • ความผิดรูปที่เท้า เช่น ภาวะเท้าแบน หรืออุ้งเท้าสูง จะทำให้เกิดความตึงที่เอ็นร้อยหวายมากกว่าคนอุ้งเท้าปกติ จึงเกิดการอักเสบ หรือบาดเจ็บได้ง่าย
  • อาชีพ คนที่มีการทำงานที่ต้องยืนหรือเดินนาน ๆ รวมทั้งมีการยกของหนักบ่อย ๆ ส่งผลให้เอ็นร้อยหวายต้องทำงานหนักตลอดเวลา มีโอกาสที่ทำให้เกิดการอักเสบได้

เอ็นร้อยหวายอักเสบ เกิดได้บ่อยในกลุ่มนักวิ่ง กีฬา หรือกิจกรรม ที่มีการใช้งานเอ็นร้อยหวายเกือบตลอดเวลา เช่นกระโดด เต้นรำ นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในคนที่มีการตึงของกล้ามเนื้อน่อง

อาการที่พบได้บ่อยของเอ็นร้อยหวายอักเสบ ได้แก่

  • เจ็บที่ส้นเท้าบริเวณด้านหลัง หรือกล้ามเนื้อน่อง
  • บวม แดงที่เอ็นร้อยหวาย บางครั้งคลำได้ก้อนบริเวณด้านหลังของส้นเท้า
  • เอ็นร้อยหวาย หรือน่องมีอาการตึง หรือเจ็บเวลาลงนำ้หนัก โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือลุกยืนหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน
  • ได้ยินเสียงดังในข้อ เวลาขยับข้อเท้าขึ้นลง

การวินิจฉัยเอ็นร้อยหวายอักเสบ มักจะใช้ประวัติอาการเจ็บ และการตรวจร่างกายก็เพียงพอ ยกเว้นบางกรณีอาจจำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ultrasound หรือ MRI เพื่อช่วยในการวินิจฉัย หรือแยกโรคบางภาวะ

การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ มีหลายวิธีดังนี้

  • ช่วงที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน (บวมแดง) สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีพัก (Rest) ประคบเย็น (Ice) พันผ้า (Compression) และยกขาสูง (Elevation): RICE บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้สนับข้อเท้า หรือตัวพยุงส้นเท้า (heel pad) เพื่อช่วยในการลงน้ำหนัก หรือเดิน
  • ยาต้านการอักเสบ หรือยาแก้ปวด สามารถใช้ได้ในกรณีที่มีอาการปวดมาก รบกวนชีวิตประจำวัน
  • ช่วงที่มีอาการอักเสบเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ
    • ทำกายภาพบำบัด ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ultrasound, laser หรือ shock wave ขึ้นกับตำแหน่งของการอักเสบ
    • ออกกำลังกายเอ็นร้อยหวายด้วยวิธียืดเหยียด เพื่อเพิ่มความยึดหยุ่น (stretching exercise)
    • ออกกำลังกายเอ็นร้อยหวายด้วยวิธีเพิ่มแรงกล้ามเนื้อ (strengthening exercise) เช่น ยืนเขย่งขา
    • ปัจจุบันไม่แนะนำให้ฉีดยาในกลุ่มสเตรียรอยด์ เนื่องจากจะลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณเอ็นร้อยหวาย ทำให้เสี่ยงต่อภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดได้ ส่วนการฉีดด้วยสารพลาสม่า (PPP) อาจต้องพิจารณาเป็นกรณี
  • ในกรณีที่มีอาการเจ็บเรื้อรัง เป็นนาน ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาข้างต้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดรักษา

การป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ ทำได้หลายวิธีโดยเฉพาะการยืดเหยียดก่อนการเล่นกีฬา

  • ไม่ใช้งานเอ็นร้อยหวายอย่างหักโหม เช่นเล่นกีฬาต่อเนื่อง โดยไม่ได้พักหรือเริ่มมีอาการเจ็บ
  • เลือกใช้รองเท้าที่มีพื้นที่รองรับแรงกระแทกบริเวณส้นเท้า
  • ควบคุมนำ้หนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ จะทำให้เอ็นร้อยหวายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.นพ. ธีรวุฒิ  ธรรมวิบูลย์ศรี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

     เอ็นร้อยหวาย เป็นเอ็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า ทำหน้าที่ในการขยับข้อเท้าและเท้าให้ชี้ไปที่ฝ่าเท้า ดังนั้นเอ็นร้อยหวายจึงมีความสำคัญในการยืนเดินในชีวิต โดยเฉพาะการขึ้นลงบันได ภาวะที่เอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือได้รับการบาดเจ็บ จะทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันได้

สาเหตุ อาจจะเกิดจากหลายปัจจัยดังนี้

  • เกิดจากการใช้งานมากเกินไป (overuse) เกินความแข็งแรงของเอ็นที่ใช้งานปกติอย่างกระทันหัน เช่น ขึ้นลงบันไดมากกว่าเดิม หรือนักกีฬาที่มีการเปลี่ยนโปรแกรมออกกำลังกายโดยเพิ่มความหนัก (intensity) หรือระยะเวลา อย่างรวดเร็วทันที ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเอ็นร้อยหวายได้
  • อายุ เนื่องจากพบว่าเอ็นร้อยหวายจะมีความยืดหยุ่นลดลง ตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลทำให้เอ็นร้อยหวายอ่อนแอและบาดเจ็บได้ง่าย
  • ภาวะเสื่อมของเอ็น อาจจะเกิดจากการบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวายหลายครั้งทำให้ มีพังผืดในเอ็นมากขึ้น ความยืดหยุ่นลดลง เกิดการอักเสบได้ง่าย
  • ความผิดรูปที่เท้า เช่น ภาวะเท้าแบน หรืออุ้งเท้าสูง จะทำให้เกิดความตึงที่เอ็นร้อยหวายมากกว่าคนอุ้งเท้าปกติ จึงเกิดการอักเสบ หรือบาดเจ็บได้ง่าย
  • อาชีพ คนที่มีการทำงานที่ต้องยืนหรือเดินนาน ๆ รวมทั้งมีการยกของหนักบ่อย ๆ ส่งผลให้เอ็นร้อยหวายต้องทำงานหนักตลอดเวลา มีโอกาสที่ทำให้เกิดการอักเสบได้

เอ็นร้อยหวายอักเสบ เกิดได้บ่อยในกลุ่มนักวิ่ง กีฬา หรือกิจกรรม ที่มีการใช้งานเอ็นร้อยหวายเกือบตลอดเวลา เช่นกระโดด เต้นรำ นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในคนที่มีการตึงของกล้ามเนื้อน่อง

อาการที่พบได้บ่อยของเอ็นร้อยหวายอักเสบ ได้แก่

  • เจ็บที่ส้นเท้าบริเวณด้านหลัง หรือกล้ามเนื้อน่อง
  • บวม แดงที่เอ็นร้อยหวาย บางครั้งคลำได้ก้อนบริเวณด้านหลังของส้นเท้า
  • เอ็นร้อยหวาย หรือน่องมีอาการตึง หรือเจ็บเวลาลงนำ้หนัก โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือลุกยืนหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน
  • ได้ยินเสียงดังในข้อ เวลาขยับข้อเท้าขึ้นลง

การวินิจฉัยเอ็นร้อยหวายอักเสบ มักจะใช้ประวัติอาการเจ็บ และการตรวจร่างกายก็เพียงพอ ยกเว้นบางกรณีอาจจำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ultrasound หรือ MRI เพื่อช่วยในการวินิจฉัย หรือแยกโรคบางภาวะ

การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ มีหลายวิธีดังนี้

  • ช่วงที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน (บวมแดง) สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีพัก (Rest) ประคบเย็น (Ice) พันผ้า (Compression) และยกขาสูง (Elevation): RICE บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้สนับข้อเท้า หรือตัวพยุงส้นเท้า (heel pad) เพื่อช่วยในการลงน้ำหนัก หรือเดิน
  • ยาต้านการอักเสบ หรือยาแก้ปวด สามารถใช้ได้ในกรณีที่มีอาการปวดมาก รบกวนชีวิตประจำวัน
  • ช่วงที่มีอาการอักเสบเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ
    • ทำกายภาพบำบัด ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ultrasound, laser หรือ shock wave ขึ้นกับตำแหน่งของการอักเสบ
    • ออกกำลังกายเอ็นร้อยหวายด้วยวิธียืดเหยียด เพื่อเพิ่มความยึดหยุ่น (stretching exercise)
    • ออกกำลังกายเอ็นร้อยหวายด้วยวิธีเพิ่มแรงกล้ามเนื้อ (strengthening exercise) เช่น ยืนเขย่งขา
    • ปัจจุบันไม่แนะนำให้ฉีดยาในกลุ่มสเตรียรอยด์ เนื่องจากจะลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณเอ็นร้อยหวาย ทำให้เสี่ยงต่อภาวะเอ็นร้อยหวายฉีกขาดได้ ส่วนการฉีดด้วยสารพลาสม่า (PPP) อาจต้องพิจารณาเป็นกรณี
  • ในกรณีที่มีอาการเจ็บเรื้อรัง เป็นนาน ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาข้างต้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดรักษา

การป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ ทำได้หลายวิธีโดยเฉพาะการยืดเหยียดก่อนการเล่นกีฬา

  • ไม่ใช้งานเอ็นร้อยหวายอย่างหักโหม เช่นเล่นกีฬาต่อเนื่อง โดยไม่ได้พักหรือเริ่มมีอาการเจ็บ
  • เลือกใช้รองเท้าที่มีพื้นที่รองรับแรงกระแทกบริเวณส้นเท้า
  • ควบคุมนำ้หนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ จะทำให้เอ็นร้อยหวายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.นพ. ธีรวุฒิ  ธรรมวิบูลย์ศรี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง