อันตราย !! อย่าพักทันที หลังออกกำลังกาย

ขึ้นชื่อว่าออกกำลังกายแล้ว ต้องมาคู่กับคำว่า “ เหนื่อย ”  อย่างแน่นอน และการที่เหนื่อยแบบแทบขาดใจนั้นก็ทำให้หลายคนเลือกที่จะ “หยุด” ทันทีหลังออกกำลังกาย ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ดีนัก เพราะการหยุดพักอย่างกะทันหันระหว่างออกกำลังกาย ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาจส่งผลให้ถึงแก่ชีวิตได้เลย ถือเป็นอันตรายอันดับต้น ๆ ของการออกกำลังกาย ที่คุณอาจมองข้าม ทางโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ มองเห็นถึงอันตรายของผู้ที่อยากเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างถูกวิธี จึงอยากแนะนำการบรรเทาความเหนื่อยล้าที่มีประสิทธิภาพที่ดีนั้น ควรทำอย่างไร

เริ่มต้นกันที่ กระบวนการออกกำลังกาย

ถ้าเราพูดถึงการออกกำลังกายโดยทั่วไป ก็หมายถึงการออกกำลังกาย เพื่อความแข็งแรง เพราะการออกกำลังกายจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหว ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ค่อนข้างเร็ว หรือแรง มีการใช้กำลังของกล้ามเนื้อมากพอสมควร และหลังออกกำลังกายใหม่ๆ เรามักจะรู้สึกเหนื่อย เพลีย กล้ามเนื้อ มีความตึงตัว ถ้าคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเลยแล้วมาออกกำลังกายหนัก ๆ ในครั้งแรกก็มักจะมีอาการปวดเมื่อยตามแขน ขา และลำตัวได้ด้วย

 

 

ขณะออกกำลังกาย หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น เพื่อเพิ่มการสูบฉีดของเลือด การหยุดออกกำลังกายอย่างกะทันหันจะทำให้เลือดที่ไหลมาเลี้ยงหัวใจ ลดน้อยลงแต่หัวใจยังคงสูบฉีดเลือดได้ ในปริมาณเท่าเดิมอยู่ จึงส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด หรือในบางคนอาจจะวูบหมดสติไปเลยก็ได้ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการของเราได้ หากมีอาการเหล่านี้ แปลว่า เราใช้ร่างกายของเราในการออกกำลังกายหนักจนเกินไป

  • หัวใจเต้นมากจนรู้สึกเหนื่อย
  • หายใจเหนื่อยจนพูดไม่เป็นประโยค
  • เหนื่อยจนเป็นลม

เมื่อมีอาการดังกล่าว  ควรหยุดการออกกำลังกายสัก 2 วัน  และเวลาออกกำลังกายในครั้งต่อไปให้ลดระดับการออกกำลังกายลง

เมื่อมีอาการวูบ หรือ หมดสติ ให้รีบนอนราบลงกับพื้น ยกแขนและขาทั้งสองช้าง ให้สูงประมาณ 45 องศา เพื่อให้เลือดที่คั่งอยู่ตามกล้ามเนื้อไหลกลับไปสู่หัวใจและขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมอง ค้างไว้สักพักอาการจะดีขึ้นได้เอง

   ซึ่งนอกจากการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบมีแรงต้านแล้วยังมี การออกกำลังกายในท่าทางที่ทำให้เกิดการผ่อนคลายของร่างกาย โดยจะเคลื่อนไหวช้า ๆ หรือ ไม่เคลื่อนไหวเลย เพียงแต่เกร็งกล้ามเนื้อบางส่วน และหลังผ่อนคลายเสร็จแล้ว จะไม่รู้สึกเหนื่อย แต่กลับมีความรู้สึกสดชื่นแทน มีพลังงานเพิ่มขึ้น ลดความเหนื่อยล้า โดยจะส่งผลให้ลดอาการปวด ลดความตึงของกล้ามเนื้อ และช่วยลดภาวะความผิดปกติทางกาย จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมได้ เป็นการออกกำลังกายที่ต้องค่อย ๆ พาร่างกายและหัวใจที่ทำงานมาอย่างหนัก 30 นาที – 1 ชม. ได้ผ่อนกำลังลงทีละน้อย เรียกว่าการ Cool Down  เป็นการคืนสภาวะร่างกายสู่ภาวะปกติ ซึ่งสามารถทำได้โดยการยึดกล้ามเนื้อค้างไว้ท่าละ 5 - 10 วินาที หรือลดความเร็วในการวิ่ง มาเป็นวิ่งเหยาะ ๆ สักระยะก่อนจะเริ่มเดินต่อ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C

ขึ้นชื่อว่าออกกำลังกายแล้ว ต้องมาคู่กับคำว่า “ เหนื่อย ”  อย่างแน่นอน และการที่เหนื่อยแบบแทบขาดใจนั้นก็ทำให้หลายคนเลือกที่จะ “หยุด” ทันทีหลังออกกำลังกาย ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ดีนัก เพราะการหยุดพักอย่างกะทันหันระหว่างออกกำลังกาย ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาจส่งผลให้ถึงแก่ชีวิตได้เลย ถือเป็นอันตรายอันดับต้น ๆ ของการออกกำลังกาย ที่คุณอาจมองข้าม ทางโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ มองเห็นถึงอันตรายของผู้ที่อยากเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างถูกวิธี จึงอยากแนะนำการบรรเทาความเหนื่อยล้าที่มีประสิทธิภาพที่ดีนั้น ควรทำอย่างไร

เริ่มต้นกันที่ กระบวนการออกกำลังกาย

ถ้าเราพูดถึงการออกกำลังกายโดยทั่วไป ก็หมายถึงการออกกำลังกาย เพื่อความแข็งแรง เพราะการออกกำลังกายจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหว ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ค่อนข้างเร็ว หรือแรง มีการใช้กำลังของกล้ามเนื้อมากพอสมควร และหลังออกกำลังกายใหม่ๆ เรามักจะรู้สึกเหนื่อย เพลีย กล้ามเนื้อ มีความตึงตัว ถ้าคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเลยแล้วมาออกกำลังกายหนัก ๆ ในครั้งแรกก็มักจะมีอาการปวดเมื่อยตามแขน ขา และลำตัวได้ด้วย

 

 

ขณะออกกำลังกาย หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น เพื่อเพิ่มการสูบฉีดของเลือด การหยุดออกกำลังกายอย่างกะทันหันจะทำให้เลือดที่ไหลมาเลี้ยงหัวใจ ลดน้อยลงแต่หัวใจยังคงสูบฉีดเลือดได้ ในปริมาณเท่าเดิมอยู่ จึงส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด หรือในบางคนอาจจะวูบหมดสติไปเลยก็ได้ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการของเราได้ หากมีอาการเหล่านี้ แปลว่า เราใช้ร่างกายของเราในการออกกำลังกายหนักจนเกินไป

  • หัวใจเต้นมากจนรู้สึกเหนื่อย
  • หายใจเหนื่อยจนพูดไม่เป็นประโยค
  • เหนื่อยจนเป็นลม

เมื่อมีอาการดังกล่าว  ควรหยุดการออกกำลังกายสัก 2 วัน  และเวลาออกกำลังกายในครั้งต่อไปให้ลดระดับการออกกำลังกายลง

เมื่อมีอาการวูบ หรือ หมดสติ ให้รีบนอนราบลงกับพื้น ยกแขนและขาทั้งสองช้าง ให้สูงประมาณ 45 องศา เพื่อให้เลือดที่คั่งอยู่ตามกล้ามเนื้อไหลกลับไปสู่หัวใจและขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมอง ค้างไว้สักพักอาการจะดีขึ้นได้เอง

   ซึ่งนอกจากการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบมีแรงต้านแล้วยังมี การออกกำลังกายในท่าทางที่ทำให้เกิดการผ่อนคลายของร่างกาย โดยจะเคลื่อนไหวช้า ๆ หรือ ไม่เคลื่อนไหวเลย เพียงแต่เกร็งกล้ามเนื้อบางส่วน และหลังผ่อนคลายเสร็จแล้ว จะไม่รู้สึกเหนื่อย แต่กลับมีความรู้สึกสดชื่นแทน มีพลังงานเพิ่มขึ้น ลดความเหนื่อยล้า โดยจะส่งผลให้ลดอาการปวด ลดความตึงของกล้ามเนื้อ และช่วยลดภาวะความผิดปกติทางกาย จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมได้ เป็นการออกกำลังกายที่ต้องค่อย ๆ พาร่างกายและหัวใจที่ทำงานมาอย่างหนัก 30 นาที – 1 ชม. ได้ผ่อนกำลังลงทีละน้อย เรียกว่าการ Cool Down  เป็นการคืนสภาวะร่างกายสู่ภาวะปกติ ซึ่งสามารถทำได้โดยการยึดกล้ามเนื้อค้างไว้ท่าละ 5 - 10 วินาที หรือลดความเร็วในการวิ่ง มาเป็นวิ่งเหยาะ ๆ สักระยะก่อนจะเริ่มเดินต่อ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง