ภาวะหินปูนในข้อเท้า

     ภาวะหินปูนในข้อเท้า เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มนักกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่มีการใช้งานข้อเท้าเป็นระยะเวลานาน เช่น นักฟุตบอล (footballer ankle) นักเต้นบัลเลต์ หรือนักวิ่ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถพบภาวะนี้ได้ในผู้ที่มีการบาดเจ็บที่ข้อเท้าบ่อย ๆ เช่นข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลง รวมทั้งในผู้ที่มีภาวะข้อเท้าเสื่อมจากสาเหตุต่าง ๆ

สาเหตุของการเกิดภาวะหินปูนในข้อเท้า

  1. เกิดการบาดเจ็บซ้ำ ๆ บริเวณข้อเท้า เช่นจากการใช้งานในชีวิตประจำวัน หรือเล่นกีฬา ทำให้มีการบาดเจ็บของผิวกระดูกอ่อนหรือเยื่อหุ้มข้อเท้าโดยเฉพาะทางด้านหน้า ต่อมาร่างกายจะมีการซ่อมแซมเป็นพังผืด และเกิดเป็นหินปูนตามมา
  2. เกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อเท้าโดยตรง ซึ่งทำให้เกิดการสร้างหินปูนในข้อเท้าได้
  3. มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง เช่นมีข้อเท้าพลิก หรือแพลงมาก่อน

อาการที่พบได้ในผู้ที่มีหินปูนในข้อเท้า ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และตำแหน่งของหินปูน เช่น

  • หินปูนอยู่ที่ตำแหน่งด้านหน้าของข้อเท้า ทำให้มีอาการปวดด้านหน้าข้อเท้าในช่วงที่มีการกระดกข้อเท้าขึ้น  เช่น การเดินขึ้นบันได การวิ่ง นั่งยอง เป็นต้น 
  • หินปูนที่อยู่ด้านหลังข้อเท้า จะทำให้มีอาการเจ็บบริเวณด้านหลังในช่วงที่กระดกข้อเท้าลง เช่นตอนลงบันได หรือตอนกระโดด บางครั้งจะสัมพันธ์กับการจิกนิ้วหัวแม่เท้าลง เนื่องจากหินปูนไปเสียดสีกับเอ็นของนิ้วหัวแม่เท้าที่อยู่ด้านหลัง
  • ข้อเท้าบวมหลังจากมีการใช้งานข้อเท้าเยอะ ๆ เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ
  • มีอาการกดเจ็บบริเวณด้านหน้าข้อเท้า บริเวณที่มีหินปูนอยู่
  • หินปูนที่มีมากขึ้นในระยะหลัง จะมีผลทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเท้าลดลง โดยเฉพาะการกระดกข้อเท้าขึ้น

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่ามีหินปูนในข้อเท้า ต้องรักษาอย่างไรต่อ

  1. การรักษาแบบประคับประคอง ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีอาการปวดไม่มาก
  • พัก ประคบเย็น
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวด โดยเฉพาะการวิ่ง กระโดด
  • ในรายที่มีอาการปวดมาก อาจรับประทานยายาลดการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ปรับรองเท้าให้เหมาะสม มีแผ่นรองส้นเท้าช่วยลดการกระดกข้อเท้า
  • กายภาพบำบัด เพื่อช่วยลดการอักเสบ
  • ใส่อุปกรณ์ประคองข้อเท้า ในรายที่มีการบาดเจ็บของเอ็นข้อเท้า
  • ออกกำลังกายข้อเท้า โดยเฉพาะการฝึกการทรงตัว เพิ่มความแข็งแรงของเอ็นโดยรอบ เพิ่มความยืดหยุ่นและการเคลื่อนไหวของข้อเท้า
  1. การรักษาด้วยการผ่าตัด ในกรณีที่รักษาแบบประคับประคองแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการปวดข้อเท้ามากที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการเล่นกีฬา
  • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง ข้อดี คือ แผลผ่าตัดขนาดเล็ก ระยะเวลาฟื้นตัวเร็ว กลับไปใช้ชีวิตประจำวันหรือเล่นกีฬาได้เร็ว
  • การผ่าตัดแบบแผลเปิด มีข้อด้อยกว่าวิธีผ่าตัดแบบส่องกล้อง คือ มีแผลขนาดใหญ่กว่าและใช้ระยะเวลาฟื้นตัวนานกว่า

     สําหรับคนที่มีอาการปวดข้อเท้าเรื้อรังที่สงสัยภาวะหินปูนในข้อเท้า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

อ้างอิงเนื้อหาจาก อ.พญ.เพ็ญพรรณ เลิศมานะชัย และ ผศ.นพ.ธีรวุฒิ ธรรมวิบูลย์ศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

     ภาวะหินปูนในข้อเท้า เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มนักกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่มีการใช้งานข้อเท้าเป็นระยะเวลานาน เช่น นักฟุตบอล (footballer ankle) นักเต้นบัลเลต์ หรือนักวิ่ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถพบภาวะนี้ได้ในผู้ที่มีการบาดเจ็บที่ข้อเท้าบ่อย ๆ เช่นข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลง รวมทั้งในผู้ที่มีภาวะข้อเท้าเสื่อมจากสาเหตุต่าง ๆ

สาเหตุของการเกิดภาวะหินปูนในข้อเท้า

  1. เกิดการบาดเจ็บซ้ำ ๆ บริเวณข้อเท้า เช่นจากการใช้งานในชีวิตประจำวัน หรือเล่นกีฬา ทำให้มีการบาดเจ็บของผิวกระดูกอ่อนหรือเยื่อหุ้มข้อเท้าโดยเฉพาะทางด้านหน้า ต่อมาร่างกายจะมีการซ่อมแซมเป็นพังผืด และเกิดเป็นหินปูนตามมา
  2. เกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อเท้าโดยตรง ซึ่งทำให้เกิดการสร้างหินปูนในข้อเท้าได้
  3. มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง เช่นมีข้อเท้าพลิก หรือแพลงมาก่อน

อาการที่พบได้ในผู้ที่มีหินปูนในข้อเท้า ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และตำแหน่งของหินปูน เช่น

  • หินปูนอยู่ที่ตำแหน่งด้านหน้าของข้อเท้า ทำให้มีอาการปวดด้านหน้าข้อเท้าในช่วงที่มีการกระดกข้อเท้าขึ้น  เช่น การเดินขึ้นบันได การวิ่ง นั่งยอง เป็นต้น 
  • หินปูนที่อยู่ด้านหลังข้อเท้า จะทำให้มีอาการเจ็บบริเวณด้านหลังในช่วงที่กระดกข้อเท้าลง เช่นตอนลงบันได หรือตอนกระโดด บางครั้งจะสัมพันธ์กับการจิกนิ้วหัวแม่เท้าลง เนื่องจากหินปูนไปเสียดสีกับเอ็นของนิ้วหัวแม่เท้าที่อยู่ด้านหลัง
  • ข้อเท้าบวมหลังจากมีการใช้งานข้อเท้าเยอะ ๆ เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ
  • มีอาการกดเจ็บบริเวณด้านหน้าข้อเท้า บริเวณที่มีหินปูนอยู่
  • หินปูนที่มีมากขึ้นในระยะหลัง จะมีผลทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเท้าลดลง โดยเฉพาะการกระดกข้อเท้าขึ้น

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่ามีหินปูนในข้อเท้า ต้องรักษาอย่างไรต่อ

  1. การรักษาแบบประคับประคอง ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีอาการปวดไม่มาก
  • พัก ประคบเย็น
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวด โดยเฉพาะการวิ่ง กระโดด
  • ในรายที่มีอาการปวดมาก อาจรับประทานยายาลดการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ปรับรองเท้าให้เหมาะสม มีแผ่นรองส้นเท้าช่วยลดการกระดกข้อเท้า
  • กายภาพบำบัด เพื่อช่วยลดการอักเสบ
  • ใส่อุปกรณ์ประคองข้อเท้า ในรายที่มีการบาดเจ็บของเอ็นข้อเท้า
  • ออกกำลังกายข้อเท้า โดยเฉพาะการฝึกการทรงตัว เพิ่มความแข็งแรงของเอ็นโดยรอบ เพิ่มความยืดหยุ่นและการเคลื่อนไหวของข้อเท้า
  1. การรักษาด้วยการผ่าตัด ในกรณีที่รักษาแบบประคับประคองแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการปวดข้อเท้ามากที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการเล่นกีฬา
  • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง ข้อดี คือ แผลผ่าตัดขนาดเล็ก ระยะเวลาฟื้นตัวเร็ว กลับไปใช้ชีวิตประจำวันหรือเล่นกีฬาได้เร็ว
  • การผ่าตัดแบบแผลเปิด มีข้อด้อยกว่าวิธีผ่าตัดแบบส่องกล้อง คือ มีแผลขนาดใหญ่กว่าและใช้ระยะเวลาฟื้นตัวนานกว่า

     สําหรับคนที่มีอาการปวดข้อเท้าเรื้อรังที่สงสัยภาวะหินปูนในข้อเท้า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

 

อ้างอิงเนื้อหาจาก อ.พญ.เพ็ญพรรณ เลิศมานะชัย และ ผศ.นพ.ธีรวุฒิ ธรรมวิบูลย์ศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง