คุณเสี่ยง? โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
หลอดเลือดแดงใหญ่ เปรียบเสมือนท่อประปาหลักที่ให้แขนงหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง ประสาทไขสันหลัง แขน ขา และอวัยวะในช่องท้อง ทำหน้าที่เป็นท่อนำเลือดแดงจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากบริเวณขั้วหัวใจขึ้นไปยังยอดอก แล้วทอดโค้งไปด้านหลัง เคียงข้างกระดูกสันหลังในช่องอก ผ่านกระบังลมเข้าไปยังช่องท้อง ก่อนจะแยกเป็นแขนงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขา 2 ข้าง และอวัยวะในอุ้งเชิงกราน โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นโรคที่อันตรายและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างกะทันหัน เนื่องจากหลอดเลือดที่โป่งพองอาจแตกทันทีทันใดโดยไม่มีอาการเตือน หลอดเลือดที่โป่งพองจะมีลักษณะคล้ายบอลลูน โดยผนังของหลอดเลือดจะพองออกอย่างชัดเจน
อาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใดๆ นำมาก่อน อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก หรือคลำก้อนเต้นได้ในช่องท้อง
2. ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องอกอาจมีอาการกดเบียดของหลอดเลือดกับอวัยวะข้างเคียง เช่น กดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก กดเบียดหลอดอาหารทำให้กลืนลำบาก กดเบียดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงทำให้เสียงแหบ เป็นต้น
3. หากผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก ปวดหลัง หน้ามืด หมดสติ หรือไอเป็นเลือด อาจบ่งชี้ว่าหลอดเลือดแดงใหญ่ มีการปริแตก ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองอาจคลำก้อนเต้นได้ในช่องท้อง หรือมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง
4. หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยจากการสอบถามประวัติอาการ ตรวจร่างกายร่วมกับตรวจเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกหรือช่องท้อง การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ (Ultrasound), การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง
1. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
3. การสูบบุหรี่
4. เป็นโรคหัวใจ
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง
1. การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น
- ควบคุมความดันโลหิต
- งดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงภาวะตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระ หรือยกของหนัก
2. การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด โดยแพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดผ่านช่องทรวงอกหรือช่องท้อง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งพยาธิสภาพของหลอดเลือด แล้วทำการใส่หลอดเลือดเทียมทดแทน
3. การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด (Endovascular Aortic Aneurysm Repair: EVAR)
เป็นการผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ เพื่อสอดหลอดเลือดเทียมเข้าไปใส่แทนที่หลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณที่โป่งพองในช่องอกหรือช่องท้อง การยึดเกาะของหลอดเลือดเทียมกับผนังหลอดเลือดแดงใหญ่จะไม่ใช้การเย็บติดของหลอดเลือดแต่อาศัยแรงดันออกของขดลวด หลอดเลือดที่โป่งพองจะค่อยๆ ฝ่อหรือคงขนาดเดิม
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง
จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดในการผ่าตัด คือ ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแดงใหญ่มีการปริแตก ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 50 - 90 และเกิดทุพพลภาพได้ การรักษาด้วยการผ่าตัดเหมาะสมในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
1. มีภาวะรั่วซึมหรือปริแตกของหลอดเลือดแดงใหญ่
2. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่มีอาการเจ็บปวดบริเวณก้อน เช่น ปวดท้อง ปวดหลัง หรือเจ็บแน่นหน้าอก
3. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแสดง หากหลอดเลือดแดงใหญ่มีขนาดโตกว่า 5 - 5.5 ซม. หรือมีขนาดโตเร็วกว่า 3 - 5 มม. ใน 1 ปี
4. ผู้ป่วยเพศหญิงหรือผู้ป่วยอายุน้อยที่แม้มีหลอดเลือดโป่งพองขนาดเล็กกว่า 5 ซม. แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการแตกของก้อน เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเคยมีหลอดเลือดแดงใหญ่แตกฉียบพลัน
หมายเหตุ
ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดโป่งพองแต่ไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรักษา ควรได้รับการตรวจซ้ำอย่างต่อเนื่องด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ หรือการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทุก 3 - 6 เดือน
การปฏิบัติตัว
- ตรวจสภาพฟันให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด ควรแจ้งทันตแพทย์ว่าท่านเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เพื่ออาจจะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟัน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ นม ไข่ ไม่ควรรับประทานอาหารเค็ม เพราะทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น อาหารที่มีประโยชน์จะทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่มีโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
- ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ พยายามทำใจให้สงบ หรือฝึกสมาธิ เพื่อจะได้ลดความวิตกกังวล
- งดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 เตือน
- ในกรณีที่เลือดออกง่ายหรือหยุดยากกว่าปกติ เคยมีจ้ำเลือดตามตัว หรือญาติพี่น้องมีประวัติดังกล่าวต้องแจ้งแพทย์
- ถ้ามีโรคประจำตัวอย่างอื่น แพ้ยา หรือสารเคมีบางอย่างต้องแจ้งแพทย์
- ให้ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง มาบริจาคเลือดให้กับท่าน เพราะการผ่าตัดหัวใจต้องใช้เลือดจำนวนมาก
- ท่านจำเป็นต้องเข้านอนโรงพยาบาลก่อนอย่างน้อย 1-3 วัน เพื่อจะได้รับการตรวจร่างกาย และเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด
- คืนวันก่อนผ่าตัด ท่านจะได้รับคำแนะนำและการเตรียมร่างกายให้พร้อมในการผ่าตัด เช่น การงดน้ำ งดอาหาร การโกนผิวหนังบริเวณผ่าตัด ท่านควรจะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
คำแนะนำเกี่ยวกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ในกรณีที่ท่านรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ ยานี้เป็นอันตรายท่านจะต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งและปฏิบัติตัว โดยเคร่งครัด ดังนี้
1. มาตรวจตามแพทย์นัดครั้งเพื่อเจาะเลือดดูฤทธิ์ของยา
2. ห้ามหยุดรับประทานยาเอง หากมีอาการผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์
2.1 เลือดออกตามไรฟัน
2.2 อาเจียน ปัสสาวะ หรืออุจจาระเป็นเลือต
2.3 ไอเป็นเลือด
2.4 มีแผลเลือดออกตลอดเวลา
2.5 มีรอยช้ำตามตัวเป็นจ้ำๆ
2.6 ประจำเดือนออกมากผิดปกติ
3. ถ้าจำเป็นต้องถอนฟัน หรือทำผ่าตัดด่วนต้องแจ้งให้ทันตแพทย์หรือแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดให้ทราบว่าขณะนี้ท่านกำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่
บทความโดย นพ. ปัญเกียรติ โตพิพัฒน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C
หลอดเลือดแดงใหญ่ เปรียบเสมือนท่อประปาหลักที่ให้แขนงหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง ประสาทไขสันหลัง แขน ขา และอวัยวะในช่องท้อง ทำหน้าที่เป็นท่อนำเลือดแดงจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากบริเวณขั้วหัวใจขึ้นไปยังยอดอก แล้วทอดโค้งไปด้านหลัง เคียงข้างกระดูกสันหลังในช่องอก ผ่านกระบังลมเข้าไปยังช่องท้อง ก่อนจะแยกเป็นแขนงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขา 2 ข้าง และอวัยวะในอุ้งเชิงกราน โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นโรคที่อันตรายและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างกะทันหัน เนื่องจากหลอดเลือดที่โป่งพองอาจแตกทันทีทันใดโดยไม่มีอาการเตือน หลอดเลือดที่โป่งพองจะมีลักษณะคล้ายบอลลูน โดยผนังของหลอดเลือดจะพองออกอย่างชัดเจน
อาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใดๆ นำมาก่อน อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก หรือคลำก้อนเต้นได้ในช่องท้อง
2. ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องอกอาจมีอาการกดเบียดของหลอดเลือดกับอวัยวะข้างเคียง เช่น กดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก กดเบียดหลอดอาหารทำให้กลืนลำบาก กดเบียดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงทำให้เสียงแหบ เป็นต้น
3. หากผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก ปวดหลัง หน้ามืด หมดสติ หรือไอเป็นเลือด อาจบ่งชี้ว่าหลอดเลือดแดงใหญ่ มีการปริแตก ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองอาจคลำก้อนเต้นได้ในช่องท้อง หรือมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง
4. หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยจากการสอบถามประวัติอาการ ตรวจร่างกายร่วมกับตรวจเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกหรือช่องท้อง การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ (Ultrasound), การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง
1. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
3. การสูบบุหรี่
4. เป็นโรคหัวใจ
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง
1. การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น
- ควบคุมความดันโลหิต
- งดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงภาวะตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระ หรือยกของหนัก
2. การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด โดยแพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดผ่านช่องทรวงอกหรือช่องท้อง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งพยาธิสภาพของหลอดเลือด แล้วทำการใส่หลอดเลือดเทียมทดแทน
3. การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด (Endovascular Aortic Aneurysm Repair: EVAR)
เป็นการผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ เพื่อสอดหลอดเลือดเทียมเข้าไปใส่แทนที่หลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณที่โป่งพองในช่องอกหรือช่องท้อง การยึดเกาะของหลอดเลือดเทียมกับผนังหลอดเลือดแดงใหญ่จะไม่ใช้การเย็บติดของหลอดเลือดแต่อาศัยแรงดันออกของขดลวด หลอดเลือดที่โป่งพองจะค่อยๆ ฝ่อหรือคงขนาดเดิม
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง
จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดในการผ่าตัด คือ ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแดงใหญ่มีการปริแตก ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 50 - 90 และเกิดทุพพลภาพได้ การรักษาด้วยการผ่าตัดเหมาะสมในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
1. มีภาวะรั่วซึมหรือปริแตกของหลอดเลือดแดงใหญ่
2. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่มีอาการเจ็บปวดบริเวณก้อน เช่น ปวดท้อง ปวดหลัง หรือเจ็บแน่นหน้าอก
3. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแสดง หากหลอดเลือดแดงใหญ่มีขนาดโตกว่า 5 - 5.5 ซม. หรือมีขนาดโตเร็วกว่า 3 - 5 มม. ใน 1 ปี
4. ผู้ป่วยเพศหญิงหรือผู้ป่วยอายุน้อยที่แม้มีหลอดเลือดโป่งพองขนาดเล็กกว่า 5 ซม. แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการแตกของก้อน เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเคยมีหลอดเลือดแดงใหญ่แตกฉียบพลัน
หมายเหตุ
ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดโป่งพองแต่ไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรักษา ควรได้รับการตรวจซ้ำอย่างต่อเนื่องด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ หรือการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทุก 3 - 6 เดือน
การปฏิบัติตัว
- ตรวจสภาพฟันให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด ควรแจ้งทันตแพทย์ว่าท่านเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เพื่ออาจจะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟัน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ นม ไข่ ไม่ควรรับประทานอาหารเค็ม เพราะทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น อาหารที่มีประโยชน์จะทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่มีโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
- ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ พยายามทำใจให้สงบ หรือฝึกสมาธิ เพื่อจะได้ลดความวิตกกังวล
- งดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 เตือน
- ในกรณีที่เลือดออกง่ายหรือหยุดยากกว่าปกติ เคยมีจ้ำเลือดตามตัว หรือญาติพี่น้องมีประวัติดังกล่าวต้องแจ้งแพทย์
- ถ้ามีโรคประจำตัวอย่างอื่น แพ้ยา หรือสารเคมีบางอย่างต้องแจ้งแพทย์
- ให้ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง มาบริจาคเลือดให้กับท่าน เพราะการผ่าตัดหัวใจต้องใช้เลือดจำนวนมาก
- ท่านจำเป็นต้องเข้านอนโรงพยาบาลก่อนอย่างน้อย 1-3 วัน เพื่อจะได้รับการตรวจร่างกาย และเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด
- คืนวันก่อนผ่าตัด ท่านจะได้รับคำแนะนำและการเตรียมร่างกายให้พร้อมในการผ่าตัด เช่น การงดน้ำ งดอาหาร การโกนผิวหนังบริเวณผ่าตัด ท่านควรจะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
คำแนะนำเกี่ยวกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ในกรณีที่ท่านรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ ยานี้เป็นอันตรายท่านจะต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งและปฏิบัติตัว โดยเคร่งครัด ดังนี้
1. มาตรวจตามแพทย์นัดครั้งเพื่อเจาะเลือดดูฤทธิ์ของยา
2. ห้ามหยุดรับประทานยาเอง หากมีอาการผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์
2.1 เลือดออกตามไรฟัน
2.2 อาเจียน ปัสสาวะ หรืออุจจาระเป็นเลือต
2.3 ไอเป็นเลือด
2.4 มีแผลเลือดออกตลอดเวลา
2.5 มีรอยช้ำตามตัวเป็นจ้ำๆ
2.6 ประจำเดือนออกมากผิดปกติ
3. ถ้าจำเป็นต้องถอนฟัน หรือทำผ่าตัดด่วนต้องแจ้งให้ทันตแพทย์หรือแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดให้ทราบว่าขณะนี้ท่านกำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่
บทความโดย นพ. ปัญเกียรติ โตพิพัฒน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C