ออทิสติก ผลกระทบต่อพัฒนาการลูกน้อย

ภาวะออทิสติกสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder) กลุ่มอาการที่ทำให้มีพัฒนาการล่าช้าในด้านการสื่อสาร และการเข้าสังคมรวมทั้งพฤติกรรม และความสนใจซ้ำ ๆ หมกมุ่นในเรื่องจำกัด ซึ่งมีความรุนแรงหลากหลายระดับ ตั้งแต่มีอาการน้อยจนอาการมาก พบสัดส่วนผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประมาณ 4 - 5 คน : 1 คน โดยสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันทั้งด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

ในเด็กเล็กมักมาด้วยปัญหาพูดช้า ไม่สบตา พูดเป็นภาษาของตัวเอง หรือพูดคำที่มีความหมายได้แต่ไม่สนทนา ในกลุ่มที่มีอาการน้อย อาจมาด้วยปัญหาขาดทักษะการเข้าสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ พูดหรือมีพฤติกรรมผิดกาลเทศะโดยไม่ตั้งใจ

การวินิจฉัยดูจากความผิดปกติ 3 ด้าน ได้แก่

     1. ด้านการเข้าสังคม

  • ในเด็กเล็ก มักจะมาด้วยไม่สนใจคนรอบข้าง ไม่สบตา ไม่มองหน้า ไม่เล่นเลียนแบบ ไม่มีความสนใจร่วมกับผู้อื่น เช่น ไม่สนใจเมื่อชี้ชวนให้ดูสิ่งของ ไม่กังวลเมื่อต้องแยกจากผู้เลี้ยงดู หรือในบางครั้งอาจพบว่ามีพฤติกรรมไม่แยกแยะคนแปลกหน้า เข้าหาคนโดยไม่กลัว ไม่เลือกหน้า
  • ในเด็กโต มักพบปัญหาขาดทักษะในการเล่นร่วมกับเพื่อน ไม่สนใจเข้าหา หรือสนใจแต่เข้าหาไม่เป็น เช่น ใช้วิธีตีเพื่อนเพื่อชวนเล่น ยอมเล่นหรือพูดคุยแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ ไม่เข้าใจสีหน้าและอารมณ์ของผู้อื่น เล่นหรือพูดผิดกาลเทศะ

     2. ด้านการใช้ภาษา

     เริ่มพูดช้า หรือมีคำศัพท์ที่มีความหมายแต่ไม่นำมาใช้สื่อสารกับคนรอบข้าง พูดเหมือนท่องมาจากเพลงหรือข้อความที่เคยได้ยิน ยอมสนทนาเฉพาะเรื่องที่สนใจ บางครั้งอาจเริ่มพูดเป็นคำเดี่ยว ๆ ได้ในช่วงขวบปีแรก แล้วก็หยุดไป ไม่มีคำศัพท์เพิ่มอีก

     3. พฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือความสนใจที่หมกมุ่นในเรื่องเฉพาะ

     สะบัดมือ หมุนตัว เดินเขย่ง ชอบมองของหมุน มองสิ่งต่าง ๆ ด้วยการเหล่ตามอง เรียงของเป็นแถว ยึดติดกับความเป็นแบบแผน เจ้าระเบียบ หมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากและนาน

เมื่อสงสัยภาวะออทิสติก หรือเด็กมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า

การวินิจฉัยจะประกอบไปด้วย

  • การซักถามประวัติ
  • การสังเกตพฤติกรรมเด็กในห้องตรวจ
  • การตรวจประเมินพัฒนาการทุกด้าน
  • การตรวจร่างกาย หรือการตรวจพิเศษอื่น ๆ
  • ในกรณีที่สงสัยโรคร่วมหรือจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรค เช่นตรวจการได้ยิน การมองเห็น ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

การรักษา

การกระตุ้นพัฒนาการด้านที่บกพร่องให้ใกล้เคียงระดับปกติให้ได้มากที่สุด ปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการรักษามักต้องการทีมสหวิชาชีพ เช่น นักกิจกรรมบำบัด นักอรรถบำบัด นักจิตวิทยา พยาบาล
กระตุ้นพัฒนาการและปรับพฤติกรรม การใช้ยารักษาอาจมีความจำเป็นในกรณีที่มีพฤติกรรมรุนแรง อารมณ์หงุดหงิด หรือมีภาวะสมาธิสั้นร่วมด้วย

ในปัจจุบันในโรคออทิสติกเทียมเป็นคำเรียกทั่ว ๆ ไป เกิดจากการปล่อยให้เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอนานจนเกินไปตั้งแต่ยังเล็ก เช่น เด็กดูจอเยอะแล้วพูดช้า

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ. ณกุล วิจักขณา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

ภาวะออทิสติกสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder) กลุ่มอาการที่ทำให้มีพัฒนาการล่าช้าในด้านการสื่อสาร และการเข้าสังคมรวมทั้งพฤติกรรม และความสนใจซ้ำ ๆ หมกมุ่นในเรื่องจำกัด ซึ่งมีความรุนแรงหลากหลายระดับ ตั้งแต่มีอาการน้อยจนอาการมาก พบสัดส่วนผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประมาณ 4 - 5 คน : 1 คน โดยสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันทั้งด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

ในเด็กเล็กมักมาด้วยปัญหาพูดช้า ไม่สบตา พูดเป็นภาษาของตัวเอง หรือพูดคำที่มีความหมายได้แต่ไม่สนทนา ในกลุ่มที่มีอาการน้อย อาจมาด้วยปัญหาขาดทักษะการเข้าสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ พูดหรือมีพฤติกรรมผิดกาลเทศะโดยไม่ตั้งใจ

การวินิจฉัยดูจากความผิดปกติ 3 ด้าน ได้แก่

     1. ด้านการเข้าสังคม

  • ในเด็กเล็ก มักจะมาด้วยไม่สนใจคนรอบข้าง ไม่สบตา ไม่มองหน้า ไม่เล่นเลียนแบบ ไม่มีความสนใจร่วมกับผู้อื่น เช่น ไม่สนใจเมื่อชี้ชวนให้ดูสิ่งของ ไม่กังวลเมื่อต้องแยกจากผู้เลี้ยงดู หรือในบางครั้งอาจพบว่ามีพฤติกรรมไม่แยกแยะคนแปลกหน้า เข้าหาคนโดยไม่กลัว ไม่เลือกหน้า
  • ในเด็กโต มักพบปัญหาขาดทักษะในการเล่นร่วมกับเพื่อน ไม่สนใจเข้าหา หรือสนใจแต่เข้าหาไม่เป็น เช่น ใช้วิธีตีเพื่อนเพื่อชวนเล่น ยอมเล่นหรือพูดคุยแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ ไม่เข้าใจสีหน้าและอารมณ์ของผู้อื่น เล่นหรือพูดผิดกาลเทศะ

     2. ด้านการใช้ภาษา

     เริ่มพูดช้า หรือมีคำศัพท์ที่มีความหมายแต่ไม่นำมาใช้สื่อสารกับคนรอบข้าง พูดเหมือนท่องมาจากเพลงหรือข้อความที่เคยได้ยิน ยอมสนทนาเฉพาะเรื่องที่สนใจ บางครั้งอาจเริ่มพูดเป็นคำเดี่ยว ๆ ได้ในช่วงขวบปีแรก แล้วก็หยุดไป ไม่มีคำศัพท์เพิ่มอีก

     3. พฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือความสนใจที่หมกมุ่นในเรื่องเฉพาะ

     สะบัดมือ หมุนตัว เดินเขย่ง ชอบมองของหมุน มองสิ่งต่าง ๆ ด้วยการเหล่ตามอง เรียงของเป็นแถว ยึดติดกับความเป็นแบบแผน เจ้าระเบียบ หมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากและนาน

เมื่อสงสัยภาวะออทิสติก หรือเด็กมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า

การวินิจฉัยจะประกอบไปด้วย

  • การซักถามประวัติ
  • การสังเกตพฤติกรรมเด็กในห้องตรวจ
  • การตรวจประเมินพัฒนาการทุกด้าน
  • การตรวจร่างกาย หรือการตรวจพิเศษอื่น ๆ
  • ในกรณีที่สงสัยโรคร่วมหรือจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรค เช่นตรวจการได้ยิน การมองเห็น ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

การรักษา

การกระตุ้นพัฒนาการด้านที่บกพร่องให้ใกล้เคียงระดับปกติให้ได้มากที่สุด ปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการรักษามักต้องการทีมสหวิชาชีพ เช่น นักกิจกรรมบำบัด นักอรรถบำบัด นักจิตวิทยา พยาบาล
กระตุ้นพัฒนาการและปรับพฤติกรรม การใช้ยารักษาอาจมีความจำเป็นในกรณีที่มีพฤติกรรมรุนแรง อารมณ์หงุดหงิด หรือมีภาวะสมาธิสั้นร่วมด้วย

ในปัจจุบันในโรคออทิสติกเทียมเป็นคำเรียกทั่ว ๆ ไป เกิดจากการปล่อยให้เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอนานจนเกินไปตั้งแต่ยังเล็ก เช่น เด็กดูจอเยอะแล้วพูดช้า

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ. ณกุล วิจักขณา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง