ไอกรนในเด็ก ทำไมถึงอันตรายและป้องกันได้อย่างไร?
โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis สามารถติดต่อผ่านละอองฝอยของการไอหรือจาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย ทำให้มีอาการของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอาการไอเด่น และไอนาน ในผู้ที่สุขภาพแข็งแรง ได้รับวัคซีน ทำให้เกิดอาการไม่มาก แต่สำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี (โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 4 เดือน) ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคปอดเรื้อรัง อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ไอเป็นชุดจนหยุดหายใจหรือเสียชีวิตได้
ระยะฟักตัวของโรค
เฉลี่ย 7 - 10 วัน แต่อาจนานได้ถึง 20 วัน อาการของโรคโดยรวมทั้งหมด ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะนานประมาณ 6 - 10 สัปดาห์ ซึ่งแบ่งได้ 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะอาการไข้หวัด ซึ่งผู้ป่วยจะมีน้ำมูก ไอ ไข้ต่ำ ๆ ได้ ระยะนี้พบได้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ เป็นระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้มากที่สุด
- ระยะไอรุนแรง อาจมีอาการไอติดต่อกันเป็นชุดติด ๆ กัน ตามด้วยการหายใจเข้าแรงจนเกิดเสียงวู๊ป (whoop) ในระยะนี้มีโอกาสเกิดภาวะหยุดหายใจ โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน อาจมีอาการไอจนอาเจียนได้ ระยะนี้พบประมาณ 2 - 4 สัปดาห์
- ระยะฟื้นตัว พบว่าอาการไอเป็นชุด ๆ จะลดลง ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อน
พบได้บ่อย คือ ปอดอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่ไอมาก ๆ อาจมีเลือดออกในเยื่อบุตา มีจุดเลือดออกที่ใบหน้า หรือภาวะชักแต่พบได้ไม่บ่อยนัก
การวินิจฉัยโรค
อาศัยประวัติการสัมผัสผู้ป่วย ร่วมกับอาการทางคลินิก หากต้องการยืนยันการวินิจฉัยโรคต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยมาตรฐานต้องใช้วิธีการเพาะเชื้อซึ่งทำได้ยาก หรืออีกวิธีคือการตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อด้วยเทคนิค PCR
การรักษาโรค
โรคไอกรนมีการรักษาจำเพาะคือการให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นและป้องกันการแพร่เชื้อ นอกจากนั้นเป็นการรักษาทั่วไปเพื่อประคับประคองอาการ และถ้ามีอาการรุนแรงอาจรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
การแยกโรค
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรนควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลอื่นเป็นระยะเวลา 5 วันหลังจากได้รับยาปฏิชีวนะ หรือ 21 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการหากไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ
ไอกรนป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
เด็กไทยควรได้รับวัคซีนป้องกันไอกรนซึ่งฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันคอตีบและบาดทะยักทั้งหมด 5 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เริ่มเมื่ออายุ 2 เดือน
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 เดือน
ครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
ครั้งที่ 4 เมื่ออายุ 18 เดือน
ครั้งที่ 5 ฉีดวัคซีนกระตุ้นเมื่ออายุ 4 - 6 ปี
ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นเมื่ออายุ 10 - 12 ปี และกระตุ้นต่อเนื่องในวัยผู้ใหญ่ทุก 10 ปี
สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไอกรนต้องสังเกตอาการภายหลังสัมผัสโรคเป็นเวลา 21 วัน นอกจากนี้อาจให้ยาป้องกันหลังสัมผัสได้ เพื่อไม่ให้เกิดโรคภายหลังได้รับเชื้อ โดยไม่ต้องทำการตรวจหาเชื้อก่อนเริ่มยา
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ. กรณษา จันทร์แก้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E
โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis สามารถติดต่อผ่านละอองฝอยของการไอหรือจาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย ทำให้มีอาการของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอาการไอเด่น และไอนาน ในผู้ที่สุขภาพแข็งแรง ได้รับวัคซีน ทำให้เกิดอาการไม่มาก แต่สำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี (โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 4 เดือน) ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคปอดเรื้อรัง อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ไอเป็นชุดจนหยุดหายใจหรือเสียชีวิตได้
ระยะฟักตัวของโรค
เฉลี่ย 7 - 10 วัน แต่อาจนานได้ถึง 20 วัน อาการของโรคโดยรวมทั้งหมด ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะนานประมาณ 6 - 10 สัปดาห์ ซึ่งแบ่งได้ 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะอาการไข้หวัด ซึ่งผู้ป่วยจะมีน้ำมูก ไอ ไข้ต่ำ ๆ ได้ ระยะนี้พบได้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ เป็นระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้มากที่สุด
- ระยะไอรุนแรง อาจมีอาการไอติดต่อกันเป็นชุดติด ๆ กัน ตามด้วยการหายใจเข้าแรงจนเกิดเสียงวู๊ป (whoop) ในระยะนี้มีโอกาสเกิดภาวะหยุดหายใจ โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน อาจมีอาการไอจนอาเจียนได้ ระยะนี้พบประมาณ 2 - 4 สัปดาห์
- ระยะฟื้นตัว พบว่าอาการไอเป็นชุด ๆ จะลดลง ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อน
พบได้บ่อย คือ ปอดอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่ไอมาก ๆ อาจมีเลือดออกในเยื่อบุตา มีจุดเลือดออกที่ใบหน้า หรือภาวะชักแต่พบได้ไม่บ่อยนัก
การวินิจฉัยโรค
อาศัยประวัติการสัมผัสผู้ป่วย ร่วมกับอาการทางคลินิก หากต้องการยืนยันการวินิจฉัยโรคต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยมาตรฐานต้องใช้วิธีการเพาะเชื้อซึ่งทำได้ยาก หรืออีกวิธีคือการตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อด้วยเทคนิค PCR
การรักษาโรค
โรคไอกรนมีการรักษาจำเพาะคือการให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นและป้องกันการแพร่เชื้อ นอกจากนั้นเป็นการรักษาทั่วไปเพื่อประคับประคองอาการ และถ้ามีอาการรุนแรงอาจรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
การแยกโรค
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรนควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลอื่นเป็นระยะเวลา 5 วันหลังจากได้รับยาปฏิชีวนะ หรือ 21 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการหากไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ
ไอกรนป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
เด็กไทยควรได้รับวัคซีนป้องกันไอกรนซึ่งฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันคอตีบและบาดทะยักทั้งหมด 5 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เริ่มเมื่ออายุ 2 เดือน
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 เดือน
ครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
ครั้งที่ 4 เมื่ออายุ 18 เดือน
ครั้งที่ 5 ฉีดวัคซีนกระตุ้นเมื่ออายุ 4 - 6 ปี
ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นเมื่ออายุ 10 - 12 ปี และกระตุ้นต่อเนื่องในวัยผู้ใหญ่ทุก 10 ปี
สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไอกรนต้องสังเกตอาการภายหลังสัมผัสโรคเป็นเวลา 21 วัน นอกจากนี้อาจให้ยาป้องกันหลังสัมผัสได้ เพื่อไม่ให้เกิดโรคภายหลังได้รับเชื้อ โดยไม่ต้องทำการตรวจหาเชื้อก่อนเริ่มยา
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ. กรณษา จันทร์แก้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E