
ตรวจให้ไว! มะเร็งเต้านมไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว
จากสถิติในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง ทั้งนี้มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะมีต้นกำเนิดมาจากท่อน้ำนม (mammary duct) ซึ่งเมื่อกลายเป็นมะเร็งจึงมีชื่อเรียกว่า มะเร็งท่อน้ำนม (invasive ductal carcinoma) แต่รู้หรือไม่ มะเร็งท่อน้ำนมก็ยังมีการแยกเป็นชนิดย่อย ๆ อีกหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีการแนวทางการรักษาในรายละเอียดที่แตกต่างกัน
ในการรักษามะเร็งเต้านม นอกจากระยะของมะเร็งที่มีตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 แล้ว การบอกชนิดย่อย ๆ ของมะเร็งเต้านมมีความสำคัญอย่างมากในการวางแผนการรักษาว่าจะใช้วิธีในการรักษาอย่างไร จะเริ่มต้นด้วยการให้ยาก่อนหรือผ่าตัดก่อนดีกว่ากัน ดังนั้นถึงแม้การเจาะชิ้นเนื้อทราบแล้วว่าเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Subtype) เป็นสิ่งสำคัญในขั้นตอนการวินิจฉัยโรคก่อนการเริ่มลงมือรักษา
การตรวจชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม จะใช้การตรวจพิเศษจากเนื้อเยื่อมะเร็งทางห้องปฏิบัติการ เป็นการตรวจ 4 ชนิด ได้แก่
- ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen receptor: ER)
- ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone receptor: PR)
- โปรตีนเฮอร์ทู (HER-2; Human epidermal growth factor receptor-2)
- โปรตีน Ki-67
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะแบ่งมะเร็งเต้านมออกเป็น 4 ชนิดย่อย (Subtype) ดังนี้
-
Luminal A
- ER: บวก PR: ลบ และ HER-2: ลบ
- Luminal B
- ER: บวก PR: บวก และ HER-2: บวก
- ER: บวก PR: บวก และ HER-2: ลบ
- Ki-67 มากกว่า 20%
- HER-2
- ER: ลบ PR: ลบ และ HER-2: บวก
- Triple Negative
- ER: ลบ PR: ลบ และ HER-2: ลบ
ทั้งนี้ มะเร็งเต้านมแต่ละชนิดย่อยจะมีพฤติกรรมความรุนแรงแตกต่างกัน หากเป็นมะเร็งเต้านมชนิด Triple negative หรือ HER-2 หรือมะเร็งเต้านมที่มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง แพทย์ที่ให้การรักษาอาจพิจารณาให้รักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้าก่อนได้รับการผ่าตัด (neoadjuvant systemic therapy) เพื่อควบคุมโรคให้ได้ผลดีขึ้นก่อนลงมือผ่าตัด
ข้อมูลจาก : รศ. ดร. นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E
บทความที่เกี่ยวข้อง
จากสถิติในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง ทั้งนี้มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะมีต้นกำเนิดมาจากท่อน้ำนม (mammary duct) ซึ่งเมื่อกลายเป็นมะเร็งจึงมีชื่อเรียกว่า มะเร็งท่อน้ำนม (invasive ductal carcinoma) แต่รู้หรือไม่ มะเร็งท่อน้ำนมก็ยังมีการแยกเป็นชนิดย่อย ๆ อีกหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีการแนวทางการรักษาในรายละเอียดที่แตกต่างกัน
ในการรักษามะเร็งเต้านม นอกจากระยะของมะเร็งที่มีตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 แล้ว การบอกชนิดย่อย ๆ ของมะเร็งเต้านมมีความสำคัญอย่างมากในการวางแผนการรักษาว่าจะใช้วิธีในการรักษาอย่างไร จะเริ่มต้นด้วยการให้ยาก่อนหรือผ่าตัดก่อนดีกว่ากัน ดังนั้นถึงแม้การเจาะชิ้นเนื้อทราบแล้วว่าเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Subtype) เป็นสิ่งสำคัญในขั้นตอนการวินิจฉัยโรคก่อนการเริ่มลงมือรักษา
การตรวจชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม จะใช้การตรวจพิเศษจากเนื้อเยื่อมะเร็งทางห้องปฏิบัติการ เป็นการตรวจ 4 ชนิด ได้แก่
- ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen receptor: ER)
- ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone receptor: PR)
- โปรตีนเฮอร์ทู (HER-2; Human epidermal growth factor receptor-2)
- โปรตีน Ki-67
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะแบ่งมะเร็งเต้านมออกเป็น 4 ชนิดย่อย (Subtype) ดังนี้
-
Luminal A
- ER: บวก PR: ลบ และ HER-2: ลบ
- Luminal B
- ER: บวก PR: บวก และ HER-2: บวก
- ER: บวก PR: บวก และ HER-2: ลบ
- Ki-67 มากกว่า 20%
- HER-2
- ER: ลบ PR: ลบ และ HER-2: บวก
- Triple Negative
- ER: ลบ PR: ลบ และ HER-2: ลบ
ทั้งนี้ มะเร็งเต้านมแต่ละชนิดย่อยจะมีพฤติกรรมความรุนแรงแตกต่างกัน หากเป็นมะเร็งเต้านมชนิด Triple negative หรือ HER-2 หรือมะเร็งเต้านมที่มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง แพทย์ที่ให้การรักษาอาจพิจารณาให้รักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้าก่อนได้รับการผ่าตัด (neoadjuvant systemic therapy) เพื่อควบคุมโรคให้ได้ผลดีขึ้นก่อนลงมือผ่าตัด
ข้อมูลจาก : รศ. ดร. นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E
บทความที่เกี่ยวข้อง