รู้ลึก วิธีการรักษามะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับ 1 ในสตรีทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นมะเร็งที่มีผลกระทบอย่างมากกับสุขภาพกายและใจของสุภาพสตรี เพราะเต้านมถือเป็นอวัยวะที่แสดงความเป็นผู้หญิง อย่างไรก็ตาม การรักษามะเร็งเต้านมหากสามารถทำได้ตามมาตรฐานการรักษาจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายจากโรคได้ และทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง

ทำความรู้จักมะเร็งเต้านม

     มะเร็งเต้านม เกิดจากเซลล์ภายในเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ โดยที่เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และโตขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นก้อนใหญ่ให้คลำได้ และหากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปบริเวณอวัยวะใกล้เคียง คือ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และ เข้าสู่หลอดเลือดและ/หรือทางเดินน้ำเหลือง ทำให้สามารถเดินทางไปสู่อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป ได้แก่ กระดูก ปอด ตับ หรืออวัยวะสำคัญอื่นๆ และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

ระยะของมะเร็งเต้านม

     มะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 ซม. และยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2 - 5 ซม. และ/หรือมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกัน

ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกันอย่างมาก จนทำให้ต่อมน้ำเหลืองเหล่านั้นมารวมติดกันเป็นก้อนใหญ่หรือติดแน่นกับอวัยวะข้างเคียง

ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งมีขนาดโตเท่าไหร่ก็ได้ แต่พบว่ามีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายที่อยู่ไกลออกไป เช่น กระดูก ปอด ตับ หรือสมอง เป็นต้น

     มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก คือ ระยะที่ 1 และ 2 หรือในระยะที่ 3 แต่หากมีการกระจายไปยังอวัยวะอื่นนอกจากต่อมน้ำเหลือแล้ว จะเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 4

     สำหรับมะเร็งเต้านมในระยะที่ยังไม่ลุกลามที่ทางการแพทย์เรียกว่า carcinoma in situ จะเรียกมะเร็งเต้านมในระยะนี้ว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 0 โดยที่มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกหายได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยสามารถมีอัตราการอยู่รอดเกิน 5 ปี สูงถึง 70 - 90%

อาการมะเร็งเต้านม

     ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมในประเทศไทยส่วนมากจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาก้อนที่เต้านม ซึ่งอาจมีขนาดของก้อนมะเร็งใหญ่เล็กแตกต่างกัน และนอกจากก้อนที่เต้านมแล้วยังมีอาการอย่างอื่นที่ควรมาพบแพทย์

  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณหน้าอก เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติคล้ายเปลือกส้ม หรือบางส่วนเกิดเป็นสะเก็ด
  • ความเปลี่ยนแปลงของหัวนม เช่น มีการหดตัว หัวนมบอด คันหรือแดงผิดปกติ เลือดออกทางหัวนม อาการเจ็บเต้านม หรือมีก้อนที่รักแร้

     อย่างไรก็ตาม การมีก้อนที่เต้านมในผู้หญิงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป ดังนั้นหากคลำพบก้อนที่เต้านม ขอให้อย่าได้นิ่งนอนใจหรือปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ ไม่ต้องรอให้มีอาการเจ็บหรือปวด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว และรักษาตามความเหมาะสม

มะเร็งเต้านมรักษาได้

     วิธีการรักษามะเร็งเต้านมที่ได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันมีอยู่ 5 วิธี คือ

  1. การรักษาโดยการผ่าตัด
  2. การรักษาโดยการฉายแสง (รังสีรักษา)
  3. การรักษาโดยยาต้านฮอร์โมน
  4. การรักษาโดยยาเคมีบำบัด
  5. การรักษาโดยยาที่มีการออกฤทธิ์จำเพาะ

     มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ส่วนใหญ่รักษาโดยการผ่าตัดเป็นอันดับแรก และส่วนมากต้องการรักษาวิธีอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อเสริมให้ผลการรักษาดีขึ้น

     อย่างไรก็ตาม แพทย์จะใช้การรักษาใดๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะใช้การรักษาหลายๆ อย่างร่วมกัน เพื่อเป้าหมายให้หายขาดจากโรคได้ โดยแพทย์จะเลือกการรักษาแต่ละอย่างซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ที่เป็นเป็นหลัก

การรักษาโดยการผ่าตัด

     เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ การผ่าตัดที่เต้านมและการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

1. การผ่าตัดบริเวณเต้านม แบ่งได้เป็น 3 วิธี ได้แก่

     1.1 การตัดเต้านมออกทั้งเต้า คือการผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมด (รวมผิวหนังส่วนที่อยู่เหนือก้อนมะเร็งและหัวนมด้วย)

     1.2 การตัดเต้านมออกเพียงบางส่วน คือการตัดก้อนมะเร็งและเนื้อของเต้านมปกติที่อยู่รอบ โดยตัดห่างจากขอบของก้อนมะเร็งประมาณ 1 - 2 ซม. โดยมากจะยังคงเหลือหัวนม ฐานหัวนม และส่วนใหญ่ของเนื้อเต้านม มักเลือกใช้วิธีนี้ในรายที่มะเร็งมีขนาดเล็ก มีมะเร็งเพียงตำแหน่งเดียว

2. การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ แบ่งได้เป็น 2 วิธี ได้แก่

     2.1 การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด เป็นมาตรฐานของการผ่าตัดมะเร็งเต้านมเพื่อตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งในการควบคุมโรค ทราบระยะที่แท้จริงของโรค อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดดังกล่าว อาจทำให้เกิดภาวะแขนบวมได้มากกว่า การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบางส่วน

     2.2 การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบางส่วน โดยการฉีดสีเซนติเนล เป็นวิธีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้ที่เป็นมาตรฐาน ในกรณีที่ยังไม่มะเร็งลามไปยังต่อมน้ำเหลือง

     การพิจารณาว่าจะผ่าตัดด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็งขนาดของก้อนมะเร็ง สภาพร่างกายของผู้ป่วย ความชำนาญของศัลยแพทย์บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการผ่าตัดได้มากกว่าหนึ่งวิธี ดังนั้นศัลยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำถึงการผ่าตัดแต่ละวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเอง

3. การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม

     คือการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อที่บริเวณอื่นของร่างกาย หรือใช้วัสดุที่ทำเลียนแบบเต้านม มาเพื่อเสริมหรือสร้างเต้านมใหม่ ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจในการกลับไปทำงานและใช้ชีวิตตามปกติ การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมสามารถทำได้พร้อมกับการผ่าตัดรักษามะเร็ง หรือทำหลังจากการรักษามะเร็งเต้านมเสร็จสิ้นทั้งหมดไปแล้วก็ได้ (โดยทั่วไปประมาณ 1 ปี ไปแล้วหลังการรักษาทุกอย่างจบสิ้น

     โดยที่การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมจะไม่เกิดผลเสียใดๆ ต่อการรักษามะเร็งเต้านม แต่จำเป็นต้องคัดเลือกผู้ป่วยให้เหมาะสม โดยขึ้นกับระยะของโรค ขนาด ตำแหน่งของมะเร็ง สภาพทั่วไปรวมถึงความพร้อมในการผ่าตัดและการดมยาสลบของผู้ป่วย

การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

     คือการใช้ยาที่มีคุณสมบัติในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาดังกล่าวสามารถออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกาย อย่างไรก็ตาม ยาเคมีบำบัดนี้นอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังอาจมีผลต่อเซลล์ปกติของร่างกายที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ไขกระดูก (ซึ่งจะเป็นตัวสร้างเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด) เยื่อบุทางเดินอาหาร เส้นผมและขน เซลล์รังไข่ ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับอวัยวะดังกล่าวข้างต้นได้ แต่เนื่องจากเซลล์ปกติมีคุณสมบัติที่สามารถสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ ดังนั้นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเพียงชั่วคราว เมื่อเสร็จสิ้นการรักษาแล้วทุกอย่างก็จะกลับมาใกล้เคียงปกติ

     ในปัจจุบันนิยมที่จะให้ยาเคมีบำบัดหลายๆ ชนิดร่วมกัน เพราะให้ผลการรักษาดีกว่าการให้ยาเพียงชนิดเดียว นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจะได้รับยาที่จะช่วยลดผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดลง แพทย์มักจะนัดผู้ป่วยมาให้ยาเคมีบำบัดแบบไม่ต้องนอนค้างในโรงพยาบาล กล่าวคือสามารถมาตรวจในช่วงเช้าและกลับบ้านในตอนเย็น นอกจากนี้การให้ยามักจะเว้นระยะห่างตั้งแต่ประมาณ 1 – 3 หรือ 4 สัปดาห์ตามแต่สูตรของยาที่แพทย์เลือกใช้เพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยได้รับการพักและพร้อมที่จะรับยาในครั้งต่อไป

     ยาเคมีบำบัดทุกชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้แตกต่างกัน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเหล่านี้ บางรายอาจจะไม่มีอาการเลยก็ได้ บางรายก็อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และบางรายอาจมีอาการค่อนข้างรุนแรงแตกต่างกันไปตามแต่การตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย ขนาด และชนิดของยาที่ใช้ ข้อสำคัญที่ควรระลึกไว้คือผลข้างเคียงส่วนใหญ่มักจะเป็นเฉพาะในวันที่ได้รับยาหรือหลังจากนั้นอีกเพียง 2 - 3 วัน จากนั้นอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไป แม้ไม่ได้รับการรักษาใดๆ ก็ตาม

การรักษาโดยการฉายแสง (รังสีรักษา)

     คือการใช้อนุภาครังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อไปหยุดยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง รังสีนี้จะไปทำลายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากเซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วมาก ดังนั้นจึงจะถูกทำลายมากกว่าและนอกจากนั้นเซลล์ปกติยังมีคุณสมบัติที่จะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่ถูกทำลายไปแล้วได้ จึงทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ยังคงรูปร่างและทำงานได้ตามปกติ

     ในการรักษามะเร็งเต้านม เรามักจะใช้การฉายแสงร่วมกับการผ่าตัดในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมออก นอกจากนี้อาจใช้เป็นวิธีการรักษาร่วมในผู้ป่วยบางรายที่ถึงตัดเต้านมออกหมด แต่ก็ต้องได้รับการฉายแสงร่วมด้วย เช่น ในผู้ป่วยที่ขนาดของก้อนมะเร็งมากกว่า 5 ซม. หรือกล้ามเนื้อหน้าอกซืึ่งอยู่ในชั้นลึกหรือมีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองรักแร้จำนวนมาก เป็นต้น

     โดยทั่วๆ ไปแล้ว การรักษาจะใช้เวลาประมาณ 3 - 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน ตั้งแต่จันทร์ถึงศุกร์ หยุดเสาร์และอาทิตย์ เพื่อให้ร่างกาย และผิวหนังได้มีเวลาพักผ่อนและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่ถูกทำลายไป เมื่อเริ่มรักษาแล้วก็ควรจะมารับการรักษาโดยต่อเนื่องจนครบกำหนด โดยที่การฉายแสงในแต่ละวันจะใช้เวลาเพียง 3 - 5 นาที และในระหว่างฉายแสงก็จะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด

การรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน

     เนื่องจากการเจริญเติบโตของเซลมะเร็งเต้านม ส่วนหนึ่ง (ไม่ใช่มะเร็งเต้านมทุกราย) จะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทั้งนี้ ก่อนให้ยาต้านฮอร์โมน แพทย์จะทำการตรวจก่อนว่า เซลล์มะเร็งเซลล์นั้นเเป็นชนิดที่มีตัวรับฮอร์โมนหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นผลบวกก็เป็นตัวช่วยชี้เป็นแนวทางว่าสมควรที่จะรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน และแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาต้านฮอร์โมนต่อเนื่องกันประมาณ 5 - 10 ปี  แล้วแต่ระยะของโรคที่เป็น

     ยาต้านฮอร์โมนแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มของยาที่ออกฤทธิ์โดยการยับยังการทำงานของฮอร์โมน และยากลุ่มที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสร้างฮอร์โมน

1. ยาที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนที่เรารู้จักในชื่อ tamoxifen สามารถใช้ได้ทั้งในผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอยู่หรือหมดประจำเดือนแล้ว ผลข้างเคียงของยา คือ อาจมีผลทำให้เกิดเลือดออกกระปริด กระปรอยทางช่องคลอดได้

2. ยาที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสร้างฮอร์โมน ยาในกลุ่มนี้สามารถใช้ได้เฉพาะในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว โดยผลข้างเคียงของยาที่พบบ่อย คือ อาจทำให้กระดูกบาง และมีอาการปวดตามข้อได้

     ทั้งนี้ยาต้านฮอร์โมนไม่ใช่ยาเคมีบำบัด ดังนั้นจึงไม่มีผลทำให้ผมร่วง หรือคลื่นไส้ อาเจียน หรือเม็ดเลือดขาวต่ำแต่อย่างใด

การรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะ

     ยาในกลุ่มนี้จัดเป็นยากลุ่มใหม่ เช่น ยาต้านเฮอร์ทู ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างจากยากลุ่มเดิมๆ กล่าวคือ เซลล์มะเร็งเต้านมในผู้ป่วยบางรายจะมีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูอยู่ที่ผิวเซลล์ ทำให้สามารถใช้ยาดังกล่าวเพื่อจับกับตัวรับสัญญาณเหล่านี้และให้ยาออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งดังกล่าวได้ ดังนั้นเซลล์อื่นๆ ที่ไม่มีตัวรับสัญญาณก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากยากลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาในกลุ่มนี้จะเป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีรักษาได้ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด แต่ก็มีข้อจำกัดที่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น นอกจากนี้ยายังมีราคาแพงมาก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเกี่ยวกับการใช้ยาดังกล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับ 1 ในสตรีทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นมะเร็งที่มีผลกระทบอย่างมากกับสุขภาพกายและใจของสุภาพสตรี เพราะเต้านมถือเป็นอวัยวะที่แสดงความเป็นผู้หญิง อย่างไรก็ตาม การรักษามะเร็งเต้านมหากสามารถทำได้ตามมาตรฐานการรักษาจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายจากโรคได้ และทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง

ทำความรู้จักมะเร็งเต้านม

     มะเร็งเต้านม เกิดจากเซลล์ภายในเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ โดยที่เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และโตขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นก้อนใหญ่ให้คลำได้ และหากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปบริเวณอวัยวะใกล้เคียง คือ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และ เข้าสู่หลอดเลือดและ/หรือทางเดินน้ำเหลือง ทำให้สามารถเดินทางไปสู่อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป ได้แก่ กระดูก ปอด ตับ หรืออวัยวะสำคัญอื่นๆ และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

ระยะของมะเร็งเต้านม

     มะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 ซม. และยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2 - 5 ซม. และ/หรือมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกัน

ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกันอย่างมาก จนทำให้ต่อมน้ำเหลืองเหล่านั้นมารวมติดกันเป็นก้อนใหญ่หรือติดแน่นกับอวัยวะข้างเคียง

ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งมีขนาดโตเท่าไหร่ก็ได้ แต่พบว่ามีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายที่อยู่ไกลออกไป เช่น กระดูก ปอด ตับ หรือสมอง เป็นต้น

     มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก คือ ระยะที่ 1 และ 2 หรือในระยะที่ 3 แต่หากมีการกระจายไปยังอวัยวะอื่นนอกจากต่อมน้ำเหลือแล้ว จะเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 4

     สำหรับมะเร็งเต้านมในระยะที่ยังไม่ลุกลามที่ทางการแพทย์เรียกว่า carcinoma in situ จะเรียกมะเร็งเต้านมในระยะนี้ว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 0 โดยที่มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกหายได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยสามารถมีอัตราการอยู่รอดเกิน 5 ปี สูงถึง 70 - 90%

อาการมะเร็งเต้านม

     ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมในประเทศไทยส่วนมากจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาก้อนที่เต้านม ซึ่งอาจมีขนาดของก้อนมะเร็งใหญ่เล็กแตกต่างกัน และนอกจากก้อนที่เต้านมแล้วยังมีอาการอย่างอื่นที่ควรมาพบแพทย์

  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณหน้าอก เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติคล้ายเปลือกส้ม หรือบางส่วนเกิดเป็นสะเก็ด
  • ความเปลี่ยนแปลงของหัวนม เช่น มีการหดตัว หัวนมบอด คันหรือแดงผิดปกติ เลือดออกทางหัวนม อาการเจ็บเต้านม หรือมีก้อนที่รักแร้

     อย่างไรก็ตาม การมีก้อนที่เต้านมในผู้หญิงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป ดังนั้นหากคลำพบก้อนที่เต้านม ขอให้อย่าได้นิ่งนอนใจหรือปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ ไม่ต้องรอให้มีอาการเจ็บหรือปวด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว และรักษาตามความเหมาะสม

มะเร็งเต้านมรักษาได้

     วิธีการรักษามะเร็งเต้านมที่ได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันมีอยู่ 5 วิธี คือ

  1. การรักษาโดยการผ่าตัด
  2. การรักษาโดยการฉายแสง (รังสีรักษา)
  3. การรักษาโดยยาต้านฮอร์โมน
  4. การรักษาโดยยาเคมีบำบัด
  5. การรักษาโดยยาที่มีการออกฤทธิ์จำเพาะ

     มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ส่วนใหญ่รักษาโดยการผ่าตัดเป็นอันดับแรก และส่วนมากต้องการรักษาวิธีอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อเสริมให้ผลการรักษาดีขึ้น

     อย่างไรก็ตาม แพทย์จะใช้การรักษาใดๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะใช้การรักษาหลายๆ อย่างร่วมกัน เพื่อเป้าหมายให้หายขาดจากโรคได้ โดยแพทย์จะเลือกการรักษาแต่ละอย่างซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ที่เป็นเป็นหลัก

การรักษาโดยการผ่าตัด

     เป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ การผ่าตัดที่เต้านมและการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

1. การผ่าตัดบริเวณเต้านม แบ่งได้เป็น 3 วิธี ได้แก่

     1.1 การตัดเต้านมออกทั้งเต้า คือการผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมด (รวมผิวหนังส่วนที่อยู่เหนือก้อนมะเร็งและหัวนมด้วย)

     1.2 การตัดเต้านมออกเพียงบางส่วน คือการตัดก้อนมะเร็งและเนื้อของเต้านมปกติที่อยู่รอบ โดยตัดห่างจากขอบของก้อนมะเร็งประมาณ 1 - 2 ซม. โดยมากจะยังคงเหลือหัวนม ฐานหัวนม และส่วนใหญ่ของเนื้อเต้านม มักเลือกใช้วิธีนี้ในรายที่มะเร็งมีขนาดเล็ก มีมะเร็งเพียงตำแหน่งเดียว

2. การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ แบ่งได้เป็น 2 วิธี ได้แก่

     2.1 การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด เป็นมาตรฐานของการผ่าตัดมะเร็งเต้านมเพื่อตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งในการควบคุมโรค ทราบระยะที่แท้จริงของโรค อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดดังกล่าว อาจทำให้เกิดภาวะแขนบวมได้มากกว่า การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบางส่วน

     2.2 การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบางส่วน โดยการฉีดสีเซนติเนล เป็นวิธีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้ที่เป็นมาตรฐาน ในกรณีที่ยังไม่มะเร็งลามไปยังต่อมน้ำเหลือง

     การพิจารณาว่าจะผ่าตัดด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็งขนาดของก้อนมะเร็ง สภาพร่างกายของผู้ป่วย ความชำนาญของศัลยแพทย์บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการผ่าตัดได้มากกว่าหนึ่งวิธี ดังนั้นศัลยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำถึงการผ่าตัดแต่ละวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเอง

3. การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม

     คือการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อที่บริเวณอื่นของร่างกาย หรือใช้วัสดุที่ทำเลียนแบบเต้านม มาเพื่อเสริมหรือสร้างเต้านมใหม่ ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจในการกลับไปทำงานและใช้ชีวิตตามปกติ การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมสามารถทำได้พร้อมกับการผ่าตัดรักษามะเร็ง หรือทำหลังจากการรักษามะเร็งเต้านมเสร็จสิ้นทั้งหมดไปแล้วก็ได้ (โดยทั่วไปประมาณ 1 ปี ไปแล้วหลังการรักษาทุกอย่างจบสิ้น

     โดยที่การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมจะไม่เกิดผลเสียใดๆ ต่อการรักษามะเร็งเต้านม แต่จำเป็นต้องคัดเลือกผู้ป่วยให้เหมาะสม โดยขึ้นกับระยะของโรค ขนาด ตำแหน่งของมะเร็ง สภาพทั่วไปรวมถึงความพร้อมในการผ่าตัดและการดมยาสลบของผู้ป่วย

การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

     คือการใช้ยาที่มีคุณสมบัติในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาดังกล่าวสามารถออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกาย อย่างไรก็ตาม ยาเคมีบำบัดนี้นอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังอาจมีผลต่อเซลล์ปกติของร่างกายที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ไขกระดูก (ซึ่งจะเป็นตัวสร้างเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด) เยื่อบุทางเดินอาหาร เส้นผมและขน เซลล์รังไข่ ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับอวัยวะดังกล่าวข้างต้นได้ แต่เนื่องจากเซลล์ปกติมีคุณสมบัติที่สามารถสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ ดังนั้นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเพียงชั่วคราว เมื่อเสร็จสิ้นการรักษาแล้วทุกอย่างก็จะกลับมาใกล้เคียงปกติ

     ในปัจจุบันนิยมที่จะให้ยาเคมีบำบัดหลายๆ ชนิดร่วมกัน เพราะให้ผลการรักษาดีกว่าการให้ยาเพียงชนิดเดียว นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจะได้รับยาที่จะช่วยลดผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดลง แพทย์มักจะนัดผู้ป่วยมาให้ยาเคมีบำบัดแบบไม่ต้องนอนค้างในโรงพยาบาล กล่าวคือสามารถมาตรวจในช่วงเช้าและกลับบ้านในตอนเย็น นอกจากนี้การให้ยามักจะเว้นระยะห่างตั้งแต่ประมาณ 1 – 3 หรือ 4 สัปดาห์ตามแต่สูตรของยาที่แพทย์เลือกใช้เพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยได้รับการพักและพร้อมที่จะรับยาในครั้งต่อไป

     ยาเคมีบำบัดทุกชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้แตกต่างกัน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเหล่านี้ บางรายอาจจะไม่มีอาการเลยก็ได้ บางรายก็อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และบางรายอาจมีอาการค่อนข้างรุนแรงแตกต่างกันไปตามแต่การตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย ขนาด และชนิดของยาที่ใช้ ข้อสำคัญที่ควรระลึกไว้คือผลข้างเคียงส่วนใหญ่มักจะเป็นเฉพาะในวันที่ได้รับยาหรือหลังจากนั้นอีกเพียง 2 - 3 วัน จากนั้นอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไป แม้ไม่ได้รับการรักษาใดๆ ก็ตาม

การรักษาโดยการฉายแสง (รังสีรักษา)

     คือการใช้อนุภาครังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อไปหยุดยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง รังสีนี้จะไปทำลายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากเซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วมาก ดังนั้นจึงจะถูกทำลายมากกว่าและนอกจากนั้นเซลล์ปกติยังมีคุณสมบัติที่จะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่ถูกทำลายไปแล้วได้ จึงทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ยังคงรูปร่างและทำงานได้ตามปกติ

     ในการรักษามะเร็งเต้านม เรามักจะใช้การฉายแสงร่วมกับการผ่าตัดในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมออก นอกจากนี้อาจใช้เป็นวิธีการรักษาร่วมในผู้ป่วยบางรายที่ถึงตัดเต้านมออกหมด แต่ก็ต้องได้รับการฉายแสงร่วมด้วย เช่น ในผู้ป่วยที่ขนาดของก้อนมะเร็งมากกว่า 5 ซม. หรือกล้ามเนื้อหน้าอกซืึ่งอยู่ในชั้นลึกหรือมีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองรักแร้จำนวนมาก เป็นต้น

     โดยทั่วๆ ไปแล้ว การรักษาจะใช้เวลาประมาณ 3 - 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน ตั้งแต่จันทร์ถึงศุกร์ หยุดเสาร์และอาทิตย์ เพื่อให้ร่างกาย และผิวหนังได้มีเวลาพักผ่อนและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่ถูกทำลายไป เมื่อเริ่มรักษาแล้วก็ควรจะมารับการรักษาโดยต่อเนื่องจนครบกำหนด โดยที่การฉายแสงในแต่ละวันจะใช้เวลาเพียง 3 - 5 นาที และในระหว่างฉายแสงก็จะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด

การรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน

     เนื่องจากการเจริญเติบโตของเซลมะเร็งเต้านม ส่วนหนึ่ง (ไม่ใช่มะเร็งเต้านมทุกราย) จะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทั้งนี้ ก่อนให้ยาต้านฮอร์โมน แพทย์จะทำการตรวจก่อนว่า เซลล์มะเร็งเซลล์นั้นเเป็นชนิดที่มีตัวรับฮอร์โมนหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นผลบวกก็เป็นตัวช่วยชี้เป็นแนวทางว่าสมควรที่จะรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน และแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาต้านฮอร์โมนต่อเนื่องกันประมาณ 5 - 10 ปี  แล้วแต่ระยะของโรคที่เป็น

     ยาต้านฮอร์โมนแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มของยาที่ออกฤทธิ์โดยการยับยังการทำงานของฮอร์โมน และยากลุ่มที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสร้างฮอร์โมน

1. ยาที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนที่เรารู้จักในชื่อ tamoxifen สามารถใช้ได้ทั้งในผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอยู่หรือหมดประจำเดือนแล้ว ผลข้างเคียงของยา คือ อาจมีผลทำให้เกิดเลือดออกกระปริด กระปรอยทางช่องคลอดได้

2. ยาที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสร้างฮอร์โมน ยาในกลุ่มนี้สามารถใช้ได้เฉพาะในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว โดยผลข้างเคียงของยาที่พบบ่อย คือ อาจทำให้กระดูกบาง และมีอาการปวดตามข้อได้

     ทั้งนี้ยาต้านฮอร์โมนไม่ใช่ยาเคมีบำบัด ดังนั้นจึงไม่มีผลทำให้ผมร่วง หรือคลื่นไส้ อาเจียน หรือเม็ดเลือดขาวต่ำแต่อย่างใด

การรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะ

     ยาในกลุ่มนี้จัดเป็นยากลุ่มใหม่ เช่น ยาต้านเฮอร์ทู ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างจากยากลุ่มเดิมๆ กล่าวคือ เซลล์มะเร็งเต้านมในผู้ป่วยบางรายจะมีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูอยู่ที่ผิวเซลล์ ทำให้สามารถใช้ยาดังกล่าวเพื่อจับกับตัวรับสัญญาณเหล่านี้และให้ยาออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งดังกล่าวได้ ดังนั้นเซลล์อื่นๆ ที่ไม่มีตัวรับสัญญาณก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากยากลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาในกลุ่มนี้จะเป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีรักษาได้ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด แต่ก็มีข้อจำกัดที่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น นอกจากนี้ยายังมีราคาแพงมาก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเกี่ยวกับการใช้ยาดังกล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง