ก้มๆ เงยๆ ระวัง! หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม

   เป็นกระบวนการสึกหรอของกระดูกสันหลังส่วนคอและหมอนรองกระดูกมีหินปูนจับที่ขอบของผิวข้อ เกิดเป็นแนวกระดูกสร้างใหม่โดยรอบข้อกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการกดไขสันหลังโดยตรงหรือบางส่วนที่อยู่ด้านข้าง และอาจกดรากประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังด้วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม

  1. อายุ มักเป็นในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป และมีอาการรุนแรงมากเมื่ออายุมากขึ้น
  2. พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ยกของหนัก ใช้คอก้มหรือเงยติดต่อกันเป็นเวลานาน
  3. อุบัติเหตุและการบาดเจ็บบริเวณศีรษะและลำคอ
  4. ภาวะที่มีการสึกกร่อนและฉีกขาดของกระดูกสันหลังส่วนคอเอง พบมากที่กระดูกสันหลังส่วนคอ ระดับ 5 – 6 เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ใช้งานและเคลื่อนไหวมากที่สุด
  5. การแคบลงของช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังส่วนคอแต่ละปล้อง เนื่องจากการบางและเล็กลงของหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้นถูกจำกัด จึงเกิดการเสื่อมได้เร็ว
  6. กรรมพันธุ์ที่เกิดจากความผิดปกติของเมตาโบลิซึม

อาการของโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม

  1. ปวดร้าว หรือชาบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
  2. วิงเวียนศีรษะเมื่อต้องก้ม เงย และเอียงศีรษะ เนื่องจากเส้นเลือดแดงไปเลี้ยงกระดูกสันหลังส่วนคอและสมองถูกรบกวนหรือถูกกด
  3. อาการไขสันหลังถูกกดจะมีอาการได้ตั้งแต่อัมพาตแบบหดเกร็งบางส่วน ถึงอัมพาตทั้งหมดของอวัยวะส่วนล่าง
  4. เกิดการหดรั้งของกล้ามเนื้อจากความปวด เมื่อปวดจะอยู่นิ่งๆ ทำให้กล้ามเนื้อหดรั้งแข็งตัวในท่าที่กล้ามเนื้อหดตัวสั้นเข้า กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลงจากการที่กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งาน
  5. ข้อยึดติด ทำให้เคลื่อนไหวคอได้จำกัด

การรักษาโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม

  1. การพักเมื่อเกิดอาการปวด โดยการนอนพักให้กระดูกสันหลังส่วนคออยู่นิ่งๆ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

  2. การใช้ยา เมื่อมีอาการปวดมาก แพทย์จะให้ยาลดอาการปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดการอักเสบ

  3. การกายภาพบำบัด ซึ่งมีหลายวิธีในการเลือกรักษาขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณา

  • การใช้ความเย็นประคบบริเวณต้นคอ ในระยะที่มีอาการปวดเฉียบพลัน
  • การใช้ความร้อน เช่น การใช้ผ้าถุงร้อนประคบบริเวณต้นคอ การทำอัลตราซาวนด์
  • การใส่เครื่องพยุงคอ มี 2 ชนิด คือแบบแข็งและแบบอ่อน เพื่อช่วยประคองคอให้กล้ามเนื้อได้พัก และผ่อนคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ ใส่ประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ โดยค่อยๆ ลดชั่วโมงที่ใส่ลงเมื่ออาการดีขึ้น
  • การดึงคอ จะดึงรั้งนานประมาณ 15 - 30 นาที วันละ 1 ครั้ง

  4. การรักษาโดยการผ่าตัด เมื่อการรักษาวิธีอื่นไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด เพื่อให้กระดูกคออยู่นิ่ง ลดการกดทับประสาทไขสันหลังก้านสมอง และลดอาการปวด

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

  1. อาการปวด
  2. ตรวจพบความไม่มั่นคงของกระดูกคอ
  3. มีอาการแสดงของรากประสาทถูกกดอย่างชัดเจน และมีการสูญเสียการทำงานของประสาทไขสันหลัง ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญมากที่สุดสำหรับการผ่าตัด

ข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

   เป็นกระบวนการสึกหรอของกระดูกสันหลังส่วนคอและหมอนรองกระดูกมีหินปูนจับที่ขอบของผิวข้อ เกิดเป็นแนวกระดูกสร้างใหม่โดยรอบข้อกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการกดไขสันหลังโดยตรงหรือบางส่วนที่อยู่ด้านข้าง และอาจกดรากประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังด้วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม

  1. อายุ มักเป็นในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป และมีอาการรุนแรงมากเมื่ออายุมากขึ้น
  2. พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ยกของหนัก ใช้คอก้มหรือเงยติดต่อกันเป็นเวลานาน
  3. อุบัติเหตุและการบาดเจ็บบริเวณศีรษะและลำคอ
  4. ภาวะที่มีการสึกกร่อนและฉีกขาดของกระดูกสันหลังส่วนคอเอง พบมากที่กระดูกสันหลังส่วนคอ ระดับ 5 – 6 เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ใช้งานและเคลื่อนไหวมากที่สุด
  5. การแคบลงของช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังส่วนคอแต่ละปล้อง เนื่องจากการบางและเล็กลงของหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้นถูกจำกัด จึงเกิดการเสื่อมได้เร็ว
  6. กรรมพันธุ์ที่เกิดจากความผิดปกติของเมตาโบลิซึม

อาการของโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม

  1. ปวดร้าว หรือชาบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
  2. วิงเวียนศีรษะเมื่อต้องก้ม เงย และเอียงศีรษะ เนื่องจากเส้นเลือดแดงไปเลี้ยงกระดูกสันหลังส่วนคอและสมองถูกรบกวนหรือถูกกด
  3. อาการไขสันหลังถูกกดจะมีอาการได้ตั้งแต่อัมพาตแบบหดเกร็งบางส่วน ถึงอัมพาตทั้งหมดของอวัยวะส่วนล่าง
  4. เกิดการหดรั้งของกล้ามเนื้อจากความปวด เมื่อปวดจะอยู่นิ่งๆ ทำให้กล้ามเนื้อหดรั้งแข็งตัวในท่าที่กล้ามเนื้อหดตัวสั้นเข้า กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลงจากการที่กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งาน
  5. ข้อยึดติด ทำให้เคลื่อนไหวคอได้จำกัด

การรักษาโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม

  1. การพักเมื่อเกิดอาการปวด โดยการนอนพักให้กระดูกสันหลังส่วนคออยู่นิ่งๆ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

  2. การใช้ยา เมื่อมีอาการปวดมาก แพทย์จะให้ยาลดอาการปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดการอักเสบ

  3. การกายภาพบำบัด ซึ่งมีหลายวิธีในการเลือกรักษาขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณา

  • การใช้ความเย็นประคบบริเวณต้นคอ ในระยะที่มีอาการปวดเฉียบพลัน
  • การใช้ความร้อน เช่น การใช้ผ้าถุงร้อนประคบบริเวณต้นคอ การทำอัลตราซาวนด์
  • การใส่เครื่องพยุงคอ มี 2 ชนิด คือแบบแข็งและแบบอ่อน เพื่อช่วยประคองคอให้กล้ามเนื้อได้พัก และผ่อนคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ ใส่ประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ โดยค่อยๆ ลดชั่วโมงที่ใส่ลงเมื่ออาการดีขึ้น
  • การดึงคอ จะดึงรั้งนานประมาณ 15 - 30 นาที วันละ 1 ครั้ง

  4. การรักษาโดยการผ่าตัด เมื่อการรักษาวิธีอื่นไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด เพื่อให้กระดูกคออยู่นิ่ง ลดการกดทับประสาทไขสันหลังก้านสมอง และลดอาการปวด

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

  1. อาการปวด
  2. ตรวจพบความไม่มั่นคงของกระดูกคอ
  3. มีอาการแสดงของรากประสาทถูกกดอย่างชัดเจน และมีการสูญเสียการทำงานของประสาทไขสันหลัง ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญมากที่สุดสำหรับการผ่าตัด

ข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง