หูชั้นกลางอักเสบ หรือ หูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง
หูชั้นกลางอักเสบ หรือหูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง (chronic otitis media) คือภาวะที่มีการอักเสบของหูชั้นกลาง หรือโพรงกระดูกมาสตอยด์นานเกินกว่า 3 เดือน และมีเยื่อแก้วหูทะลุ ผู้ป่วยบางรายมีของเหลว หรือหนองไหลจากหูชั้นกลาง อาจไหลตลอดเวลา หรือเป็นๆหายๆก็ได้ เมื่อมีการติดเชื้อในหูชั้นกลางของผู้ป่วยที่มีหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง
สาเหตุส่วนใหญ่ของหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง มักเกิดจาก
- หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media) ที่ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ทำให้หนองในหูชั้นกลางดันเยื่อแก้วหูทะลุออกมา
- เยื่อแก้วหูทะลุจากการบาดเจ็บ (traumatic tympanic membrane perforation) เช่น ใช้ไม้พันสำลีปั่นช่องหู แล้วมีอุบัติเหตุกระแทก ทำให้ไม้พันสำลีนั้น กระแทกเยื่อแก้วหูจนทะลุเป็นรู และรูนั้นไม่สามารถปิดได้เอง หรือเกิดจากการผ่าตัดกรีดเยื่อแก้วหู (myringotomy) เพื่อระบายหนองออกจากหูชั้นกลาง ในผู้ป่วยที่มีหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายของเหลวหรือหนองในหูชั้นกลาง (ventilation tubes) และคาไว้ที่เยื่อแก้วหู แล้วท่อหลุดออกไป แต่รูที่เกิดจากการผ่าตัดนั้นไม่สามารถปิดได้เอง
หูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.ชนิดไม่อันตราย (safe or uncomplicated ear) รูทะลุของเยื่อแก้วหู มักจะอยู่ตรงกลาง (central perforation) โอกาสที่เยื่อบุหูชั้นนอก (stratified squamous epithelium) หรือขี้ไคล (cholesteatoma) จะเข้าไปในหูชั้นกลางและโพรงอากาศมาสตอยด์ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย หูน้ำหนวกชนิดนี้ คือ ชนิดที่ไม่มีขี้ไคลนั่นเอง
2.ชนิดอันตราย (unsafe or complicated ear) มักจะมีรูทะลุของเยื่อแก้วหู อยู่ที่ขอบแก้วหู (marginal perforation) ทำให้โอกาสที่เยื่อบุหูชั้นนอก หรือขี้ไคลจะเข้าไปในหูชั้นกลางและโพรงกระดูกมาสตอยด์ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสูง หูน้ำหนวกชนิดนี้ คือ ชนิดที่มีขี้ไคลนั่นเอง
อาการ
- หูอื้อ หรือหูตึง ซึ่งอาจเกิดจากการนำเสียงเสีย จากการทำลายกระดูกหู (ค้อน,ทั่ง,โกลน) เยื่อแก้วหูทะลุ หรือประสาทหูเสีย จากการอักเสบที่ลามเข้าไปในหูชั้นใน ทำลายเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8
- มีหนองหรือของเหลวไหลออกจากช่องหู เป็นๆหายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการเป็นหวัดหรือน้ำเข้าหู ถ้ามีขี้ไคลร่วมด้วย หนองที่ไหลออกมามักจะมีกลิ่นเหม็นรุนแรงมาก หรือหนองยังคงไหลออกมาเรื่อย ๆ แม้ให้ยารักษาเต็มที่แล้ว
- อาจมีอาการเนื่องจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น เวียนศีรษะ, ฝีหลังหู, อัมพาตของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7, ปวดศีรษะ และซึมลง จากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง
- ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการปวดหรือมีไข้ นอกจากมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น หรือมีการอักเสบเฉียบพลันเกิดขึ้นใหม่
อาการแสดง
- ตรวจพบว่าเยื่อแก้วหูมีรูทะลุขนาดต่าง ๆ ถ้ามีขี้ไคลร่วมด้วยจะเห็นเป็นสารสีขาวคล้ายไข่มุก (white keratin debris) และอาจพบเนื้อเยื่อสีแดงที่เกิดจากการอักเสบ (polyp หรือ granulation tissue) ร่วมด้วย ซึ่งแสดงถึงการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหูชั้นกลาง
- อาจพบของเหลว ซึ่งอาจเป็นน้ำใสๆ, มูก หรือหนองในหูชั้นกลาง
- บนเยื่อแก้วหู อาจเห็นแผ่นแคลเซียมขาวๆ ซึ่งเรียกว่า myringosclerosis
- อาจพบถุงที่มีขี้ไคลบริเวณเยื่อแก้วหูด้านบน (attic region)
- เยื่อบุของหูชั้นกลาง (ซึ่งมองเห็นได้จากรูทะลุ) อาจบวม แดง หรือบวมเป็นก้อน
การรักษา
สำหรับผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรังที่ไม่มีขี้ไคล มีจุดมุ่งหมายในการรักษา คือ
1.เพื่อกำจัดการติดเชื้อภายในหูชั้นกลาง (ถ้ามี)
2.ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อภายในหูชั้นกลางอีก
3.รักษาการได้ยินให้อยู่ในสภาพดี
สำหรับผู้ป่วยโรคหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง ที่มีขี้ไคล นอกจากจุดหมายในการรักษาดังกล่าว 3 ข้อแล้ว ควรทำให้ขี้ไคลมีทางออก เพื่อป้องกันไม่ให้ขี้ไคล มีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนไปทำลายอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ
1.การรักษาทางยา โดยอาจให้ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานและชนิดหยอดหู ในผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรังที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และให้ยาต้านจุลชีพชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด ในผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง ที่มีภาวะแทรกซ้อน และทำความสะอาดหู โดยนำหนอง. ของเหลว และเนื้อตายในหูชั้นกลางออกให้หมด (aural toilet) อาจใช้สำลีพันปลายเครื่องมือ หรือไม้เช็ดออก หรือใช้เครื่องดูดออก เพื่อให้ยาหยอดหูสามารถผ่านเข้าไปออกฤทธิ์ต่อเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบได้ การทำความสะอาดดังกล่าว ยิ่งทำบ่อย ยิ่งดี เช่น ควรทำ 2-3 ครั้ง/วัน โดยเฉพาะถ้าทำก่อนหยอดยาหยอดหูได้ยิ่งดี
ยาต้านจุลชีพชนิดหยอด ควรครอบคลุมเชื้อแกรมลบ (gram-negative organisms) เช่น Pseudomonas และแกรมบวก (gram-positive organisms) เช่น S. aureus ซึ่งได้แก่ aminoglycoside และ fluoroquinolones หรืออาจใช้ polymyxin B + neomycin หรืออาจใช้ยาต้านจุลชีพดังกล่าวผสมกับสเตียรอยด์เช่น dexamethasone ซึ่งยาหยอดหูที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบ มักจะช่วยลดขนาดของเนื้อเยื่อสีแดง ที่เกิดจากการอักเสบ (granulation tissue) ได้ดี ผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยิน อาจแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟัง (hearing aids) ผู้ป่วยที่ไม่มีขี้ไคล เก็บกักไว้ในส่วนของแก้วหูที่เป็นแอ่ง (retraction packet) และแพทย์สามารถมองเห็นส่วนในสุดของแอ่งนั้นได้ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด
2.การรักษาโดยวิธีการผ่าตัด
สำหรับผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรังที่ไม่มีขี้ไคล: อาจทำการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู (myringoplasty) โดยใช้ยาชาเฉพาะที่หรือยาสลบก็ได้ โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในหูชั้นกลางซ้ำ ๆ
สำหรับผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรังที่มีขี้ไคล: ผู้ป่วยมีขี้ไคลเก็บกักไว้ในส่วนของแก้วหูที่เป็นแอ่ง และแพทย์ไม่สามารถมองเห็นและทำความสะอาด เอาขี้ไคล โดยเฉพาะส่วนในสุดของแอ่งได้ ควรทำการผ่าตัด หลักการคือเอาขี้ไคลออกมาให้หมด โดยทำการผ่าตัดหูชั้นกลาง และโพรงอากาศมาสตอยด์ (tympanomastoid surgery) และเปิดช่องให้ ขี้ไคล ที่อยู่ภายใน มีทางออกสู่ภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ขี้ไคล มีการขยายขนาดจนไปทำลายอวัยวะที่สำคัญต่างๆ และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ข้อมูลจาก : รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D
หูชั้นกลางอักเสบ หรือหูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง (chronic otitis media) คือภาวะที่มีการอักเสบของหูชั้นกลาง หรือโพรงกระดูกมาสตอยด์นานเกินกว่า 3 เดือน และมีเยื่อแก้วหูทะลุ ผู้ป่วยบางรายมีของเหลว หรือหนองไหลจากหูชั้นกลาง อาจไหลตลอดเวลา หรือเป็นๆหายๆก็ได้ เมื่อมีการติดเชื้อในหูชั้นกลางของผู้ป่วยที่มีหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง
สาเหตุส่วนใหญ่ของหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง มักเกิดจาก
- หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media) ที่ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ทำให้หนองในหูชั้นกลางดันเยื่อแก้วหูทะลุออกมา
- เยื่อแก้วหูทะลุจากการบาดเจ็บ (traumatic tympanic membrane perforation) เช่น ใช้ไม้พันสำลีปั่นช่องหู แล้วมีอุบัติเหตุกระแทก ทำให้ไม้พันสำลีนั้น กระแทกเยื่อแก้วหูจนทะลุเป็นรู และรูนั้นไม่สามารถปิดได้เอง หรือเกิดจากการผ่าตัดกรีดเยื่อแก้วหู (myringotomy) เพื่อระบายหนองออกจากหูชั้นกลาง ในผู้ป่วยที่มีหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายของเหลวหรือหนองในหูชั้นกลาง (ventilation tubes) และคาไว้ที่เยื่อแก้วหู แล้วท่อหลุดออกไป แต่รูที่เกิดจากการผ่าตัดนั้นไม่สามารถปิดได้เอง
หูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.ชนิดไม่อันตราย (safe or uncomplicated ear) รูทะลุของเยื่อแก้วหู มักจะอยู่ตรงกลาง (central perforation) โอกาสที่เยื่อบุหูชั้นนอก (stratified squamous epithelium) หรือขี้ไคล (cholesteatoma) จะเข้าไปในหูชั้นกลางและโพรงอากาศมาสตอยด์ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย หูน้ำหนวกชนิดนี้ คือ ชนิดที่ไม่มีขี้ไคลนั่นเอง
2.ชนิดอันตราย (unsafe or complicated ear) มักจะมีรูทะลุของเยื่อแก้วหู อยู่ที่ขอบแก้วหู (marginal perforation) ทำให้โอกาสที่เยื่อบุหูชั้นนอก หรือขี้ไคลจะเข้าไปในหูชั้นกลางและโพรงกระดูกมาสตอยด์ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสูง หูน้ำหนวกชนิดนี้ คือ ชนิดที่มีขี้ไคลนั่นเอง
อาการ
- หูอื้อ หรือหูตึง ซึ่งอาจเกิดจากการนำเสียงเสีย จากการทำลายกระดูกหู (ค้อน,ทั่ง,โกลน) เยื่อแก้วหูทะลุ หรือประสาทหูเสีย จากการอักเสบที่ลามเข้าไปในหูชั้นใน ทำลายเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8
- มีหนองหรือของเหลวไหลออกจากช่องหู เป็นๆหายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการเป็นหวัดหรือน้ำเข้าหู ถ้ามีขี้ไคลร่วมด้วย หนองที่ไหลออกมามักจะมีกลิ่นเหม็นรุนแรงมาก หรือหนองยังคงไหลออกมาเรื่อย ๆ แม้ให้ยารักษาเต็มที่แล้ว
- อาจมีอาการเนื่องจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น เวียนศีรษะ, ฝีหลังหู, อัมพาตของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7, ปวดศีรษะ และซึมลง จากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง
- ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการปวดหรือมีไข้ นอกจากมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น หรือมีการอักเสบเฉียบพลันเกิดขึ้นใหม่
อาการแสดง
- ตรวจพบว่าเยื่อแก้วหูมีรูทะลุขนาดต่าง ๆ ถ้ามีขี้ไคลร่วมด้วยจะเห็นเป็นสารสีขาวคล้ายไข่มุก (white keratin debris) และอาจพบเนื้อเยื่อสีแดงที่เกิดจากการอักเสบ (polyp หรือ granulation tissue) ร่วมด้วย ซึ่งแสดงถึงการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหูชั้นกลาง
- อาจพบของเหลว ซึ่งอาจเป็นน้ำใสๆ, มูก หรือหนองในหูชั้นกลาง
- บนเยื่อแก้วหู อาจเห็นแผ่นแคลเซียมขาวๆ ซึ่งเรียกว่า myringosclerosis
- อาจพบถุงที่มีขี้ไคลบริเวณเยื่อแก้วหูด้านบน (attic region)
- เยื่อบุของหูชั้นกลาง (ซึ่งมองเห็นได้จากรูทะลุ) อาจบวม แดง หรือบวมเป็นก้อน
การรักษา
สำหรับผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรังที่ไม่มีขี้ไคล มีจุดมุ่งหมายในการรักษา คือ
1.เพื่อกำจัดการติดเชื้อภายในหูชั้นกลาง (ถ้ามี)
2.ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อภายในหูชั้นกลางอีก
3.รักษาการได้ยินให้อยู่ในสภาพดี
สำหรับผู้ป่วยโรคหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง ที่มีขี้ไคล นอกจากจุดหมายในการรักษาดังกล่าว 3 ข้อแล้ว ควรทำให้ขี้ไคลมีทางออก เพื่อป้องกันไม่ให้ขี้ไคล มีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนไปทำลายอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ
1.การรักษาทางยา โดยอาจให้ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานและชนิดหยอดหู ในผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรังที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และให้ยาต้านจุลชีพชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด ในผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรัง ที่มีภาวะแทรกซ้อน และทำความสะอาดหู โดยนำหนอง. ของเหลว และเนื้อตายในหูชั้นกลางออกให้หมด (aural toilet) อาจใช้สำลีพันปลายเครื่องมือ หรือไม้เช็ดออก หรือใช้เครื่องดูดออก เพื่อให้ยาหยอดหูสามารถผ่านเข้าไปออกฤทธิ์ต่อเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบได้ การทำความสะอาดดังกล่าว ยิ่งทำบ่อย ยิ่งดี เช่น ควรทำ 2-3 ครั้ง/วัน โดยเฉพาะถ้าทำก่อนหยอดยาหยอดหูได้ยิ่งดี
ยาต้านจุลชีพชนิดหยอด ควรครอบคลุมเชื้อแกรมลบ (gram-negative organisms) เช่น Pseudomonas และแกรมบวก (gram-positive organisms) เช่น S. aureus ซึ่งได้แก่ aminoglycoside และ fluoroquinolones หรืออาจใช้ polymyxin B + neomycin หรืออาจใช้ยาต้านจุลชีพดังกล่าวผสมกับสเตียรอยด์เช่น dexamethasone ซึ่งยาหยอดหูที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบ มักจะช่วยลดขนาดของเนื้อเยื่อสีแดง ที่เกิดจากการอักเสบ (granulation tissue) ได้ดี ผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยิน อาจแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟัง (hearing aids) ผู้ป่วยที่ไม่มีขี้ไคล เก็บกักไว้ในส่วนของแก้วหูที่เป็นแอ่ง (retraction packet) และแพทย์สามารถมองเห็นส่วนในสุดของแอ่งนั้นได้ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด
2.การรักษาโดยวิธีการผ่าตัด
สำหรับผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรังที่ไม่มีขี้ไคล: อาจทำการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู (myringoplasty) โดยใช้ยาชาเฉพาะที่หรือยาสลบก็ได้ โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในหูชั้นกลางซ้ำ ๆ
สำหรับผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบชนิดเรื้อรังที่มีขี้ไคล: ผู้ป่วยมีขี้ไคลเก็บกักไว้ในส่วนของแก้วหูที่เป็นแอ่ง และแพทย์ไม่สามารถมองเห็นและทำความสะอาด เอาขี้ไคล โดยเฉพาะส่วนในสุดของแอ่งได้ ควรทำการผ่าตัด หลักการคือเอาขี้ไคลออกมาให้หมด โดยทำการผ่าตัดหูชั้นกลาง และโพรงอากาศมาสตอยด์ (tympanomastoid surgery) และเปิดช่องให้ ขี้ไคล ที่อยู่ภายใน มีทางออกสู่ภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ขี้ไคล มีการขยายขนาดจนไปทำลายอวัยวะที่สำคัญต่างๆ และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ข้อมูลจาก : รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D