ส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ได้แก่ อายุที่มากขึ้น รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาหารแช่แข็ง หรืออาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก กุนเชียง
ปัจจุบันมะเร็งระบบทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่สามารถป้องกันได้ โดยการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่ การตรวจรักษาระบบทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่ก็เหมือนการตรวจสุขภาพ เป็นการไปตรวจเช็กสุขภาพของทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่ของเรา ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก สามารถทำได้อย่างปลอดภัยและผู้ป่วยก็ได้ประโยชน์อย่างมาก
อาการผิดปกติที่ควรได้รับการส่องกล้อง
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
- ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจมีสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
- เวลาถ่ายเบ่งอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก
- มีอาการแน่น อึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย
- มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางทวารหนักเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องเข้ารับการตรวจ
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง เพราะปัจจัยที่มีผลต่อการส่องกล้องและวินิจฉัยคือระดับความสะอาดของการเตรียมลำไส้ใหญ่ เพราะหากเตรียมลำไส้ได้ไม่ดี อาจทำให้แพทย์เห็นภาพไม่ชัดเจนและมองไม่เห็นติ่งเนื้อหรือแผลต่างๆ ภายในลำไส้ได้ หรืออาจจะต้องงดการตรวจในวันนั้น
เตรียมตัวก่อนการตรวจ/รักษา
ก่อนการตรวจวันที 1
- งดทานผักและผลไม้ทุกชนิด
- รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรืออาหารที่ไม่มีกาก เช่น ข้าวต้ม โจ๊กไม่ใส่เนื้อสัตว์และผัก ขนมปัง ไข่ เต้าหู้
- ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาระบายเพิ่มก่อนนอน
ก่อนการตรวจวันที่ 2
- งดทานผักและผลไม้ทุกชนิด
- รับประทานอาหารเหลว เช่น น้ำเต้าหู้ไม่ใส่เครื่อง นมสด น้ำซุป โอวัลติน น้ำหวาน
- ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาระบายเพิ่มก่อนนอน
*ในกรณีที่ดื่มยาลำบาก อาจพิจารณาผสมยาในน้ำผลไม้ที่ไม่มีเนื้อหรือกากใย หรือน้ำอัดลม 1 แก้ว ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โรคไต หรือตั้งครรภ์ กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบ
ข้อปฏิบัติหลังทานยาระบาย
- หลังการดื่มยาระบายจะทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อย ควรดื่มน้ำ 1 แก้วทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ
- งดดื่มชา กาแฟ เพราะทำให้ปัสสาวะมาก
- ไม่ควรดื่มนมและรับประทานอาหาร หลังดื่มยาระบาย
- งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มก่อนการตรวจ 6 – 8 ชม.
- ถ้าทำการเตรียมลำไส้ได้ดี ลักษณะอุจจาระจะเหลวและค่อนข้างเป็นน้ำใส
การปฏิบัติตัวภายหลังการส่องกล้อง
- สังเกตอุจจาระ อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย แต่หากมีเลือดออกมากผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
- ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ ห้ามขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือทำงานที่ต้องตัดสินใจอย่างน้อย 24 ชม. หลังเข้ารับการตรวจ
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องมาก ท้องอืดร่วมกับมีอาการท้องแข็งตึง กดแล้วเจ็บ มีไข้สูง ควรรีบไปพบแพทย์
- ควรมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา
การเตรียมตัวข้างต้นนี้ใช้กับผู้ป่วยทั่วๆ ไปเท่านั้น หากท่านมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ มีลิ้นหัวใจเทียม มีภาวะเลือดออกผิดปกติ กำลังได้รับยาแอสไพรินหรือยาละลายลิ่มเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนการตรวจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A
ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ได้แก่ อายุที่มากขึ้น รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาหารแช่แข็ง หรืออาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก กุนเชียง
ปัจจุบันมะเร็งระบบทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่สามารถป้องกันได้ โดยการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่ การตรวจรักษาระบบทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่ก็เหมือนการตรวจสุขภาพ เป็นการไปตรวจเช็กสุขภาพของทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่ของเรา ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก สามารถทำได้อย่างปลอดภัยและผู้ป่วยก็ได้ประโยชน์อย่างมาก
อาการผิดปกติที่ควรได้รับการส่องกล้อง
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
- ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจมีสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
- เวลาถ่ายเบ่งอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก
- มีอาการแน่น อึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย
- มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางทวารหนักเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องเข้ารับการตรวจ
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง เพราะปัจจัยที่มีผลต่อการส่องกล้องและวินิจฉัยคือระดับความสะอาดของการเตรียมลำไส้ใหญ่ เพราะหากเตรียมลำไส้ได้ไม่ดี อาจทำให้แพทย์เห็นภาพไม่ชัดเจนและมองไม่เห็นติ่งเนื้อหรือแผลต่างๆ ภายในลำไส้ได้ หรืออาจจะต้องงดการตรวจในวันนั้น
เตรียมตัวก่อนการตรวจ/รักษา
ก่อนการตรวจวันที 1
- งดทานผักและผลไม้ทุกชนิด
- รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรืออาหารที่ไม่มีกาก เช่น ข้าวต้ม โจ๊กไม่ใส่เนื้อสัตว์และผัก ขนมปัง ไข่ เต้าหู้
- ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาระบายเพิ่มก่อนนอน
ก่อนการตรวจวันที่ 2
- งดทานผักและผลไม้ทุกชนิด
- รับประทานอาหารเหลว เช่น น้ำเต้าหู้ไม่ใส่เครื่อง นมสด น้ำซุป โอวัลติน น้ำหวาน
- ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาระบายเพิ่มก่อนนอน
*ในกรณีที่ดื่มยาลำบาก อาจพิจารณาผสมยาในน้ำผลไม้ที่ไม่มีเนื้อหรือกากใย หรือน้ำอัดลม 1 แก้ว ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โรคไต หรือตั้งครรภ์ กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบ
ข้อปฏิบัติหลังทานยาระบาย
- หลังการดื่มยาระบายจะทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อย ควรดื่มน้ำ 1 แก้วทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ
- งดดื่มชา กาแฟ เพราะทำให้ปัสสาวะมาก
- ไม่ควรดื่มนมและรับประทานอาหาร หลังดื่มยาระบาย
- งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มก่อนการตรวจ 6 – 8 ชม.
- ถ้าทำการเตรียมลำไส้ได้ดี ลักษณะอุจจาระจะเหลวและค่อนข้างเป็นน้ำใส
การปฏิบัติตัวภายหลังการส่องกล้อง
- สังเกตอุจจาระ อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย แต่หากมีเลือดออกมากผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
- ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ ห้ามขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือทำงานที่ต้องตัดสินใจอย่างน้อย 24 ชม. หลังเข้ารับการตรวจ
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องมาก ท้องอืดร่วมกับมีอาการท้องแข็งตึง กดแล้วเจ็บ มีไข้สูง ควรรีบไปพบแพทย์
- ควรมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา
การเตรียมตัวข้างต้นนี้ใช้กับผู้ป่วยทั่วๆ ไปเท่านั้น หากท่านมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ มีลิ้นหัวใจเทียม มีภาวะเลือดออกผิดปกติ กำลังได้รับยาแอสไพรินหรือยาละลายลิ่มเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนการตรวจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A