
ใช้ข้อมือหนัก ระวังเอ็นข้อมืออักเสบ
อาการ
มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ โดยอาจปวดตึงไปตามแขน และอาการจะเป็นมากขึ้นขณะการใช้งาน เช่น การกำมือ จับ ยกของ หรือบิดข้อมือ
สาเหตุ
เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ ทำให้มีอาการปวดเวลาที่มีการเคลื่อนไหว เช่น กวาดพื้น ทำสวน ยกของหนัก ซักผ้า งานช่าง การอุ้มเด็ก รวมถึงเกิดร่วมกับโรคบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น
การวินิจฉัย
หากพบว่าเกิดอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจมือและวินิจฉัย โดยการวินิจฉัยนั้นไม่จำเป็นต้องทำการตรวจด้วยการเอกซเรย์ หรือการตรวจในห้องปฏิบัติการใดๆ
การปฏิบัติตนสำหรับผู้เป็นพังผืดกดทับเส้นเอ็นที่ข้อมือ
- จัดท่าการยกของใช้การหงายมือ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอ หรือบิดข้อมือ และทำการบริหารเส้นเอ็น
- ใส่เครื่องพยุงข้อมือ
การรักษา
- หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือข้างที่ปวด
- การใส่อุปกรณ์ดามนิ้วเวลานอน (night splint) รวมถึงรับประทานยาลดการอักเสบ (NSAIDs) เพื่อลดอาการบวมและบรรเทาอาการปวดได้
- การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณข้อมือ (โดยทั่วไปฉีดไม่เกิน 2 ครั้ง)
- การผ่าตัดขยายพังผืดตามความเหมาะสม
หมายเหตุ : ทางเลือกการรักษาต่างๆ จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาการแสดงของผู้ป่วยแต่ละคน
การผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเอ็น
- การผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเอ็นจะฉีดยาชาเฉพาะที่ และมีการรัดห้ามเลือดบริเวณแขน ใช้เวลาในการผ่าตัด 20 นาที หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที
การดูแลแผลหลังผ่าตัด
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- หลีกเลี่ยงไม่ไห้แผลโดนน้ำหรือเหงื่อ
- สามารถใช้งานมือที่ผ่าตัดเบาๆ ได้ เช่น เขียนหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์
- หากแผลมีลักษณะผิดปกติ เช่น ผ้าพันแผลหลุด มีเลือดซึม สกปรก หรือมีกลิ่นเหม็น รีบกลับมาพบแพทย์ทันที
- ควรมาพบแพทย์ตามวันนัดหมาย
ข้อมูลจาก : ผศ.นพ. ต่อพล วัฒนา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A
อาการ
มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ โดยอาจปวดตึงไปตามแขน และอาการจะเป็นมากขึ้นขณะการใช้งาน เช่น การกำมือ จับ ยกของ หรือบิดข้อมือ
สาเหตุ
เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ ทำให้มีอาการปวดเวลาที่มีการเคลื่อนไหว เช่น กวาดพื้น ทำสวน ยกของหนัก ซักผ้า งานช่าง การอุ้มเด็ก รวมถึงเกิดร่วมกับโรคบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น
การวินิจฉัย
หากพบว่าเกิดอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจมือและวินิจฉัย โดยการวินิจฉัยนั้นไม่จำเป็นต้องทำการตรวจด้วยการเอกซเรย์ หรือการตรวจในห้องปฏิบัติการใดๆ
การปฏิบัติตนสำหรับผู้เป็นพังผืดกดทับเส้นเอ็นที่ข้อมือ
- จัดท่าการยกของใช้การหงายมือ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอ หรือบิดข้อมือ และทำการบริหารเส้นเอ็น
- ใส่เครื่องพยุงข้อมือ
การรักษา
- หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือข้างที่ปวด
- การใส่อุปกรณ์ดามนิ้วเวลานอน (night splint) รวมถึงรับประทานยาลดการอักเสบ (NSAIDs) เพื่อลดอาการบวมและบรรเทาอาการปวดได้
- การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณข้อมือ (โดยทั่วไปฉีดไม่เกิน 2 ครั้ง)
- การผ่าตัดขยายพังผืดตามความเหมาะสม
หมายเหตุ : ทางเลือกการรักษาต่างๆ จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาการแสดงของผู้ป่วยแต่ละคน
การผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเอ็น
- การผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเอ็นจะฉีดยาชาเฉพาะที่ และมีการรัดห้ามเลือดบริเวณแขน ใช้เวลาในการผ่าตัด 20 นาที หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที
การดูแลแผลหลังผ่าตัด
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- หลีกเลี่ยงไม่ไห้แผลโดนน้ำหรือเหงื่อ
- สามารถใช้งานมือที่ผ่าตัดเบาๆ ได้ เช่น เขียนหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์
- หากแผลมีลักษณะผิดปกติ เช่น ผ้าพันแผลหลุด มีเลือดซึม สกปรก หรือมีกลิ่นเหม็น รีบกลับมาพบแพทย์ทันที
- ควรมาพบแพทย์ตามวันนัดหมาย
ข้อมูลจาก : ผศ.นพ. ต่อพล วัฒนา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A