โรคผิวหนัง ในหน้าร้อน ป้องกันได้

เมื่อผิวต้องเผชิญกับแสงแดดจ้ามากๆ ในช่วงหน้าร้อน จึงอาจส่งผลให้เกิดผิวไหม้ หมองคล้ำ และอากาศที่ร้อนอบอ้าวยังเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคผิวหนังชนิดต่างๆ ได้ 

“เหงื่อ” เป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดโรคผิวหนังในช่วงหน้าร้อน รวมถึงทำให้เกิดกลิ่นกายก่อความรำคาญและทำให้รู้สึกหงุดหงิด ขาดความมั่นใจ

 โรคผิวหนังในหน้าร้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่

1. ผดร้อน 

   จะพบได้บ่อยในเด็กเล็กๆ ผู้สูงอายุ คนที่เจ้าเนื้อ หรือคนที่ต้องใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นมากๆ โดยผดร้อนเกิดจากการอุดตันของการหลั่งเหงื่อ จะเกิดเป็นผื่นตุ่มเล็กๆ มีสีแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใสเม็ดเล็กๆ ที่บริเวณหน้าอก คอ และหลัง

2. โรคเชื้อราที่ผิวหนัง 

   มักเกิดในร่มผ้า รักแร้ ซอกพับบริเวณที่มีการอับชื้น บริเวณง่ามนิ้วเท้า หรือฝ่าเท้าในคนที่ต้องใส่รองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าบูทเป็นประจำ โดยเชื้อราที่พบได้บ่อยคือ กลาก เกลื้อน และยีสต์ในกลุ่มแคนดิดา

3. ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง  

   ได้แก่ โรครูขุมขนอักเสบ ฝีที่ผิวหนังโดยเกิดขึ้นตามซอกพับ ขาหนีบ หรือก้น ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เสื้อผ้าที่รัดแน่น อากาศที่ถ่ายเทไม่สะดวก และเหงื่อที่เพิ่มขึ้น

#ศูนย์ผิวหนัง #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #โรคผิวหนัง #เหงื่อ #ผดร้อน #ผื่น #กลาก #เกลื้อน #รูขุมขนอักเสบ #ฝี #โรคผิวหนังอักเสบ #ผื่นคัน #ภูมิแพ้ผิวหนัง #ผิวหนังอักเสบ #ฝ้า #มะเร็งผิวหนัง #ครีมกันแดด #Dermatitis

4. กลิ่นตัว 

   เกิดจากแบคทีเรียที่ผิวหนังทำปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงสารบางอย่างในเหงื่อของคนเรา ทำให้เกิดกลิ่นตัว เมื่ออากาศร้อนจะส่งผลให้เหงื่อออกมากขึ้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนัง และมีกลิ่นตัวเพิ่มมากขึ้นด้วย สร้างความรำคาญใจต่อตนเองและคนรอบข้าง สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นตัวควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น เครื่องเทศ กระเทียม หรือชีส ซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้มีกลิ่นตัวมากขึ้น การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการลดเหงื่อ ไม่ว่าจะเป็นสเปรย์ โรลออน ซึ่งมีสารอลูมิเนียมคลอไรด์จะช่วยลดการหลั่งเหงื่อทำให้กลิ่นตัวลดลงได้

5. โรคผิวหนังอักเสบหรือผื่นคัน 

   ในคนที่ผิวแพ้ง่ายหรือเป็นภูมิแพ้ผิวหนังอยู่เดิม ในหน้าร้อน เหงื่อที่เพิ่มมากขึ้นอาจกระตุ้นให้ผื่นผิวหนังอักเสบกำเริบขึ้นได้ และในผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอี อาการผื่นผิวหนังรวมทั้งอาการในระบบอื่นๆ จะกำเริบได้เมื่อโดนแสงแดดกระตุ้น ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอีจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง

6. ฝ้า กระแดด  

   อัลตราไวโอเลตในแสงแดดจะกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น เกิดฝ้า กระแดด และผิวคล้ำขึ้นได้ในช่วงหน้าร้อน หากใครที่เป็นฝ้าอยู่แล้วอาจเป็นมากขึ้น  โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นประจำก็จะเริ่มมีฝ้าและกระแดดเกิดขึ้นที่ใบหน้าได้ง่ายในช่วงหน้าร้อน

   นอกจากนี้การโดนแดดสะสมเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการป้องกัน จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคผิวหนัง และมะเร็งผิวหนัง ซึ่งจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีอายุประมาณ 40-50 ปีขึ้นไป หากเรารู้จักป้องกันและดูแลผิวพรรณ ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้อนหรือหน้าหนาว ใช้ครีมกันแดดสม่ำเสมอก็จะลดปัจจัยที่จะนำไปสู่มะเร็งผิวหนังได้

   สิ่งสำคัญในหน้าร้อน คือ  ควรหลีกเลี่ยงการตากแดดเป็นระยะเวลานาน หรือหากมีความจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ควรใช้ครีมกันแดดทาบริเวณใบหน้า ลำคอ และผิวบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม นอกจากนี้ การแต่งกายก็สามารถช่วยป้องกันแสงแดดได้ โดยการใส่เสื้อแขนยาว ใส่หมวกที่มีปีกกว้าง ใส่แว่นตากันแดด หรือเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งบางเพื่อช่วยระบายเหงื่อและความร้อนได้ดีขึ้น รวมทั้งควรอาบน้ำบ่อยขึ้นในช่วงหน้าร้อน 

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.พญ.เพ็ญวดี  พัฒนปรีชากุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ผิวหนัง 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

เมื่อผิวต้องเผชิญกับแสงแดดจ้ามากๆ ในช่วงหน้าร้อน จึงอาจส่งผลให้เกิดผิวไหม้ หมองคล้ำ และอากาศที่ร้อนอบอ้าวยังเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคผิวหนังชนิดต่างๆ ได้ 

“เหงื่อ” เป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดโรคผิวหนังในช่วงหน้าร้อน รวมถึงทำให้เกิดกลิ่นกายก่อความรำคาญและทำให้รู้สึกหงุดหงิด ขาดความมั่นใจ

 โรคผิวหนังในหน้าร้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่

1. ผดร้อน 

   จะพบได้บ่อยในเด็กเล็กๆ ผู้สูงอายุ คนที่เจ้าเนื้อ หรือคนที่ต้องใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นมากๆ โดยผดร้อนเกิดจากการอุดตันของการหลั่งเหงื่อ จะเกิดเป็นผื่นตุ่มเล็กๆ มีสีแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใสเม็ดเล็กๆ ที่บริเวณหน้าอก คอ และหลัง

2. โรคเชื้อราที่ผิวหนัง 

   มักเกิดในร่มผ้า รักแร้ ซอกพับบริเวณที่มีการอับชื้น บริเวณง่ามนิ้วเท้า หรือฝ่าเท้าในคนที่ต้องใส่รองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าบูทเป็นประจำ โดยเชื้อราที่พบได้บ่อยคือ กลาก เกลื้อน และยีสต์ในกลุ่มแคนดิดา

3. ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง  

   ได้แก่ โรครูขุมขนอักเสบ ฝีที่ผิวหนังโดยเกิดขึ้นตามซอกพับ ขาหนีบ หรือก้น ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เสื้อผ้าที่รัดแน่น อากาศที่ถ่ายเทไม่สะดวก และเหงื่อที่เพิ่มขึ้น

#ศูนย์ผิวหนัง #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #โรคผิวหนัง #เหงื่อ #ผดร้อน #ผื่น #กลาก #เกลื้อน #รูขุมขนอักเสบ #ฝี #โรคผิวหนังอักเสบ #ผื่นคัน #ภูมิแพ้ผิวหนัง #ผิวหนังอักเสบ #ฝ้า #มะเร็งผิวหนัง #ครีมกันแดด #Dermatitis

4. กลิ่นตัว 

   เกิดจากแบคทีเรียที่ผิวหนังทำปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงสารบางอย่างในเหงื่อของคนเรา ทำให้เกิดกลิ่นตัว เมื่ออากาศร้อนจะส่งผลให้เหงื่อออกมากขึ้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนัง และมีกลิ่นตัวเพิ่มมากขึ้นด้วย สร้างความรำคาญใจต่อตนเองและคนรอบข้าง สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นตัวควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น เครื่องเทศ กระเทียม หรือชีส ซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้มีกลิ่นตัวมากขึ้น การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการลดเหงื่อ ไม่ว่าจะเป็นสเปรย์ โรลออน ซึ่งมีสารอลูมิเนียมคลอไรด์จะช่วยลดการหลั่งเหงื่อทำให้กลิ่นตัวลดลงได้

5. โรคผิวหนังอักเสบหรือผื่นคัน 

   ในคนที่ผิวแพ้ง่ายหรือเป็นภูมิแพ้ผิวหนังอยู่เดิม ในหน้าร้อน เหงื่อที่เพิ่มมากขึ้นอาจกระตุ้นให้ผื่นผิวหนังอักเสบกำเริบขึ้นได้ และในผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอี อาการผื่นผิวหนังรวมทั้งอาการในระบบอื่นๆ จะกำเริบได้เมื่อโดนแสงแดดกระตุ้น ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอีจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง

6. ฝ้า กระแดด  

   อัลตราไวโอเลตในแสงแดดจะกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น เกิดฝ้า กระแดด และผิวคล้ำขึ้นได้ในช่วงหน้าร้อน หากใครที่เป็นฝ้าอยู่แล้วอาจเป็นมากขึ้น  โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นประจำก็จะเริ่มมีฝ้าและกระแดดเกิดขึ้นที่ใบหน้าได้ง่ายในช่วงหน้าร้อน

   นอกจากนี้การโดนแดดสะสมเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการป้องกัน จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคผิวหนัง และมะเร็งผิวหนัง ซึ่งจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีอายุประมาณ 40-50 ปีขึ้นไป หากเรารู้จักป้องกันและดูแลผิวพรรณ ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้อนหรือหน้าหนาว ใช้ครีมกันแดดสม่ำเสมอก็จะลดปัจจัยที่จะนำไปสู่มะเร็งผิวหนังได้

   สิ่งสำคัญในหน้าร้อน คือ  ควรหลีกเลี่ยงการตากแดดเป็นระยะเวลานาน หรือหากมีความจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ควรใช้ครีมกันแดดทาบริเวณใบหน้า ลำคอ และผิวบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม นอกจากนี้ การแต่งกายก็สามารถช่วยป้องกันแสงแดดได้ โดยการใส่เสื้อแขนยาว ใส่หมวกที่มีปีกกว้าง ใส่แว่นตากันแดด หรือเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งบางเพื่อช่วยระบายเหงื่อและความร้อนได้ดีขึ้น รวมทั้งควรอาบน้ำบ่อยขึ้นในช่วงหน้าร้อน 

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.พญ.เพ็ญวดี  พัฒนปรีชากุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ผิวหนัง 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง