กินยาพร้อมนมได้จริงหรือ?

หลาย ๆ คนคงเคยสงสัยว่า กินยาพร้อมนม ทำได้หรือไม่? บางคนเชื่อว่าสามารถทำได้ แต่ความจริงแล้วนมสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาได้ด้วยเช่นกัน

นมที่คนไทยนิยมบริโภคมักเป็นนมวัว แต่ยังมีนมชนิดอื่น ๆ ที่เริ่มวางจำหน่ายในตลาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง นมปราศจากน้ำตาลแลคโตส เป็นต้น หรือผลิตภัณฑ์อื่นจากนมอย่างโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว ก็อาจสงสัยด้วยเช่นกันว่า การกินนมชนิดอื่นที่ไม่ใช่นมวัวร่วมกับยาจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาหรือไม่

หากเรากินยาร่วมกับนมจะเกิดอะไรขึ้น?

เครื่องดื่มนมสามารถส่งผลต่อการทำงานของยาได้จริง แต่ไม่ใช่ยาทั้งหมด นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต หรือไอศกรีม มีส่วนประกอบของแคลเซียม หากรับประทานร่วมกับยาบางชนิดจะเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาและนม หรือเรียกง่ายๆ ว่า ยาตีกันกับนม โดยยาที่มักมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อกินคู่กับนม คือ กลุ่มยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ายาฆ่าเชื้อ เนื่องจากแคลเซียมในนมจะไปทำปฏิกิริยากับโครงสร้างของยา ทำให้ได้สารประกอบที่ไม่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและไม่ถูกดูดซึมหรือลดการดูดซึมยา หรืออาจทำให้ยาหมดฤทธิ์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรคได้ลดลง

ควรหลีกเลี่ยงการกินยากับนม ยาลดกรด และอาหารเสริม หากต้องการดื่มนม ควรดื่มหลังกินยา 2 ชั่วโมง อ่านฉลากยาก่อนใช้ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ ตัวอย่างยาปฏิชีวนะที่ไม่ควรกินพร้อมนม เช่น กลุ่มยาเตตราไซคลีน (Tetracyclines) และกลุ่มยาควิโนโลน (Quinolones) นอกจากยาปฏิชีวนะแล้ว การกินยากลุ่มบิสฟอสโฟเนท (Bisphosphonate) ที่เป็นยารักษาโรคกระดูกพรุนร่วมกับนม ก็อาจลดประสิทธิภาพการดูดซึมของยาได้เช่นเดียวกัน

สุดท้ายนี้ นอกจากนมแล้วอาหารบางประเภทก็ส่งผลต่อการทำงานของยาได้เช่นเดียวกัน เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่น้ำผลไม้ ดังนั้น เมื่อไปซื้อยาหรือได้รับยา ควรปรึกษาเภสัชกรถึงวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง หากเราไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่ายาที่เราใช้อยู่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานพร้อมนมหรือเเคลเซียมหรือไม่ ควรกินยากับน้ำเปล่าจะดีที่สุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2

หลาย ๆ คนคงเคยสงสัยว่า กินยาพร้อมนม ทำได้หรือไม่? บางคนเชื่อว่าสามารถทำได้ แต่ความจริงแล้วนมสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาได้ด้วยเช่นกัน

นมที่คนไทยนิยมบริโภคมักเป็นนมวัว แต่ยังมีนมชนิดอื่น ๆ ที่เริ่มวางจำหน่ายในตลาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง นมปราศจากน้ำตาลแลคโตส เป็นต้น หรือผลิตภัณฑ์อื่นจากนมอย่างโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว ก็อาจสงสัยด้วยเช่นกันว่า การกินนมชนิดอื่นที่ไม่ใช่นมวัวร่วมกับยาจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาหรือไม่

หากเรากินยาร่วมกับนมจะเกิดอะไรขึ้น?

เครื่องดื่มนมสามารถส่งผลต่อการทำงานของยาได้จริง แต่ไม่ใช่ยาทั้งหมด นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต หรือไอศกรีม มีส่วนประกอบของแคลเซียม หากรับประทานร่วมกับยาบางชนิดจะเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาและนม หรือเรียกง่ายๆ ว่า ยาตีกันกับนม โดยยาที่มักมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อกินคู่กับนม คือ กลุ่มยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ายาฆ่าเชื้อ เนื่องจากแคลเซียมในนมจะไปทำปฏิกิริยากับโครงสร้างของยา ทำให้ได้สารประกอบที่ไม่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและไม่ถูกดูดซึมหรือลดการดูดซึมยา หรืออาจทำให้ยาหมดฤทธิ์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรคได้ลดลง

ควรหลีกเลี่ยงการกินยากับนม ยาลดกรด และอาหารเสริม หากต้องการดื่มนม ควรดื่มหลังกินยา 2 ชั่วโมง อ่านฉลากยาก่อนใช้ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ ตัวอย่างยาปฏิชีวนะที่ไม่ควรกินพร้อมนม เช่น กลุ่มยาเตตราไซคลีน (Tetracyclines) และกลุ่มยาควิโนโลน (Quinolones) นอกจากยาปฏิชีวนะแล้ว การกินยากลุ่มบิสฟอสโฟเนท (Bisphosphonate) ที่เป็นยารักษาโรคกระดูกพรุนร่วมกับนม ก็อาจลดประสิทธิภาพการดูดซึมของยาได้เช่นเดียวกัน

สุดท้ายนี้ นอกจากนมแล้วอาหารบางประเภทก็ส่งผลต่อการทำงานของยาได้เช่นเดียวกัน เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่น้ำผลไม้ ดังนั้น เมื่อไปซื้อยาหรือได้รับยา ควรปรึกษาเภสัชกรถึงวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง หากเราไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่ายาที่เราใช้อยู่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานพร้อมนมหรือเเคลเซียมหรือไม่ ควรกินยากับน้ำเปล่าจะดีที่สุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง