แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม
การรับประทานอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ได้
แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ท่านทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยเพียงใด ทำเครื่องหมาย O รอบตัวเลข ในช่องที่ตรงกับตัวคุณ ตามความรู้สึกของคุณเองและตามความเป็นจริง
วิธีการอ่านค่าคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
พิจารณาคะแนนรวมในแต่ละหัวข้อ ซึ่งจะสะท้อนนิสัยการบริโภคที่จะส่งผลแตกต่างกันตามชนิดของอาหารที่บริโภคเป็นประจำ
ประเมินนิสัยการบริโภคหวาน
5 คะแนน |
ยินดีด้วย คุณบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะ หากมีนิสัยในการบริโภคแบบนี้ คุณจะมีความเสี่ยงต่ำในการมีรอบพุงเกิน เพราะน้ำตาลส่วนเกินเป็นสาเหตุหลักของการเกิดไขมันสะสมจนมีรอบพุงเกินปกติ |
6-9 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงปานกลางในแง่ของพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาล คนที่อยู่ในความเสี่ยงระดับนี้อาจเริ่มมีพุงแล้ว รวมถึงค่าดัชนีมวลกายอาจเริ่มเกินเกณฑ์มาตรฐานแล้ว (มากกว่า 22.9 กิโลกรัม/เมตร 2) |
10-13 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงสูงในแง่ของพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาล บอกได้คร่าวๆ เลยว่าคุณได้รับน้ำตาลสูงเกือบทุกวัน และเกินปริมาณที่แนะนำของกรมอนามัย กล่าวคือ คนไทยไม่ควรได้รับน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชาต่อวัน หากได้รับเกินจากนี้จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคเบาหวานได้ |
14-15 คะแนน |
รู้ตัวบ้างไหม? ว่าคุณมีความเสี่ยงสูงมาก กับการได้รับน้ำตาลเกินจนทำร้ายสุขภาพและร่างกายของตัวคุณเองเข้าแล้ว ปริมาณน้ำตาลที่คุณได้รับทั้งรู้ตัว ไม่รู้ตัวหรือไม่อยากจะรับรู้ก็ตาม อยู่ในปริมาณสูงมาก สูงพอที่จะทำให้คุณอ้วนและน้ำหนักตัวเพิ่มได้เดือนละ 1-2 กิโลกรัมเลยทีเดียว ยังไม่รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคต่างๆ ที่ตามมาอีกขบวน |
ประเมินนิสัยการบริโภคไขมัน
5 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงน้อยในการได้รับผลเสียจากการบริโภคไขมันไม่เหมาะสม หากคุณอยู่ในกลุ่มนี้เป็นไปได้ว่าคุณเป็นคนรักสุขภาพ มักจะไม่เกิดโรคที่เกิดจากการบริโภคไขมัน ชีวิตของคุณมีแนวโน้มว่าจะยืนนาน หากคุณบริโภคในส่วน อื่นๆ เหมาะสมด้วย |
6-9 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงปานกลางในการเลือกบริโภคไขมัน คนที่อยู่ในความเสี่ยงระดับนี้อาจเริ่มมีพุงน้อยๆ หรือเริ่มปานกลางแล้ว รวมถึงค่าดัชนีมวลกายอาจเริ่มเกินเกณฑ์มาตรฐานแล้ว (มากกว่า 22.9 กิโลกรัม/เมตร 2) |
10-13 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงสูงในการเลือกบริโภคไขมัน อาจบอกได้คร่าวๆ เลยว่าคุณบริโภคปริมาณไขมันเกินเกือบทุกวัน หากอ้างอิงจากคนที่ต้องการพลังงานวันละ 1,600 kcal ต่อวัน คนเหล่านี้ ไม่ควรได้รับน้ำมันเกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน หากได้รับเกินจากนี้จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (Stroke) และภาวะต่างๆที่พร้อมจะสูบเงินในกระเป๋าคุณไปเป็นค่ารักษาโรค |
14-15 คะแนน |
เงื้อมมือมัจจุราช!!!! คุณมีพฤติกรรมการบริโภคไขมันที่อันตรายต่อชีวิตอันมีค่าของคุณมากคุณมีความเสี่ยงสูงมากที่จะมีภาวะไขมันสูงในเลือด ไขมันพอกที่อวัยวะต่างๆ และอาจเริ่มเกิดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดไปแล้วก็ได้ เป็นไปได้ว่าอนาคตจะเกิดการแตกของเส้นเลือดและนำไปสู่ภาวะStroke ได้ ถ้าโชคดีอาจรอดชีวิตแต่เป็นอัมพาต ยิ่งถ้าโชคร้ายละก็จะเป็นการจบชีวิตแบบไม่ได้ตั้งตัว (ทุกๆ 3 - 4 นาทีจะมีผู้เสียชีวิตจากภาวะStroke 1 ราย) แนะนำว่าคุณควรรีบเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเดี๋ยวนี้ และออกกำลังกายเพิ่มขึ้นด้วย |
ประเมินนิสัยการบริโภคโซเดียม
|
|
6-9 คะแนน |
คุณได้รับโซเดียมในระดับปานกลาง ยังถือว่าไม่มีอันตรายอะไรต่อสุขภาพ แต่คุณควรเริ่มตระหนักว่าไม่ควรบริโภคโซเดียมไปมากกว่านี้ ในวันหนึ่งเราไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมหรือเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา เริ่มหันมาเอาใจใส่ตัวเองได้แล้วว่า ตัวเองอาจได้รับโซเดียมโดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า หลีกเลี่ยงการปรุงรสชาติเพิ่มเติมโดยไม่ทันชิม และลดอาหารแปรรูปลงบ้าง |
10-13 คะแนน |
คุณได้รับโซเดียมในปริมาณสูงแน่ๆ ถึงเวลาตระหนักถึงพฤติกรรมการบริโภคได้แล้ว ไม่เช่นนั้นในอนาคตคุณต้องรับอุปการะโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไตมาร่วมชีวิตใต้ชายคาเดียวกับคุณก็ได้คงถึงเวลาบอกเลิกอาหารแปรรูป การปรุงรสชาติอย่างไม่บันยะบันยังเสียที |
14-15 คะแนน |
คุณได้รับโซเดียมสูงมาก แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยด่วน หากคุณไม่อยากเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต และพรรคพวกที่เตรียมคร่าชีวิตคุณ หากไม่รีบเปลี่ยนในตอนนี้อนาคตคุณอาจจะต้องไปโรงพยาบาลอาทิตย์ละ 3 – 4 ครั้ง เพื่อรับการฟอกไต เมื่อถึงเวลานั้นคุณจะไม่สามารถกินอาหารหลายๆ อย่างที่คุณชอบได้อย่างสบายใจอีกต่อไป ต้องเลือกกินอาหารที่ยุ่งยากกว่านี้หลายเท่าตัวเพราะฉะนั้นเปลี่ยนแปลงตอนนี้ยังไม่สายที่จะทำ เน้นอาหารปรุงด้วยเครื่องเทศหรือสมุนไพร แต่ต้องไม่เผลอปรุงเค็ม |
ข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
การรับประทานอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ได้
แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ท่านทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยเพียงใด ทำเครื่องหมาย O รอบตัวเลข ในช่องที่ตรงกับตัวคุณ ตามความรู้สึกของคุณเองและตามความเป็นจริง
วิธีการอ่านค่าคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
พิจารณาคะแนนรวมในแต่ละหัวข้อ ซึ่งจะสะท้อนนิสัยการบริโภคที่จะส่งผลแตกต่างกันตามชนิดของอาหารที่บริโภคเป็นประจำ
ประเมินนิสัยการบริโภคหวาน
5 คะแนน |
ยินดีด้วย คุณบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะ หากมีนิสัยในการบริโภคแบบนี้ คุณจะมีความเสี่ยงต่ำในการมีรอบพุงเกิน เพราะน้ำตาลส่วนเกินเป็นสาเหตุหลักของการเกิดไขมันสะสมจนมีรอบพุงเกินปกติ |
6-9 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงปานกลางในแง่ของพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาล คนที่อยู่ในความเสี่ยงระดับนี้อาจเริ่มมีพุงแล้ว รวมถึงค่าดัชนีมวลกายอาจเริ่มเกินเกณฑ์มาตรฐานแล้ว (มากกว่า 22.9 กิโลกรัม/เมตร 2) |
10-13 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงสูงในแง่ของพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาล บอกได้คร่าวๆ เลยว่าคุณได้รับน้ำตาลสูงเกือบทุกวัน และเกินปริมาณที่แนะนำของกรมอนามัย กล่าวคือ คนไทยไม่ควรได้รับน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชาต่อวัน หากได้รับเกินจากนี้จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคเบาหวานได้ |
14-15 คะแนน |
รู้ตัวบ้างไหม? ว่าคุณมีความเสี่ยงสูงมาก กับการได้รับน้ำตาลเกินจนทำร้ายสุขภาพและร่างกายของตัวคุณเองเข้าแล้ว ปริมาณน้ำตาลที่คุณได้รับทั้งรู้ตัว ไม่รู้ตัวหรือไม่อยากจะรับรู้ก็ตาม อยู่ในปริมาณสูงมาก สูงพอที่จะทำให้คุณอ้วนและน้ำหนักตัวเพิ่มได้เดือนละ 1-2 กิโลกรัมเลยทีเดียว ยังไม่รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคต่างๆ ที่ตามมาอีกขบวน |
ประเมินนิสัยการบริโภคไขมัน
5 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงน้อยในการได้รับผลเสียจากการบริโภคไขมันไม่เหมาะสม หากคุณอยู่ในกลุ่มนี้เป็นไปได้ว่าคุณเป็นคนรักสุขภาพ มักจะไม่เกิดโรคที่เกิดจากการบริโภคไขมัน ชีวิตของคุณมีแนวโน้มว่าจะยืนนาน หากคุณบริโภคในส่วน อื่นๆ เหมาะสมด้วย |
6-9 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงปานกลางในการเลือกบริโภคไขมัน คนที่อยู่ในความเสี่ยงระดับนี้อาจเริ่มมีพุงน้อยๆ หรือเริ่มปานกลางแล้ว รวมถึงค่าดัชนีมวลกายอาจเริ่มเกินเกณฑ์มาตรฐานแล้ว (มากกว่า 22.9 กิโลกรัม/เมตร 2) |
10-13 คะแนน |
คุณมีความเสี่ยงสูงในการเลือกบริโภคไขมัน อาจบอกได้คร่าวๆ เลยว่าคุณบริโภคปริมาณไขมันเกินเกือบทุกวัน หากอ้างอิงจากคนที่ต้องการพลังงานวันละ 1,600 kcal ต่อวัน คนเหล่านี้ ไม่ควรได้รับน้ำมันเกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน หากได้รับเกินจากนี้จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (Stroke) และภาวะต่างๆที่พร้อมจะสูบเงินในกระเป๋าคุณไปเป็นค่ารักษาโรค |
14-15 คะแนน |
เงื้อมมือมัจจุราช!!!! คุณมีพฤติกรรมการบริโภคไขมันที่อันตรายต่อชีวิตอันมีค่าของคุณมากคุณมีความเสี่ยงสูงมากที่จะมีภาวะไขมันสูงในเลือด ไขมันพอกที่อวัยวะต่างๆ และอาจเริ่มเกิดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดไปแล้วก็ได้ เป็นไปได้ว่าอนาคตจะเกิดการแตกของเส้นเลือดและนำไปสู่ภาวะStroke ได้ ถ้าโชคดีอาจรอดชีวิตแต่เป็นอัมพาต ยิ่งถ้าโชคร้ายละก็จะเป็นการจบชีวิตแบบไม่ได้ตั้งตัว (ทุกๆ 3 - 4 นาทีจะมีผู้เสียชีวิตจากภาวะStroke 1 ราย) แนะนำว่าคุณควรรีบเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเดี๋ยวนี้ และออกกำลังกายเพิ่มขึ้นด้วย |
ประเมินนิสัยการบริโภคโซเดียม
|
|
6-9 คะแนน |
คุณได้รับโซเดียมในระดับปานกลาง ยังถือว่าไม่มีอันตรายอะไรต่อสุขภาพ แต่คุณควรเริ่มตระหนักว่าไม่ควรบริโภคโซเดียมไปมากกว่านี้ ในวันหนึ่งเราไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมหรือเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา เริ่มหันมาเอาใจใส่ตัวเองได้แล้วว่า ตัวเองอาจได้รับโซเดียมโดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า หลีกเลี่ยงการปรุงรสชาติเพิ่มเติมโดยไม่ทันชิม และลดอาหารแปรรูปลงบ้าง |
10-13 คะแนน |
คุณได้รับโซเดียมในปริมาณสูงแน่ๆ ถึงเวลาตระหนักถึงพฤติกรรมการบริโภคได้แล้ว ไม่เช่นนั้นในอนาคตคุณต้องรับอุปการะโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไตมาร่วมชีวิตใต้ชายคาเดียวกับคุณก็ได้คงถึงเวลาบอกเลิกอาหารแปรรูป การปรุงรสชาติอย่างไม่บันยะบันยังเสียที |
14-15 คะแนน |
คุณได้รับโซเดียมสูงมาก แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยด่วน หากคุณไม่อยากเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต และพรรคพวกที่เตรียมคร่าชีวิตคุณ หากไม่รีบเปลี่ยนในตอนนี้อนาคตคุณอาจจะต้องไปโรงพยาบาลอาทิตย์ละ 3 – 4 ครั้ง เพื่อรับการฟอกไต เมื่อถึงเวลานั้นคุณจะไม่สามารถกินอาหารหลายๆ อย่างที่คุณชอบได้อย่างสบายใจอีกต่อไป ต้องเลือกกินอาหารที่ยุ่งยากกว่านี้หลายเท่าตัวเพราะฉะนั้นเปลี่ยนแปลงตอนนี้ยังไม่สายที่จะทำ เน้นอาหารปรุงด้วยเครื่องเทศหรือสมุนไพร แต่ต้องไม่เผลอปรุงเค็ม |
ข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D