อันตรายจากไฟฟ้าหน้าฝน ป้องกันได้!

อุบัติเหตุจากไฟฟ้าที่พบบ่อย

     1. เกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีไฟรั่ว และบริเวณนั้นมีน้ำท่วมขัง ทำให้มีไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้น

     2. ถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะทำอันตรายต่อการทำงานของหัวใจและสมอง ทำให้คลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากไฟฟ้า

     1. ต้องนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด

  • อย่าช่วยด้วยมือเปล่า ควรสวมใส่เครื่องแต่งกายหรือฉนวนอื่นที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น การใส่รองเท้ายาง ถุงมือยาง ไม้ หรือเชือกแห้งมาเขี่ยสายไฟออก จากนั้นค่อยดึงตัวผู้ถูกไฟดูดออกมาจากบริเวณดังกล่าว

     ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ดูดเช่นกัน รองเท้ายางและถุงมือยางไม่เหมาะกับไฟรั่วจากสายไฟฟ้าแรงสูงตรงถนน

  • ตัดไฟที่ต้นตอ เมื่อพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน เช่น การสับสวิตช์  คัทเอาท์ เบรกเกอร์ หากบริเวณดังกล่าวมีน้ำขังอยู่ ห้ามลงไปยืนในน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลไปหาได้
  • หากไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่ทราบวิธีช่วยเหลือ ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

     2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ

  • ผู้ป่วยที่ถูกไฟดูดอาจมีการได้รับบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น จากการพลัดตกจากที่สูง ทำให้มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกส่วนต่าง ๆ หัก เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา หรือกระดูกสันหลัง
  • การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุจึงต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการพิการ หรืออัมพาต ดังนั้นควรให้ผู้ที่มีความรู้เป็นผู้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเหล่านี้ออกจากจุดเกิดเหตุ

     3. ขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669

  • เมื่อนำผู้ป่วยออกมายังที่ปลอดภัยแล้ว พบว่าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจหรือหายใจผิดปกติ ควรขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 และทำการกดนวดหัวใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น

     4.การกดนวดหัวใจ

     เมื่อผู้ประสบเหตุหัวใจหยุดเต้น ระหว่างที่รอรถพยาบาลมานั้นให้ทำการกดนวดหัวใจ เริ่มที่วางสันมือเหนือลิ้นปี่ประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นประสานมือเพื่อทำการกดหัวใจ 100 - 120 ครั้ง/นาที ความลึก 5 ซม.หรือ 2 นิ้ว จนกว่ารถพยาบาลหรือทีมฉุกเฉินทางการแพทย์มาถึง

5. เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า AED

     ระหว่างการกดนวดหัวใจให้หาเครื่อง AED ใกล้ตัวและปฎิบัติตามคำแนะนำของเครื่องเพื่อทำการช่วยเหลือผู้ป่วย

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด

     1. หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟอยู่เสมอ และควรซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้เรียบร้อย

     2. บริเวณที่วางสายไฟ ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากทับลงไป และวางให้พ้นทางเดิน

     3. ระมัดระวังไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ

     4. ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้

     5. ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว

     6. ต่อสายดินเพื่อให้กระแสไฟลงดินเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว

     7. ติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันที่ดี

 

ข้อมูลจาก: พญ. ณัฐนิช นทเกล้า

**อันตรายจากไฟฟ้าป้องกันได้ และเมื่อเกิดเหตุร้ายจากไฟฟ้ากับคุณหรือคนใกล้เคียง

พยายามตั้งสติและปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A

อุบัติเหตุจากไฟฟ้าที่พบบ่อย

     1. เกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีไฟรั่ว และบริเวณนั้นมีน้ำท่วมขัง ทำให้มีไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้น

     2. ถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะทำอันตรายต่อการทำงานของหัวใจและสมอง ทำให้คลื่นหัวใจเต้นผิดปกติ เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากไฟฟ้า

     1. ต้องนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช็อตให้เร็วที่สุด

  • อย่าช่วยด้วยมือเปล่า ควรสวมใส่เครื่องแต่งกายหรือฉนวนอื่นที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น การใส่รองเท้ายาง ถุงมือยาง ไม้ หรือเชือกแห้งมาเขี่ยสายไฟออก จากนั้นค่อยดึงตัวผู้ถูกไฟดูดออกมาจากบริเวณดังกล่าว

     ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ดูดเช่นกัน รองเท้ายางและถุงมือยางไม่เหมาะกับไฟรั่วจากสายไฟฟ้าแรงสูงตรงถนน

  • ตัดไฟที่ต้นตอ เมื่อพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน เช่น การสับสวิตช์  คัทเอาท์ เบรกเกอร์ หากบริเวณดังกล่าวมีน้ำขังอยู่ ห้ามลงไปยืนในน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลไปหาได้
  • หากไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่ทราบวิธีช่วยเหลือ ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

     2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ

  • ผู้ป่วยที่ถูกไฟดูดอาจมีการได้รับบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น จากการพลัดตกจากที่สูง ทำให้มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกส่วนต่าง ๆ หัก เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา หรือกระดูกสันหลัง
  • การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุจึงต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการพิการ หรืออัมพาต ดังนั้นควรให้ผู้ที่มีความรู้เป็นผู้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเหล่านี้ออกจากจุดเกิดเหตุ

     3. ขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669

  • เมื่อนำผู้ป่วยออกมายังที่ปลอดภัยแล้ว พบว่าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจหรือหายใจผิดปกติ ควรขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 และทำการกดนวดหัวใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น

     4.การกดนวดหัวใจ

     เมื่อผู้ประสบเหตุหัวใจหยุดเต้น ระหว่างที่รอรถพยาบาลมานั้นให้ทำการกดนวดหัวใจ เริ่มที่วางสันมือเหนือลิ้นปี่ประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นประสานมือเพื่อทำการกดหัวใจ 100 - 120 ครั้ง/นาที ความลึก 5 ซม.หรือ 2 นิ้ว จนกว่ารถพยาบาลหรือทีมฉุกเฉินทางการแพทย์มาถึง

5. เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า AED

     ระหว่างการกดนวดหัวใจให้หาเครื่อง AED ใกล้ตัวและปฎิบัติตามคำแนะนำของเครื่องเพื่อทำการช่วยเหลือผู้ป่วย

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด

     1. หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟอยู่เสมอ และควรซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้เรียบร้อย

     2. บริเวณที่วางสายไฟ ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากทับลงไป และวางให้พ้นทางเดิน

     3. ระมัดระวังไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ

     4. ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้

     5. ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว

     6. ต่อสายดินเพื่อให้กระแสไฟลงดินเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว

     7. ติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันที่ดี

 

ข้อมูลจาก: พญ. ณัฐนิช นทเกล้า

**อันตรายจากไฟฟ้าป้องกันได้ และเมื่อเกิดเหตุร้ายจากไฟฟ้ากับคุณหรือคนใกล้เคียง

พยายามตั้งสติและปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง