เทคนิคการส่องกล้องตัดติ่งเนื้อในสำไส้โดยไม่ต้องผ่าตัด

     ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการวินิจฉัยและทำการรักษา อาจมีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายจนกลายเป็นมะเร็งได้ นอกจากระดับความรุนแรงของโรคแล้วการผ่าตัดก็เป็นอีกความกังวลอันดับต้นๆ ของผู้ป่วย แต่ด้วยปัจจุบันด้านการแพทย์พัฒนาไปมาก ทำให้มีเทคโนโลยีการส่องกล้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติในระบบทางทางเดินอาหาร ที่ไม่เพียงช่วยคัดกรองรอยโรคได้อย่างละเอียด แต่ยังสามารถตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่จากลำไส้ใหญ่ได้โดยไม่ต้องผ่าตัดได้อีกด้วย


เทคนิค ESD คืออะไร?

     Endoscopic Submucosal Dissection (ESD) คือ เทคนิคการส่องกล้องตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่จากผนังทางเดินอาหารผ่านกล้อง เหมาะสำหรับชิ้นเนื้อที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2 เซนติเมตรขึ้นไป วิธีนี้จะสามารถตัดติ่งเนื้อออกได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง สามารถรักษามะเร็งทางเดินอาหารระยะเบื้องต้นให้หายขาดได้ ช่วยให้คนไข้ไร้แผล ไม่เจ็บตัวมาก และฟื้นตัวได้เร็ว

 

ESD เหมาะกับกลุ่มอาการแบบไหน?

     โดยส่วนใหญ่แล้ว ESD มักจะใช้กับรอยโรคที่เป็นติ่งเนื้องอกที่เกิดขึ้นแทบทุกส่วนในระบบทางเดินอาหาร  เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่ในกลุ่มคนไทยมักจะพบได้ในลำไส้ใหญ่มากที่สุด ซึ่งก่อนที่แพทย์จะทำ ESD ได้นั้นจะต้องส่องกล้องเพื่อดูตำแหน่งและขนาดของติ่งเนื้อก่อน เพื่อให้การรักษาปลอดภัยและแม่นยำมากที่สุด หากพบว่าติ่งเนื้อที่พบมีโอกาสเป็นเนื้อร้ายแต่ยังอยู่ในระยะเบื้องต้น แพทย์จะใช้ ESD เพื่อตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้งเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

 

ข้อดีของการรักษาด้วยเทคนิค ESD

  • สามารถตัดชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2 เซนติเมตรขึ้นไปได้
  • เป็นวิธีการใช้กล้องส่องเพื่อเข้าไปตัดชิ้นเนื้อโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อเอาชิ้นเนื้อออกมาตรวจ
  • เหมาะกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง เพราะการตัดชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ออกได้ในชิ้นเดียว จะทำให้สามารถดูผลการตรวจชิ้นเนื้อได้โดยละเอียด เพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดลดการกลับมาเป็นซ้ำ และมีประโยชน์ในการวางแผนรักษาในอนาคต
  • ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัว และไม่ต้องฟื้นตัวนาน
  • ที่สามารถตัดชิ้นเนื้อได้สมบูรณ์ที่สุด และตัดชิ้นเนื้อได้ใหญ่ที่สุดในครั้งเดียว ซึ่งต่างจากวิธีการตัดชิ้นเนื้อแต่ละแบบ ดังนี้
  • Forcep หรือปากคีบ จะใช้สำหรับการตัดชิ้นเนื้อที่มีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร
  • Snare หรือขดลวด สามารถใช้วิธีที่เรียกว่า Endoscopic Mucosal (EMR) เลาะติ่งเนื้อความยาว 1-2 เซนติเมตรออกมาได้ แต่ถ้าติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่ไม่สามารถตัดออกได้ภายในครั้งเดียว

 

ข้อควรระวังในการรักษา

  • เป็นวิธีการที่อาศัยเทคนิคจำเพาะ ใช้เวลานาน มีความซับซ้อนต้องอาศัยทั้งความละเอียดและประสบการณ์โดยเฉพาะ
  • จำเป็นต้องทำการรักษาโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องโดยเฉพาะ เนื่องจากต้องตัดเลาะผนังลำไส้ที่มีความหนาเพียง 2 – 3 มิลลิเมตร ซึ่งถ้าทำไม่ดีอาจทำให้มีโอกาสลำไส้ทะลุประมาณ 5%
  • หลังตัดติ่งเนื้อออกแล้วอาจมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหากเนื้อที่ตัดออกมาเป็นมะเร็งระยะลุกลาม ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการผ่าตัดลำไส้อีกครั้ง
     

เหตุผลที่ควรเลือกทำ ESD มากกว่าผ่าตัด

     แม้ว่าการทำ ESD จะมีความเสี่ยงในการรักษาอยู่บ้าง แต่ก็เป็นวิธีการที่คุ้มค่ามากกว่าการผ่าตัด โดยเฉพาะชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็งระยะเบื้องต้น เพราะเป็นวิธีรักษาที่หายขาดได้และลดโอกาสการเกิดทุพพลภาพจากการผ่าตัดโดยไม่จำเป็นได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

     ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการวินิจฉัยและทำการรักษา อาจมีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายจนกลายเป็นมะเร็งได้ นอกจากระดับความรุนแรงของโรคแล้วการผ่าตัดก็เป็นอีกความกังวลอันดับต้นๆ ของผู้ป่วย แต่ด้วยปัจจุบันด้านการแพทย์พัฒนาไปมาก ทำให้มีเทคโนโลยีการส่องกล้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติในระบบทางทางเดินอาหาร ที่ไม่เพียงช่วยคัดกรองรอยโรคได้อย่างละเอียด แต่ยังสามารถตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่จากลำไส้ใหญ่ได้โดยไม่ต้องผ่าตัดได้อีกด้วย


เทคนิค ESD คืออะไร?

     Endoscopic Submucosal Dissection (ESD) คือ เทคนิคการส่องกล้องตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่จากผนังทางเดินอาหารผ่านกล้อง เหมาะสำหรับชิ้นเนื้อที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2 เซนติเมตรขึ้นไป วิธีนี้จะสามารถตัดติ่งเนื้อออกได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง สามารถรักษามะเร็งทางเดินอาหารระยะเบื้องต้นให้หายขาดได้ ช่วยให้คนไข้ไร้แผล ไม่เจ็บตัวมาก และฟื้นตัวได้เร็ว

 

ESD เหมาะกับกลุ่มอาการแบบไหน?

     โดยส่วนใหญ่แล้ว ESD มักจะใช้กับรอยโรคที่เป็นติ่งเนื้องอกที่เกิดขึ้นแทบทุกส่วนในระบบทางเดินอาหาร  เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่ในกลุ่มคนไทยมักจะพบได้ในลำไส้ใหญ่มากที่สุด ซึ่งก่อนที่แพทย์จะทำ ESD ได้นั้นจะต้องส่องกล้องเพื่อดูตำแหน่งและขนาดของติ่งเนื้อก่อน เพื่อให้การรักษาปลอดภัยและแม่นยำมากที่สุด หากพบว่าติ่งเนื้อที่พบมีโอกาสเป็นเนื้อร้ายแต่ยังอยู่ในระยะเบื้องต้น แพทย์จะใช้ ESD เพื่อตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้งเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

 

ข้อดีของการรักษาด้วยเทคนิค ESD

  • สามารถตัดชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2 เซนติเมตรขึ้นไปได้
  • เป็นวิธีการใช้กล้องส่องเพื่อเข้าไปตัดชิ้นเนื้อโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อเอาชิ้นเนื้อออกมาตรวจ
  • เหมาะกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง เพราะการตัดชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ออกได้ในชิ้นเดียว จะทำให้สามารถดูผลการตรวจชิ้นเนื้อได้โดยละเอียด เพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดลดการกลับมาเป็นซ้ำ และมีประโยชน์ในการวางแผนรักษาในอนาคต
  • ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัว และไม่ต้องฟื้นตัวนาน
  • ที่สามารถตัดชิ้นเนื้อได้สมบูรณ์ที่สุด และตัดชิ้นเนื้อได้ใหญ่ที่สุดในครั้งเดียว ซึ่งต่างจากวิธีการตัดชิ้นเนื้อแต่ละแบบ ดังนี้
  • Forcep หรือปากคีบ จะใช้สำหรับการตัดชิ้นเนื้อที่มีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร
  • Snare หรือขดลวด สามารถใช้วิธีที่เรียกว่า Endoscopic Mucosal (EMR) เลาะติ่งเนื้อความยาว 1-2 เซนติเมตรออกมาได้ แต่ถ้าติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่ไม่สามารถตัดออกได้ภายในครั้งเดียว

 

ข้อควรระวังในการรักษา

  • เป็นวิธีการที่อาศัยเทคนิคจำเพาะ ใช้เวลานาน มีความซับซ้อนต้องอาศัยทั้งความละเอียดและประสบการณ์โดยเฉพาะ
  • จำเป็นต้องทำการรักษาโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องโดยเฉพาะ เนื่องจากต้องตัดเลาะผนังลำไส้ที่มีความหนาเพียง 2 – 3 มิลลิเมตร ซึ่งถ้าทำไม่ดีอาจทำให้มีโอกาสลำไส้ทะลุประมาณ 5%
  • หลังตัดติ่งเนื้อออกแล้วอาจมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหากเนื้อที่ตัดออกมาเป็นมะเร็งระยะลุกลาม ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการผ่าตัดลำไส้อีกครั้ง
     

เหตุผลที่ควรเลือกทำ ESD มากกว่าผ่าตัด

     แม้ว่าการทำ ESD จะมีความเสี่ยงในการรักษาอยู่บ้าง แต่ก็เป็นวิธีการที่คุ้มค่ามากกว่าการผ่าตัด โดยเฉพาะชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็งระยะเบื้องต้น เพราะเป็นวิธีรักษาที่หายขาดได้และลดโอกาสการเกิดทุพพลภาพจากการผ่าตัดโดยไม่จำเป็นได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง