การถอนฟัน เรื่องสำคัญที่ควรรู้ (The Extraction of Teeth)

     การถอนฟัน คือการรักษาโดยการนำเอาฟันออกจากกระดูกเบ้าฟัน เนื่องจากเหตุหลายประการ ดังนี้

  1. ฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน และไม่สามารถบูรณะได้
  2. ฟันที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง (Advanced periodontal disease) และไม่สามารถรักษาได้
  3. ฟันน้ำนมไม่หลุดตามระยะเวลา ทำให้ฟันแท้ข้างใต้ขึ้นมาแทนที่ไม่ได้หรือฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่ง
  4. ฟันที่ต้องถอนเพื่อการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน
  5. ฟันที่ต้องถอนเพื่อการใส่ฟัน
  6. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ ฟันแตก ฟันหักแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือรากฟันหัก ไม่สามารถอุดหรือรักษาคลองรากฟันได้
  7. ฟันที่อยู่ในแนวหักของขากรรไกร ในรายที่กระดูกเบ้าฟันหัก หรือกระดูกขากรรไกรหัก ต้องพิจารณาแต่ละรายให้ดีว่าควรถอนหรือควรเก็บไว้
  8. ฟันที่มีพยาธิสภาพของกระดูกรอบ ๆ รากฟัน เช่น ถุงน้ำ (Cyst), เนื้องอก (Tumor), กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis) หรือกระดูกขากรรไกรตาย (Bone necrosis)
  9. ฟันที่อยู่ในบริเวณที่ต้องได้รับการฉายรังสีรักษาและมีภาวะเสี่ยงที่จะต้องถอนในอนาคต
  10. มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟัน ซึ่งทันตแพทย์เห็นสมควรที่จะถอน เช่น ปัญหาฟันคุด ฟันชน (Embedded or Impacted tooth) ฟันเกิน (Supernumerary tooth) หรือฟันที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
  11. ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีได้ เกิดปัญหาติดเชื้อจากฟันและเหงือกบ่อย ๆ และไม่ใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหารอีกต่อไป อาจพิจารณาถอนออกเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในช่องปากได้

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการถอนฟัน

     เพื่อกำจัดฟันที่มีพยาธิสภาพต่าง ๆ หรือฟันที่ไม่เกิดประโยชน์ออก โดยการรักษาจะกระทำภายใต้การให้ยาชาเฉพาะที่หรือการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

 

ข้อดีของการถอนฟัน

  1. กำจัดอาการปวดจากสาเหตุต่างๆ
  2. กำจัดเชื้อในช่องปาก ป้องกันการติดเชื้อในบริเวณใบหน้า
  3. ช่วยให้ฟันแท้ขึ้นได้ตามปกติ
  4. ลดโอกาสเกิดฟันผุ ในฟันที่ขึ้นซ้อนเก
  5. ป้องกันไม่ให้มีฟันหลุดไปอุดหลอดลม กรณีฟันโยกและผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว

 

ข้อด้อยของการถอนฟัน

  1. ผู้ป่วยอาจมีความเจ็บปวด และเกิดความเครียดขณะรับการรักษา ในกรณีที่มีความเจ็บปวดมาก ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ระงับความเจ็บปวดเพิ่มเติม
  2. สูญเสียฟันในการบดเคี้ยวอาหาร 
  3. สูญเสียความสวยงาม
  4. กรณีสูญเสียฟันมาก ๆ อาจพบฟันที่เหลือสบโดนเหงือกเกิดแผลได้

 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดภายหลังการถอนฟัน

  1. หลังถอนฟัน ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดและไม่สบาย นอกจากเกิดจากแผลแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ป่วยด้วย โดยทั่ว ๆ ไปแล้วความเจ็บปวดหลังถอนฟันจะไม่รุนแรง ความเจ็บปวดจะปรากฏอยู่ประมาณ 12 ชั่วโมงหลังถอนฟันและลดระดับลงเรื่อย ๆ ไม่เกิน 2 วันหลังจากถอนฟัน การแก้อาการปวดโดยการรับประทานยาแก้ปวดสามารถลดอาการปวดจากการถอนฟันได้
  2. อาจเกิดอาการบวม ปกติการบวมเป็นปฎิกิริยาตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อภยันตรายที่เกิดขึ้น ยิ่งเกิด มากเท่าใด การบวมจะมากขึ้นเท่านั้น กรณีที่ถอนฟันโดยวิธีการผ่าตัด อาการบวมจะเกิดมากที่สุดในเวลา 48 - 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ถ้าการบวมเกิดขึ้นหลังวันที่ 3 ของการผ่าตัด ควรนึกถึงภาวะติดเชื้อมากกว่าจะเป็นการบวมจากการผ่าตัด การใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบข้างแก้มบริเวณที่ทำผ่าตัดทันทีในวันแรกที่ทำผ่าตัด 24 ชั่วโมง จะช่วยให้บวมน้อยลงได้
  3. อาจพบอาการติดเชื้อหลังถอนฟันได้ ซึ่งมักพบในผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ ในบางกรณีทันตแพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อไว้ก่อน แต่ถ้ามีอาการติดเชื้อ ปวด บวม แดง มีหนอง เป็นไข้  แนะนำให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
  4. มีเลือดออกมากผิดปกติ หรือมีเลือดออกซ้ำหลังจากถอนฟันไปหลายวัน การป้องกันปัญหาเลือดออก คือ ผู้ป่วยควรกัดผ้าก๊อซไว้ให้แน่น อย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมงหลังถอนฟัน งดการสูบบุหรี่ บ้วนปาก เพราะทำให้มีเลือดออกจากแผลถอนฟันได้ เมื่อเลือดหยุดดีแล้ว ควรงดเคี้ยวอาหารด้านที่ทำการถอนฟันอย่างน้อย 1 สัปดาห์  ถ้ามีเลือดออกมาก หรือมีเลือดออกซ้ำภายหลังถอนฟันไปหลายวันให้กัดผ้าก๊อส 1 - 2 ชั่วโมงเช่นกัน ถ้ายังไม่หยุดหรือในระหว่างที่กัดผ้าก๊อสพบเลือดยังออกมาก ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ทันที
  5. กรณีถอนฟันกรามน้อยบนหรือฟันกรามบนอาจพบรูทะลุโพรงอากาศ (ไซนัส) หรือฟันอาจหลุดเข้าโพรงอากาศ ทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้การรักษาโดยอาจนำฟันออกผ่านทางแผลถอนฟันเดิม หรือทำการเปิดแผลผ่าตัดบริเวณด้านหน้าของโพรงอากาศ เพื่อให้นำฟันออกมาได้ หลังจากนั้นจึงมาทำการรักษาบริเวณที่ถอนฟัน โดยอาจเย็บแผลถอนฟันร่วมกับการใส่วัสดุช่วยปิดรูทะลุ หรือพิจารณาผ่าตัดย้ายเนื้อเยื่อมาปิดช่องที่ทะลุและเย็บแผล ทำการประเมินอีกครั้งประมาณ 10 วันหลังรักษา อาจมีการเย็บปิดรูทะลุโพรงอากาศหลายครั้งถ้ารูทะลุมีขนาดใหญ่ อาจพบอาการปวดตึงๆ ที่โหนกแก้ม ระคายเคืองและมีน้ำมูกประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ มีเลือดดำๆ ไหลลงคอได้ในช่วงสัปดาห์แรก ถ้าในระยะยาวยังมีอาการปวดรุนแรงอาจพบการติดเชื้อได้ การเดินทางด้วยเครื่องบินอาจมีแรงดันทำให้มีอาการปวด
  6. แผลถอนฟันหายช้า หรือมีเศษกระดูกโผล่ มักพบได้ในผู้มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการหายของแผลหรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมักจะกลับมาด้วยอาการปวดแผล เขี่ยแผลแล้วเจ็บแปล๊บ ๆ หรือรู้สึกมีอะไรคม ๆ บาดลิ้น เป็นต้น
  7. เกิดภาวะกระดูกแห้งติดเชื้อ โดยจะมีอาการปวดรุนแรงได้เวลามีสิ่งกระทบ เกิดเนื่องจากก้อนเลือดในแผลหลุดออกจากเบ้าฟันที่ถอน อาจหลุดในระหว่างการบ้วนน้ำแรง ๆ ได้ มักพบอาการปวดหลังถอนฟันไป 3 - 4 วันแล้ว อาการจะหายไปก็ต่อเมื่อมีเนื้อเยื่อสร้างมาคลุมปิดกระดูกเบ้าฟันทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 7 - 14 วัน ในระหว่างรอแผลหายจะได้รับวัสดุไปอุดในเบ้าฟันป้องกันอาหาร น้ำ น้ำลาย เข้ามาสัมผัสกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งจะเป็นการทำให้อาการปวดทุเลาลง
  8. อาจจะพบรอยเซาะของเลือดจากแผลมาที่ผิวหน้าและบริเวณใกล้เคียงกับที่ผ่าตัด ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือผู้ป่วยโรคเลือด รอยเลือดดังกล่าวจะค่อย ๆ จางไปภายใน 2 - 3 สัปดาห์
  9. การอ้าปากได้จำกัด เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว หรือเกิดจากการฉีดยาชาเพื่อสกัดเส้นประสานที่ผ่านกล้ามเนื้อซึ่งควบคุมการอ้าปากหุบปากได้ อีกกรณีคือผู้ป่วยกังวลคือการรักษาฝึกให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด โดยพยายามอ้าปาก ใช้นิ้วมือหรือไม้กดลิ้นง้างค้างไว้ 2 นาทีแล้วผ่อนลง ทำบ่อย ๆ ร่วมกับการใช้น้ำอุ่นประคบข้างแก้มและหน้าหู ระยะปกติในผู้ใหญ่สามารถอ้าปากได้ประมาณ 3 เซนติเมตร เมื่อวัดจากปลายฟันบนและฟันล่าง
  10. อาจพบอาการชาที่ริมฝีปากได้ โดยเฉพาะริมฝีปากล่าง เนื่องจากปลายรากฟันอยู่ใกล้ชิดกับเส้นประสาทรับความรู้สึกของขากรรไกรล่างและริมฝีปาก สังเกตโดยหลังถอนฟันไป 4 - 5 ชั่วโมงแล้วอาการชาที่ริมฝีปากไม่ลดลง อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 3 - 6 เดือน ผู้ที่มีอาการชาควรระมัดระวังในการเคี้ยวเพราะอาจกัดริมฝีปากได้โดยไม่รู้ตัว ถ้าชามาก ๆ อาจต้องกลืนน้ำลายบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้น้ำลายไหลออกมานอกช่องปาก ริมฝีปากจะเป็นส่วนแรกที่กลับมารับความรู้สึกได้ปกติก่อนโดยจะมีอาการนำ เช่น อาการเจ็บแปล็บ ๆ เป็นบางครั้งได้ ในบางรายอาการชาจะหลงเหลืออยู่เป็นเวลานานแต่จะเป็นแค่บริเวณเล็ก ๆ ที่คางได้

 

ทางเลือกของการรักษา

  1. ทำการถอนฟันภายใต้ยาชาเฉพาะที่ซึ่งในผู้รับบริการที่ไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ร่างกายแข็งแรง ไม่แพ้ยาชา ไม่มีความกังวลต่อการรักษาสามารถทำได้ ก็จะลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายได้
  2. ทำการถอนฟันภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ซึ่งใช้ในกรณีที่มีประวัติแพ้ยาชา มีความกังวล ความกลัวการถอนฟันขั้นรุนแรง จนไม่สามารถทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ได้ ผู้รับบริการที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ ซึ่งการรักษาด้วยยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายจะมีภาวะเสี่ยงต่อการแพ้ยาที่ใช้เพิ่มขึ้น บาดเจ็บขณะใส่ท่อช่วยหายใจ มีโอกาสติดเชื้อที่ปอดได้ ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวซับซ้อนอาจมีความเสี่ยงที่รุนแรงมากขึ้นได้
  3. กรณียังไม่พร้อมรับการรักษาอาจใช้วิธีสังเกตอาการ ถ้ามีอาการเจ็บ ปวด การมีใบหน้าบวม แสดงว่าควรได้รับการถอนฟัน

 

กรณีปฏิเสธการรักษาอาจเกิดผลต่างๆ ตามมาดังนี้

  1. มีการติดเชื้อจากฟันสู่ปลายรากและกระดูกเบ้าฟัน จนส่งผลให้มีการติดเชื้อบริเวณใบหน้าได้
  2. บดเคี้ยวอาหารลำบาก
  3. สามารถกลายเป็นเนื้องอกหรือถุงน้ำในขากรรไกรได้
  4. อาจมีการติดเชื้อจากในช่องปากไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ในผู้ที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม ข้อเข่าเทียม อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนการถอนฟัน

  1. ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหาร และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  2. ผู้มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำ ควรรับประทานอาหาร และยามาตามปกติ
  3. ในเด็กอาจจะต้องเข้ารับการรักษาห่างจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียน
  4. ผู้มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบในการรักษาจากแพทย์ก่อนและเตรียมตัวให้พร้อมรับการถอนฟัน เช่น ผู้ที่มีโรคทางโลหิตวิทยา ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤต เป็นต้น
  5. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจรุนแรง ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียม เช่น ลิ้นหัวใจ ข้อเข่าเทียม ผู้ที่เป็นหลอดเลือดดำอุดตัน  จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการรักษา 1 ชั่วโมง
  6. ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟาริน (Warfarin) จะได้รับการส่งตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดก่อน เพื่อให้ทันตแพทย์พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะถอนฟันได้หรือไม่ ซึ่งค่าความแข็งตัวของเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.5 สามารถถอนฟันได้
  7. ผู้ที่วิตกกังวลสูงหรือผู้ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา อาจพิจารณาทำการรักษาภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
  8. ควบคุมความดันโลหิต ไม่ควรต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท และไม่ควรสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจผ่อนผันให้ถึง 160/90 มิลลิเมตรปรอท ในผู้สูงอายุหรือกรณีปวดฟันมากความดันอาจขึ้นสูงได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตต่ำในเกณฑ์ที่แพทย์ยอมรับได้จึงจะได้รับการถอนฟัน
  9. วันที่มารับการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติด้านสุขภาพอีกครั้ง ควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด โรคประจำตัว รวมถึงการแพ้อาหาร และยาประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

 

ขั้นตอนการถอนฟัน

  1. ทันตแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา จะทำการยืนยันแผนการรักษากับผู้ป่วย โดยระบุตำแหน่งฟันที่จะถอนในครั้งนี้ให้ชัดเจนกับผู้ป่วยหรือญาติ
  2. ฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณฟันที่ต้องการกำจัดออก รอประมาณ 5 - 10 นาที เมื่อทดสอบว่ายาชาออกฤทธิ์
  3. ถอนฟันออกตามแผนการรักษาที่วางไว้ กรณีที่ถอนยากอาจต้องใช้เครื่องกรอฟันสำหรับผ่าตัดร่วมด้วย เมื่อนำฟันออกแล้วให้กัดผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือด
  4. กรณีเลือดออกมาก เหงือกขยับได้หรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ จะทำการห้ามเลือดด้วยการใส่วัสดุช่วยการแข็งตัวของเลือดร่วมกับการเย็บปิดแผล และให้ผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซให้แน่นเพื่อห้ามเลือด หรืออาจต้องใส่เครื่องมือคงสภาพร่วมกับวัสดุคงสภาพ ช่วยห้ามเลือดอีกชั้นหนึ่ง
  5. บางกรณีหลังถอนฟัน ทันตแพทย์อาจพิจารณาตกแต่งลักษณะของกระดูกเบ้าฟันให้เหมาะสมกับการใส่ฟันควบคู่ไปด้วย เพื่อที่จะไม่ต้องมารับการผ่าตัดตกแต่งสันกระดูกในภายหลัง
  6. หลังถอนฟันผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ปวด หรืออาจได้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานร่วมด้วย
  7. ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟันในทุกครั้งหลังถอนฟันเสร็จ

 

คำแนะนำภายหลังการถอนฟัน

  1. กัดผ้าก๊อซนาน 1 - 2 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ  
  2. ครบ 2 ชั่วโมง คายผ้าก๊อซออก ถ้ายังมีเลือดซึมจากแผลให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ 1 ชั่วโมง
  3. ประคบด้วยน้ำแข็งภายนอกบริเวณแก้มข้างที่ทำการผ่าตัดหรือถอนฟัน 24 - 48 ชั่วโมง
  4. รับประทานอาหารอ่อน ๆ ภายหลังรับประทานอาหารให้บ้วนน้ำเบา ๆ ได้ในช่วง 3 วันแรก และหลังจากนั้นสามารถบ้วนน้ำตามปกติ
  5. รับประทานยาแก้ปวดหลังถอนฟัน 1 – 2 ชั่วโมง ก่อนที่ยาชาจะหมดฤทธิ์ ปกติจะทนอาการปวดได้ในช่วง 6 – 12 ชั่วโมงหลังถอนฟัน
  6. แปรงฟันทำความสะอาดได้ตามปกติ
  7. ตัดไหมได้ภายหลังการถอนฟัน 5 - 7 วัน
  8. กรณีมีรูทะลุโพรงอากาศ (ทะลุไซนัส) ให้งดการบ้วนน้ำรุนแรง กรณีไอ จาม ให้อ้าปากกว้าง เพื่อลดแรงดัน งดสั่งน้ำมูก ให้ซับ ๆ เพียงอย่างเดียวและงด ว่ายน้ำ 2 เดือน
  9. หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น ให้โทรนัดหมายเพื่อกลับมารับการตรวจวินิจฉัยอีกครั้ง

 

ข้อห้ามซึ่งอาจมีผลทำให้เลือดไหลไม่หยุด

  1. ห้ามดูดแผล หรือเอานิ้วและวัสดุใด ๆ เขี่ยแผล
  2. ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำลายภายหลังการทำการผ่าตัดหรือถอนฟัน ภายใน 1 - 2 ชั่วโมง
  3. ห้ามสูบบุหรี่ กินหมาก และดื่มสุรา ภายใน 24 ชั่วโมง
  4. ห้ามออกกำลังกาย ภายใน 24 ชั่วโมง ในผู้มีภาวะเสี่ยงเลือดออก ควรงดออกกำลังกาย 5 - 7 วัน หลังถอนฟัน
  5. ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ หรือบ้วนน้ำแรง ๆ หลังถอนฟัน 3 วัน

 

วิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด

     ระยะเวลาปกติที่เกิดการแข็งตัวของเลือดจนเลือดหยุดไหลประมาณ 7 – 10 นาที หลังจากทำการกดแผลเพื่อห้ามเลือด และเลือดจะแข็งตัวเต็มที่ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่กรณีมีบาดแผลในช่องปากจะเป็นแผลเปิดที่มีน้ำลายมาสัมผัสตลอดเวลา ทำให้มีเลือดออกได้นานกว่าปกติ ดังนั้นควรทราบวิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด ดังนี้

  1. มีเลือดออก ให้กัดผ้าก๊อซนาน 10 – 15 นาที ถ้าเลือดไม่ชุ่มจนออกนอกผ้าก๊อซแสดงว่าภาวะการแข็งตัวของเลือดปกติ ให้กัดผ้าก๊อซจนครบ 1 ชั่วโมง
  2. เมื่อกัดผ้าก๊อซครบ 1 ชั่วโมง แล้วประเมินอีกครั้ง โดยคายผ้าทิ้ง รอดูว่าในช่องปากมีเลือดออกมาอีกหรือไม่ใน 10 นาที ถ้ายังมีเลือดซึมออกมาให้กัดผ้าก๊อซต่ออีก 1 ชั่วโมง แล้วประเมินอีกครั้ง ผ้าก๊อซที่กัดต้องไม่ชุ่มเลือดหรืออาจมีส่วนของผ้าที่ยังมีสีขาวอยู่ และภายใน 10 นาทีหลังประเมินไม่พบเลือดออกอีกแสดงว่าเลือดหยุดได้ดี
  3. ถ้าหลังกัดผ้าก๊อซแล้ว 15 นาทียังรู้สึกว่ามีเลือดออกมากเป็นลิ่ม ในเวลา 8:00 – 20:00 ให้ติดต่อที่แผนกทันตกรรม 02-419-2344 ถ้านอกเวลาบริการให้โทรสอบถามได้ที่เบอร์ 1474 ติดต่อคลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อเข้ารับบริการ

 

ชมคลิป การถอนฟัน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3  โซน A

 

 

     การถอนฟัน คือการรักษาโดยการนำเอาฟันออกจากกระดูกเบ้าฟัน เนื่องจากเหตุหลายประการ ดังนี้

  1. ฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน และไม่สามารถบูรณะได้
  2. ฟันที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง (Advanced periodontal disease) และไม่สามารถรักษาได้
  3. ฟันน้ำนมไม่หลุดตามระยะเวลา ทำให้ฟันแท้ข้างใต้ขึ้นมาแทนที่ไม่ได้หรือฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่ง
  4. ฟันที่ต้องถอนเพื่อการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน
  5. ฟันที่ต้องถอนเพื่อการใส่ฟัน
  6. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ ฟันแตก ฟันหักแบบที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือรากฟันหัก ไม่สามารถอุดหรือรักษาคลองรากฟันได้
  7. ฟันที่อยู่ในแนวหักของขากรรไกร ในรายที่กระดูกเบ้าฟันหัก หรือกระดูกขากรรไกรหัก ต้องพิจารณาแต่ละรายให้ดีว่าควรถอนหรือควรเก็บไว้
  8. ฟันที่มีพยาธิสภาพของกระดูกรอบ ๆ รากฟัน เช่น ถุงน้ำ (Cyst), เนื้องอก (Tumor), กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis) หรือกระดูกขากรรไกรตาย (Bone necrosis)
  9. ฟันที่อยู่ในบริเวณที่ต้องได้รับการฉายรังสีรักษาและมีภาวะเสี่ยงที่จะต้องถอนในอนาคต
  10. มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟัน ซึ่งทันตแพทย์เห็นสมควรที่จะถอน เช่น ปัญหาฟันคุด ฟันชน (Embedded or Impacted tooth) ฟันเกิน (Supernumerary tooth) หรือฟันที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
  11. ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีได้ เกิดปัญหาติดเชื้อจากฟันและเหงือกบ่อย ๆ และไม่ใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหารอีกต่อไป อาจพิจารณาถอนออกเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในช่องปากได้

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการถอนฟัน

     เพื่อกำจัดฟันที่มีพยาธิสภาพต่าง ๆ หรือฟันที่ไม่เกิดประโยชน์ออก โดยการรักษาจะกระทำภายใต้การให้ยาชาเฉพาะที่หรือการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

 

ข้อดีของการถอนฟัน

  1. กำจัดอาการปวดจากสาเหตุต่างๆ
  2. กำจัดเชื้อในช่องปาก ป้องกันการติดเชื้อในบริเวณใบหน้า
  3. ช่วยให้ฟันแท้ขึ้นได้ตามปกติ
  4. ลดโอกาสเกิดฟันผุ ในฟันที่ขึ้นซ้อนเก
  5. ป้องกันไม่ให้มีฟันหลุดไปอุดหลอดลม กรณีฟันโยกและผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว

 

ข้อด้อยของการถอนฟัน

  1. ผู้ป่วยอาจมีความเจ็บปวด และเกิดความเครียดขณะรับการรักษา ในกรณีที่มีความเจ็บปวดมาก ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ระงับความเจ็บปวดเพิ่มเติม
  2. สูญเสียฟันในการบดเคี้ยวอาหาร 
  3. สูญเสียความสวยงาม
  4. กรณีสูญเสียฟันมาก ๆ อาจพบฟันที่เหลือสบโดนเหงือกเกิดแผลได้

 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดภายหลังการถอนฟัน

  1. หลังถอนฟัน ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดและไม่สบาย นอกจากเกิดจากแผลแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ป่วยด้วย โดยทั่ว ๆ ไปแล้วความเจ็บปวดหลังถอนฟันจะไม่รุนแรง ความเจ็บปวดจะปรากฏอยู่ประมาณ 12 ชั่วโมงหลังถอนฟันและลดระดับลงเรื่อย ๆ ไม่เกิน 2 วันหลังจากถอนฟัน การแก้อาการปวดโดยการรับประทานยาแก้ปวดสามารถลดอาการปวดจากการถอนฟันได้
  2. อาจเกิดอาการบวม ปกติการบวมเป็นปฎิกิริยาตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อภยันตรายที่เกิดขึ้น ยิ่งเกิด มากเท่าใด การบวมจะมากขึ้นเท่านั้น กรณีที่ถอนฟันโดยวิธีการผ่าตัด อาการบวมจะเกิดมากที่สุดในเวลา 48 - 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ถ้าการบวมเกิดขึ้นหลังวันที่ 3 ของการผ่าตัด ควรนึกถึงภาวะติดเชื้อมากกว่าจะเป็นการบวมจากการผ่าตัด การใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบข้างแก้มบริเวณที่ทำผ่าตัดทันทีในวันแรกที่ทำผ่าตัด 24 ชั่วโมง จะช่วยให้บวมน้อยลงได้
  3. อาจพบอาการติดเชื้อหลังถอนฟันได้ ซึ่งมักพบในผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ ในบางกรณีทันตแพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อไว้ก่อน แต่ถ้ามีอาการติดเชื้อ ปวด บวม แดง มีหนอง เป็นไข้  แนะนำให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
  4. มีเลือดออกมากผิดปกติ หรือมีเลือดออกซ้ำหลังจากถอนฟันไปหลายวัน การป้องกันปัญหาเลือดออก คือ ผู้ป่วยควรกัดผ้าก๊อซไว้ให้แน่น อย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมงหลังถอนฟัน งดการสูบบุหรี่ บ้วนปาก เพราะทำให้มีเลือดออกจากแผลถอนฟันได้ เมื่อเลือดหยุดดีแล้ว ควรงดเคี้ยวอาหารด้านที่ทำการถอนฟันอย่างน้อย 1 สัปดาห์  ถ้ามีเลือดออกมาก หรือมีเลือดออกซ้ำภายหลังถอนฟันไปหลายวันให้กัดผ้าก๊อส 1 - 2 ชั่วโมงเช่นกัน ถ้ายังไม่หยุดหรือในระหว่างที่กัดผ้าก๊อสพบเลือดยังออกมาก ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ทันที
  5. กรณีถอนฟันกรามน้อยบนหรือฟันกรามบนอาจพบรูทะลุโพรงอากาศ (ไซนัส) หรือฟันอาจหลุดเข้าโพรงอากาศ ทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้การรักษาโดยอาจนำฟันออกผ่านทางแผลถอนฟันเดิม หรือทำการเปิดแผลผ่าตัดบริเวณด้านหน้าของโพรงอากาศ เพื่อให้นำฟันออกมาได้ หลังจากนั้นจึงมาทำการรักษาบริเวณที่ถอนฟัน โดยอาจเย็บแผลถอนฟันร่วมกับการใส่วัสดุช่วยปิดรูทะลุ หรือพิจารณาผ่าตัดย้ายเนื้อเยื่อมาปิดช่องที่ทะลุและเย็บแผล ทำการประเมินอีกครั้งประมาณ 10 วันหลังรักษา อาจมีการเย็บปิดรูทะลุโพรงอากาศหลายครั้งถ้ารูทะลุมีขนาดใหญ่ อาจพบอาการปวดตึงๆ ที่โหนกแก้ม ระคายเคืองและมีน้ำมูกประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ มีเลือดดำๆ ไหลลงคอได้ในช่วงสัปดาห์แรก ถ้าในระยะยาวยังมีอาการปวดรุนแรงอาจพบการติดเชื้อได้ การเดินทางด้วยเครื่องบินอาจมีแรงดันทำให้มีอาการปวด
  6. แผลถอนฟันหายช้า หรือมีเศษกระดูกโผล่ มักพบได้ในผู้มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการหายของแผลหรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมักจะกลับมาด้วยอาการปวดแผล เขี่ยแผลแล้วเจ็บแปล๊บ ๆ หรือรู้สึกมีอะไรคม ๆ บาดลิ้น เป็นต้น
  7. เกิดภาวะกระดูกแห้งติดเชื้อ โดยจะมีอาการปวดรุนแรงได้เวลามีสิ่งกระทบ เกิดเนื่องจากก้อนเลือดในแผลหลุดออกจากเบ้าฟันที่ถอน อาจหลุดในระหว่างการบ้วนน้ำแรง ๆ ได้ มักพบอาการปวดหลังถอนฟันไป 3 - 4 วันแล้ว อาการจะหายไปก็ต่อเมื่อมีเนื้อเยื่อสร้างมาคลุมปิดกระดูกเบ้าฟันทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 7 - 14 วัน ในระหว่างรอแผลหายจะได้รับวัสดุไปอุดในเบ้าฟันป้องกันอาหาร น้ำ น้ำลาย เข้ามาสัมผัสกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งจะเป็นการทำให้อาการปวดทุเลาลง
  8. อาจจะพบรอยเซาะของเลือดจากแผลมาที่ผิวหน้าและบริเวณใกล้เคียงกับที่ผ่าตัด ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือผู้ป่วยโรคเลือด รอยเลือดดังกล่าวจะค่อย ๆ จางไปภายใน 2 - 3 สัปดาห์
  9. การอ้าปากได้จำกัด เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว หรือเกิดจากการฉีดยาชาเพื่อสกัดเส้นประสานที่ผ่านกล้ามเนื้อซึ่งควบคุมการอ้าปากหุบปากได้ อีกกรณีคือผู้ป่วยกังวลคือการรักษาฝึกให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด โดยพยายามอ้าปาก ใช้นิ้วมือหรือไม้กดลิ้นง้างค้างไว้ 2 นาทีแล้วผ่อนลง ทำบ่อย ๆ ร่วมกับการใช้น้ำอุ่นประคบข้างแก้มและหน้าหู ระยะปกติในผู้ใหญ่สามารถอ้าปากได้ประมาณ 3 เซนติเมตร เมื่อวัดจากปลายฟันบนและฟันล่าง
  10. อาจพบอาการชาที่ริมฝีปากได้ โดยเฉพาะริมฝีปากล่าง เนื่องจากปลายรากฟันอยู่ใกล้ชิดกับเส้นประสาทรับความรู้สึกของขากรรไกรล่างและริมฝีปาก สังเกตโดยหลังถอนฟันไป 4 - 5 ชั่วโมงแล้วอาการชาที่ริมฝีปากไม่ลดลง อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 3 - 6 เดือน ผู้ที่มีอาการชาควรระมัดระวังในการเคี้ยวเพราะอาจกัดริมฝีปากได้โดยไม่รู้ตัว ถ้าชามาก ๆ อาจต้องกลืนน้ำลายบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้น้ำลายไหลออกมานอกช่องปาก ริมฝีปากจะเป็นส่วนแรกที่กลับมารับความรู้สึกได้ปกติก่อนโดยจะมีอาการนำ เช่น อาการเจ็บแปล็บ ๆ เป็นบางครั้งได้ ในบางรายอาการชาจะหลงเหลืออยู่เป็นเวลานานแต่จะเป็นแค่บริเวณเล็ก ๆ ที่คางได้

 

ทางเลือกของการรักษา

  1. ทำการถอนฟันภายใต้ยาชาเฉพาะที่ซึ่งในผู้รับบริการที่ไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ร่างกายแข็งแรง ไม่แพ้ยาชา ไม่มีความกังวลต่อการรักษาสามารถทำได้ ก็จะลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายได้
  2. ทำการถอนฟันภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ซึ่งใช้ในกรณีที่มีประวัติแพ้ยาชา มีความกังวล ความกลัวการถอนฟันขั้นรุนแรง จนไม่สามารถทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ได้ ผู้รับบริการที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ ซึ่งการรักษาด้วยยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายจะมีภาวะเสี่ยงต่อการแพ้ยาที่ใช้เพิ่มขึ้น บาดเจ็บขณะใส่ท่อช่วยหายใจ มีโอกาสติดเชื้อที่ปอดได้ ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวซับซ้อนอาจมีความเสี่ยงที่รุนแรงมากขึ้นได้
  3. กรณียังไม่พร้อมรับการรักษาอาจใช้วิธีสังเกตอาการ ถ้ามีอาการเจ็บ ปวด การมีใบหน้าบวม แสดงว่าควรได้รับการถอนฟัน

 

กรณีปฏิเสธการรักษาอาจเกิดผลต่างๆ ตามมาดังนี้

  1. มีการติดเชื้อจากฟันสู่ปลายรากและกระดูกเบ้าฟัน จนส่งผลให้มีการติดเชื้อบริเวณใบหน้าได้
  2. บดเคี้ยวอาหารลำบาก
  3. สามารถกลายเป็นเนื้องอกหรือถุงน้ำในขากรรไกรได้
  4. อาจมีการติดเชื้อจากในช่องปากไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ในผู้ที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม ข้อเข่าเทียม อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนการถอนฟัน

  1. ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหาร และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  2. ผู้มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำ ควรรับประทานอาหาร และยามาตามปกติ
  3. ในเด็กอาจจะต้องเข้ารับการรักษาห่างจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียน
  4. ผู้มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบในการรักษาจากแพทย์ก่อนและเตรียมตัวให้พร้อมรับการถอนฟัน เช่น ผู้ที่มีโรคทางโลหิตวิทยา ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤต เป็นต้น
  5. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจรุนแรง ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียม เช่น ลิ้นหัวใจ ข้อเข่าเทียม ผู้ที่เป็นหลอดเลือดดำอุดตัน  จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการรักษา 1 ชั่วโมง
  6. ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟาริน (Warfarin) จะได้รับการส่งตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดก่อน เพื่อให้ทันตแพทย์พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะถอนฟันได้หรือไม่ ซึ่งค่าความแข็งตัวของเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.5 สามารถถอนฟันได้
  7. ผู้ที่วิตกกังวลสูงหรือผู้ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา อาจพิจารณาทำการรักษาภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
  8. ควบคุมความดันโลหิต ไม่ควรต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท และไม่ควรสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจผ่อนผันให้ถึง 160/90 มิลลิเมตรปรอท ในผู้สูงอายุหรือกรณีปวดฟันมากความดันอาจขึ้นสูงได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตต่ำในเกณฑ์ที่แพทย์ยอมรับได้จึงจะได้รับการถอนฟัน
  9. วันที่มารับการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติด้านสุขภาพอีกครั้ง ควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด โรคประจำตัว รวมถึงการแพ้อาหาร และยาประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

 

ขั้นตอนการถอนฟัน

  1. ทันตแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา จะทำการยืนยันแผนการรักษากับผู้ป่วย โดยระบุตำแหน่งฟันที่จะถอนในครั้งนี้ให้ชัดเจนกับผู้ป่วยหรือญาติ
  2. ฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณฟันที่ต้องการกำจัดออก รอประมาณ 5 - 10 นาที เมื่อทดสอบว่ายาชาออกฤทธิ์
  3. ถอนฟันออกตามแผนการรักษาที่วางไว้ กรณีที่ถอนยากอาจต้องใช้เครื่องกรอฟันสำหรับผ่าตัดร่วมด้วย เมื่อนำฟันออกแล้วให้กัดผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือด
  4. กรณีเลือดออกมาก เหงือกขยับได้หรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ จะทำการห้ามเลือดด้วยการใส่วัสดุช่วยการแข็งตัวของเลือดร่วมกับการเย็บปิดแผล และให้ผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซให้แน่นเพื่อห้ามเลือด หรืออาจต้องใส่เครื่องมือคงสภาพร่วมกับวัสดุคงสภาพ ช่วยห้ามเลือดอีกชั้นหนึ่ง
  5. บางกรณีหลังถอนฟัน ทันตแพทย์อาจพิจารณาตกแต่งลักษณะของกระดูกเบ้าฟันให้เหมาะสมกับการใส่ฟันควบคู่ไปด้วย เพื่อที่จะไม่ต้องมารับการผ่าตัดตกแต่งสันกระดูกในภายหลัง
  6. หลังถอนฟันผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ปวด หรืออาจได้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานร่วมด้วย
  7. ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟันในทุกครั้งหลังถอนฟันเสร็จ

 

คำแนะนำภายหลังการถอนฟัน

  1. กัดผ้าก๊อซนาน 1 - 2 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ  
  2. ครบ 2 ชั่วโมง คายผ้าก๊อซออก ถ้ายังมีเลือดซึมจากแผลให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ 1 ชั่วโมง
  3. ประคบด้วยน้ำแข็งภายนอกบริเวณแก้มข้างที่ทำการผ่าตัดหรือถอนฟัน 24 - 48 ชั่วโมง
  4. รับประทานอาหารอ่อน ๆ ภายหลังรับประทานอาหารให้บ้วนน้ำเบา ๆ ได้ในช่วง 3 วันแรก และหลังจากนั้นสามารถบ้วนน้ำตามปกติ
  5. รับประทานยาแก้ปวดหลังถอนฟัน 1 – 2 ชั่วโมง ก่อนที่ยาชาจะหมดฤทธิ์ ปกติจะทนอาการปวดได้ในช่วง 6 – 12 ชั่วโมงหลังถอนฟัน
  6. แปรงฟันทำความสะอาดได้ตามปกติ
  7. ตัดไหมได้ภายหลังการถอนฟัน 5 - 7 วัน
  8. กรณีมีรูทะลุโพรงอากาศ (ทะลุไซนัส) ให้งดการบ้วนน้ำรุนแรง กรณีไอ จาม ให้อ้าปากกว้าง เพื่อลดแรงดัน งดสั่งน้ำมูก ให้ซับ ๆ เพียงอย่างเดียวและงด ว่ายน้ำ 2 เดือน
  9. หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น ให้โทรนัดหมายเพื่อกลับมารับการตรวจวินิจฉัยอีกครั้ง

 

ข้อห้ามซึ่งอาจมีผลทำให้เลือดไหลไม่หยุด

  1. ห้ามดูดแผล หรือเอานิ้วและวัสดุใด ๆ เขี่ยแผล
  2. ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำลายภายหลังการทำการผ่าตัดหรือถอนฟัน ภายใน 1 - 2 ชั่วโมง
  3. ห้ามสูบบุหรี่ กินหมาก และดื่มสุรา ภายใน 24 ชั่วโมง
  4. ห้ามออกกำลังกาย ภายใน 24 ชั่วโมง ในผู้มีภาวะเสี่ยงเลือดออก ควรงดออกกำลังกาย 5 - 7 วัน หลังถอนฟัน
  5. ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ หรือบ้วนน้ำแรง ๆ หลังถอนฟัน 3 วัน

 

วิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด

     ระยะเวลาปกติที่เกิดการแข็งตัวของเลือดจนเลือดหยุดไหลประมาณ 7 – 10 นาที หลังจากทำการกดแผลเพื่อห้ามเลือด และเลือดจะแข็งตัวเต็มที่ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่กรณีมีบาดแผลในช่องปากจะเป็นแผลเปิดที่มีน้ำลายมาสัมผัสตลอดเวลา ทำให้มีเลือดออกได้นานกว่าปกติ ดังนั้นควรทราบวิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด ดังนี้

  1. มีเลือดออก ให้กัดผ้าก๊อซนาน 10 – 15 นาที ถ้าเลือดไม่ชุ่มจนออกนอกผ้าก๊อซแสดงว่าภาวะการแข็งตัวของเลือดปกติ ให้กัดผ้าก๊อซจนครบ 1 ชั่วโมง
  2. เมื่อกัดผ้าก๊อซครบ 1 ชั่วโมง แล้วประเมินอีกครั้ง โดยคายผ้าทิ้ง รอดูว่าในช่องปากมีเลือดออกมาอีกหรือไม่ใน 10 นาที ถ้ายังมีเลือดซึมออกมาให้กัดผ้าก๊อซต่ออีก 1 ชั่วโมง แล้วประเมินอีกครั้ง ผ้าก๊อซที่กัดต้องไม่ชุ่มเลือดหรืออาจมีส่วนของผ้าที่ยังมีสีขาวอยู่ และภายใน 10 นาทีหลังประเมินไม่พบเลือดออกอีกแสดงว่าเลือดหยุดได้ดี
  3. ถ้าหลังกัดผ้าก๊อซแล้ว 15 นาทียังรู้สึกว่ามีเลือดออกมากเป็นลิ่ม ในเวลา 8:00 – 20:00 ให้ติดต่อที่แผนกทันตกรรม 02-419-2344 ถ้านอกเวลาบริการให้โทรสอบถามได้ที่เบอร์ 1474 ติดต่อคลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อเข้ารับบริการ

 

ชมคลิป การถอนฟัน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3  โซน A

 

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง