วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส เกิดจากการติดเชื้อไวรัส วาริเซลลา ซอสเตอร์ (varicella zoster virus; VZV) ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำบนผิวหนัง หรือสูดหายใจเอาละอองฝอยของสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ โรคนี้สามารถหายได้เอง หลังจากที่ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต โดยทั่วไปในเด็กอาการจะไม่รุนแรง แต่การติดเชื้อในทารกแรกเกิด วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสเกิดโรครุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ นอกจากนี้การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงสองไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกเกิดโรคอีสุกอีใสแต่กำเนิด (congenital varicella syndrome) หลังจากเป็นอีสุกอีใสแล้วเชื้อนี้ยังอยู่ในปลายประสาท (dorsal root ganglia) ของร่างกาย เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันที่อ่อนแออาจได้รับการกระตุ้นเกิดเป็นโรคงูสวัด โรคอีสุกอีใสเกิดจากเชื้อไวรัส ระยะฟักตัวตั้งแต่ 10-21 วัน (เฉลี่ย 14 - 16 วัน) โดยโรคแพร่เชื้อได้ 48 ชั่วโมงก่อนผื่นขึ้นจนผื่นแห้งเป็นสะเก็ด

อาการโรคอีสุกอีใส

การติดเชื้อไวรัสนี้ ครั้งแรกมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก และมีอาการไม่รุนแรง เริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย หรือเจ็บคอ เบื่ออาหาร ตามด้วยมีตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ ขึ้นทั่วตัวภายใน 24 ชั่วโมง ตุ่มน้ำใสมักมีอาการคัน โดยผื่นเริ่มแรกเป็นแบบผื่นแดง (macules) ที่ต่อมากลายเป็นตุ่มนูน (papules) แล้วตามด้วยตุ่มน้ำใส (vesicles) และเปลี่ยนเป็นตุ่มหนอง (pustules) ผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสจะมีผื่นในระยะที่แตกต่างกันกระจายบนใบหน้า ลำตัว และแขนขา การเกิดตุ่มน้ำใสตุ่มใหม่โดยทั่วไปจะหยุดภายใน 4 วัน และส่วนใหญ่ผื่นจะตกสะเก็ดหมดในวันที่ 6 ส่วนสะเก็ดจะหลุดหมดภายในประมาณ 1 - 2 สัปดาห์

ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส?

ผู้ที่ยังไม่เคยมีประวัติเป็นโรคนี้ควรพิจารณารับการฉีดวัคซีนทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งมีโอกาสแพร่เชื้อให้กับผู้ที่มีภาวะที่เสี่ยงเหล่านี้ได้สูง ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อมากหรือมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้มาก เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ครู หรือผู้ที่ทำงานกับเด็กจำนวนมาก การได้รับวัคชีนจะช่วยลดการเป็นโรคอีสุกอีใสและช่วยลดการเกิดโรคที่มีอาการรุนแรง โดยต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (ขนาด 0.5 มล.) 2 ครั้ง ห่างกัน 4 - 8 สัปดาห์

 

ผลข้างเคียงของวัคซีน

อาจจะมีบวมแดงร้อนได้เล็กน้อยในตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน หรือจะมีผื่นขึ้นเฉพาะที่ มีไข้ต่ำ ๆ ได้ ผู้รับวัคซีนจำนวนน้อยมากที่จะมีอาการแพ้รุนแรง

ข้อห้ามและข้อควรระวัง

1. ห้ามให้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่จำนวนซีดี 4 (CD4) น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. หรือน้อยกว่าร้อยละ 15 และหญิงตั้งครรภ์

2. ผู้ที่รับประทานสเตียรอยด์ ขนาดมากกว่า 2 มก./กก./วัน หรือ 20 มก./วัน นานมากกว่า 2 สัปดาห์ ถ้าจะให้วัคซีน ควรหยุดยาสเตียรอยด์อย่างน้อย 1 เดือน

3. ผู้ที่ได้พลาสมา อิมมูโนโกลบูลิน หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดมาไม่นาน ไม่ควรให้วัคซีนเพราะอาจรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยควรเว้นช่วงเวลาหลังจากได้รับผลิตภัณฑ์จากเลือด

4. สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน หลังจากฉีดวัคซีน

5. ผู้ที่แพ้เจลาติน (gelatin) และนีโอมัยซิน (neomycin) แบบปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันรุนแรง (แอนาฟิแล็กซิส anaphylaxis) ควรหลีกเลี่ยงการให้วัคชีน

6. ยาต้านไวรัส ได้แก่ acyclovir, valacyclovir หรือ famciclovir จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาดังกล่าวภายใน 24 ชั่วโมงก่อนได้รับวัคซีน และภายใน 2 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีนอีสุกอีใส

ราคาวัคซีนต่อเข็ม

1,138 - 1,213 บาท (ราคา ณ มิ.ย. 68 อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E

โรคอีสุกอีใส เกิดจากการติดเชื้อไวรัส วาริเซลลา ซอสเตอร์ (varicella zoster virus; VZV) ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำบนผิวหนัง หรือสูดหายใจเอาละอองฝอยของสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ โรคนี้สามารถหายได้เอง หลังจากที่ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต โดยทั่วไปในเด็กอาการจะไม่รุนแรง แต่การติดเชื้อในทารกแรกเกิด วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสเกิดโรครุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ นอกจากนี้การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงสองไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกเกิดโรคอีสุกอีใสแต่กำเนิด (congenital varicella syndrome) หลังจากเป็นอีสุกอีใสแล้วเชื้อนี้ยังอยู่ในปลายประสาท (dorsal root ganglia) ของร่างกาย เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันที่อ่อนแออาจได้รับการกระตุ้นเกิดเป็นโรคงูสวัด โรคอีสุกอีใสเกิดจากเชื้อไวรัส ระยะฟักตัวตั้งแต่ 10-21 วัน (เฉลี่ย 14 - 16 วัน) โดยโรคแพร่เชื้อได้ 48 ชั่วโมงก่อนผื่นขึ้นจนผื่นแห้งเป็นสะเก็ด

อาการโรคอีสุกอีใส

การติดเชื้อไวรัสนี้ ครั้งแรกมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก และมีอาการไม่รุนแรง เริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย หรือเจ็บคอ เบื่ออาหาร ตามด้วยมีตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ ขึ้นทั่วตัวภายใน 24 ชั่วโมง ตุ่มน้ำใสมักมีอาการคัน โดยผื่นเริ่มแรกเป็นแบบผื่นแดง (macules) ที่ต่อมากลายเป็นตุ่มนูน (papules) แล้วตามด้วยตุ่มน้ำใส (vesicles) และเปลี่ยนเป็นตุ่มหนอง (pustules) ผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสจะมีผื่นในระยะที่แตกต่างกันกระจายบนใบหน้า ลำตัว และแขนขา การเกิดตุ่มน้ำใสตุ่มใหม่โดยทั่วไปจะหยุดภายใน 4 วัน และส่วนใหญ่ผื่นจะตกสะเก็ดหมดในวันที่ 6 ส่วนสะเก็ดจะหลุดหมดภายในประมาณ 1 - 2 สัปดาห์

ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส?

ผู้ที่ยังไม่เคยมีประวัติเป็นโรคนี้ควรพิจารณารับการฉีดวัคซีนทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งมีโอกาสแพร่เชื้อให้กับผู้ที่มีภาวะที่เสี่ยงเหล่านี้ได้สูง ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อมากหรือมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้มาก เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ครู หรือผู้ที่ทำงานกับเด็กจำนวนมาก การได้รับวัคชีนจะช่วยลดการเป็นโรคอีสุกอีใสและช่วยลดการเกิดโรคที่มีอาการรุนแรง โดยต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (ขนาด 0.5 มล.) 2 ครั้ง ห่างกัน 4 - 8 สัปดาห์

 

ผลข้างเคียงของวัคซีน

อาจจะมีบวมแดงร้อนได้เล็กน้อยในตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน หรือจะมีผื่นขึ้นเฉพาะที่ มีไข้ต่ำ ๆ ได้ ผู้รับวัคซีนจำนวนน้อยมากที่จะมีอาการแพ้รุนแรง

ข้อห้ามและข้อควรระวัง

1. ห้ามให้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่จำนวนซีดี 4 (CD4) น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. หรือน้อยกว่าร้อยละ 15 และหญิงตั้งครรภ์

2. ผู้ที่รับประทานสเตียรอยด์ ขนาดมากกว่า 2 มก./กก./วัน หรือ 20 มก./วัน นานมากกว่า 2 สัปดาห์ ถ้าจะให้วัคซีน ควรหยุดยาสเตียรอยด์อย่างน้อย 1 เดือน

3. ผู้ที่ได้พลาสมา อิมมูโนโกลบูลิน หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดมาไม่นาน ไม่ควรให้วัคซีนเพราะอาจรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยควรเว้นช่วงเวลาหลังจากได้รับผลิตภัณฑ์จากเลือด

4. สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน หลังจากฉีดวัคซีน

5. ผู้ที่แพ้เจลาติน (gelatin) และนีโอมัยซิน (neomycin) แบบปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันรุนแรง (แอนาฟิแล็กซิส anaphylaxis) ควรหลีกเลี่ยงการให้วัคชีน

6. ยาต้านไวรัส ได้แก่ acyclovir, valacyclovir หรือ famciclovir จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาดังกล่าวภายใน 24 ชั่วโมงก่อนได้รับวัคซีน และภายใน 2 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีนอีสุกอีใส

ราคาวัคซีนต่อเข็ม

1,138 - 1,213 บาท (ราคา ณ มิ.ย. 68 อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง