
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ โรคตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus; HBV) สามารถติดต่อทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน การติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ (ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90%) การถูกเข็มตำจากการทำงาน การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
ปัญหาเมื่อติดเชื้อโรค
1. ทำให้มีตับอักเสบเฉียบพลันซึ่งมีอาการปวดท้อง ตัวเหลืองตาเหลือง คลื่นไส้ อาเจียน
2. จำนวน 5-10% ของผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมีโอกาสต่อการเกิดตับแข็ง และมะเร็งตับได้
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
1. ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับผู้ใหญ่หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือดก่อน ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
2. ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย
ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี?
วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีสามารถป้องกันโรคตับอักเสบบี และอันตรายต่าง ๆ ที่ตามมาหลังจากการติดเชื้อตับอักเสบบีได้ รวมถึงมะเร็งตับและตับแข็ง สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีเพียงตัวเดียวหรือฉีดร่วม กับวัคซีนชนิดอื่นได้
ผลข้างเคียงของวัคซีน
อาจจะมีบวมแดงร้อนได้เล็กน้อยในตำแหน่งที่ฉีดวัคชีน หรือจะมีผื่นขึ้นเฉพาะที่ มีไข้ต่ำ ๆ ได้ ผู้รับวัคซีนจำนวนน้อยมากที่จะมีอาการแพ้รุนแรง
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
1. ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ชีวิตต่อยีสต์ทาขนมปังหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ของวัคซีน ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี แจ้งให้แพทย์ทราบหากผู้ที่รับการฉีดวัคซีนมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
2. ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ชีวิตเมื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีเข็มแรก ไม่ควรฉีดเข็มต่อไป
ราคาวัคซีน
ราคาต่อเข็ม 250-375 บาท (ราคา ณ มิ.ย. 68 อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E
ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ โรคตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus; HBV) สามารถติดต่อทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน การติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ (ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90%) การถูกเข็มตำจากการทำงาน การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
ปัญหาเมื่อติดเชื้อโรค
1. ทำให้มีตับอักเสบเฉียบพลันซึ่งมีอาการปวดท้อง ตัวเหลืองตาเหลือง คลื่นไส้ อาเจียน
2. จำนวน 5-10% ของผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมีโอกาสต่อการเกิดตับแข็ง และมะเร็งตับได้
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
1. ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับผู้ใหญ่หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือดก่อน ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
2. ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย
ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี?
วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีสามารถป้องกันโรคตับอักเสบบี และอันตรายต่าง ๆ ที่ตามมาหลังจากการติดเชื้อตับอักเสบบีได้ รวมถึงมะเร็งตับและตับแข็ง สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีเพียงตัวเดียวหรือฉีดร่วม กับวัคซีนชนิดอื่นได้
ผลข้างเคียงของวัคซีน
อาจจะมีบวมแดงร้อนได้เล็กน้อยในตำแหน่งที่ฉีดวัคชีน หรือจะมีผื่นขึ้นเฉพาะที่ มีไข้ต่ำ ๆ ได้ ผู้รับวัคซีนจำนวนน้อยมากที่จะมีอาการแพ้รุนแรง
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
1. ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ชีวิตต่อยีสต์ทาขนมปังหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ของวัคซีน ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี แจ้งให้แพทย์ทราบหากผู้ที่รับการฉีดวัคซีนมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
2. ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ชีวิตเมื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีเข็มแรก ไม่ควรฉีดเข็มต่อไป
ราคาวัคซีน
ราคาต่อเข็ม 250-375 บาท (ราคา ณ มิ.ย. 68 อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E