การเสริมฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุ (Fluoride)

     การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มจากการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี การเคลือบหลุมรอบฟัน การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รวมถึงการเสริมฟลูออไรด์ (Fluoride) เพื่อให้ฟันแข็งแรง สามารถใช้งานได้ตามอายุของฟันซี่นั้น ๆ และควรตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอทุก 6 เดือน

การเสริมฟลูออไรด์ สามารถใช้ได้ 2 วิธี คือ

  1. ฟลูออไรด์ที่ใช้ในระบบทั่วร่างกาย คือ ฟลูออไรด์ที่ได้รับจากการดื่มหรือรับประทานโดยร่างกายจะนำฟลูออไรด์ไปสะสมเป็นส่วนหนึ่งของผลึกเคลือบฟันและเนื้อฟันในขณะที่ฟันกำลังมีการเจริญเติบโต โดยฟลูออไรด์ที่ได้รับจะมี 2 รูปแบบคือ ฟลูออไรด์ตามธรรมชาติ เช่น ใบชา อาหารทะเล (ปลาแห้ง กุ้งแห้ง) เนื้อสัตว์ ผัก และฟลูออไรด์เสริม ซึ่งสามารถทำได้โดยการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่ม นม อาหารต่าง ๆ หรือผลิตในรูปของยาฟลูออไรด์เพื่อให้รับประทาน
  2. ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คือ การใช้ฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันโดยตรง เช่น การแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ การใช้ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ การขัดฟันด้วยสารฟลูออไรด์

 

 

 

วัยไหนจำเป็นต้องใช้ฟลูออไรด์?

  1. ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก

การใช้ฟลูออไรด์เสริม จะเริ่มใช้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนหรือฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น – 16 ปี ซึ่งขนาดของฟลูออไรด์เสริมที่ใช้ขึ้นอยู่กับปริมาณของฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม และอายุของเด็ก ตัวอย่างฟลูออไรด์ที่ใช้เฉพาะที่ ได้แก่

  • ยาสีฟันฟลูออไรด์ สำหรับใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ควรใช้ยาสีฟันปริมาณแค่แตะพอชื้น แนะนำในเด็กที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง
  • สำหรับในเด็กอายุ 3 - 6 ปี ควรใช้ยาสีฟันในขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด เนื่องจากเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี ยังไม่สามารถควบคุมการกลืนได้ดี ถ้าใช้ยาสีฟันปริมาณมากเกินไป เด็กอาจจะกลืนยาสีฟันลงไปทำให้เกิดอันตรายได้
  • ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ นิยมใช้ในเด็กตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปที่สามารถควบคุมการกลืนได้
  • การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ ไม่มีข้อกำหนดว่าควรเคลือบฟลูออไรด์และหยุดเคลือบฟลูออไรด์เมื่อใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ที่ทำการประเมินจากความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของเด็กคนนั้นๆ 
  1. ฟลูออไรด์สำหรับผู้ใหญ่

ในผู้ใหญ่ฟลูออไรด์มีความจำเป็นในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุในระดับปานกลางและสูง คือ มีฟันผุมากกว่า 1 - 2 ซี่ต่อปี รับประทานของหวานบ่อย ๆ ใส่เครื่องมือจัดฟัน มีโรคทางระบบหรือได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณศีรษะและลำคอ ตรวจสุขภาพฟันไม่สม่ำเสมอ สุขภาพฟันและช่องปากอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีหรือพอใช้ บุคคลเหล่านี้ควรจะได้รับฟลูออไรด์เฉพาะที่ เช่น ยาสีฟันฟลูออไรด์ ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ เคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ หรือนำไปเคลือบฟลูออไรด์เองที่บ้าน

การใช้ฟลูออไรด์จำเป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อนหรือไม่?

จำเป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อน เนื่องจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่ไม่เหมาะสม เช่น น้อยเกินไป จะทำให้ไม่ได้ผลเต็มที่ในการป้องกันฟันผุ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ การเกิดพิษของฟลูออไรด์ ได้แก่

  1. การเกิดพิษชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์เกินขนาด มักเกิดจากการรับประทานฟลูออไรด์ที่มีอยู่ในยาสีฟัน ยาบ้วนปาก ยาฟลูออไรด์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจะมีอาการรุนแรงเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับเข้าไป ตั้งแต่คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย จนกระทั่งเสียชีวิต
  2. การเกิดพิษชนิดเรื้อรัง เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณที่ควรได้รับเป็นเวลานาน อาการที่แสดงออก ได้แก่ ฟันตกกระ ปวดข้อมือ ข้อเท้า ถ้าเป็นมากอาจลุกลามไปยังกระดูกสันหลังจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้หายใจลำบากและเสียชีวิตในที่สุด มักพบในผู้ที่ดื่มน้ำบาดาลในภาคเหนือ

 

การใช้ฟลูออไรด์อย่างต่อเนื่องจะมีอันตรายหรือไม่?

     ผลจากการศึกษาพบว่า การได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่เหมาะสมต่อเนื่องกันเป็นเวลานานไม่มีอันตรายใด ๆ และไม่สัมพันธ์กับการเกิดโรคและไม่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งทุกชนิด รวมทั้งถ้าไม่ได้ใช้ฟลูออไรด์ก็จะไม่มีผลเสียถ้าสามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้ดี แต่ถ้าเราไม่สามารถดูแลได้ดีการใช้ฟลูออไรด์ก็จะช่วยป้องกันฟันผุได้ดีกว่าการไม่ใช้ฟลูออไรด์

 

ฟลูออไรด์สามารถป้องกันฟันผุได้จริงหรือไม่?

     ฟลูออไรด์สามารถป้องกันฟันผุได้ โดยฟลูออไรด์จะไปสะสมอยู่ในชั้นเคลือบฟันทำให้ผลึกเคลือบฟันแข็งแรงขึ้น ทนต่อกรดที่ทำให้เกิดฟันผุได้มากขึ้น นอกจากนี้ฟลูออไรด์ยังมีผลต่อแบคทีเรีย โดยจะไปลดการสร้างกรดของ แบคทีเรีย ลดการเกาะติดของคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน นอกจากนี้ฟลูออไรด์ยังทำให้เกิดการสะสมคืนกลับของแร่ ธาตุที่ผิวเคลือบฟัน เป็นผลให้ฟันผุในระยะเริ่มแรกหยุดการลุกลามต่อได้

 

ข้อแนะนำในการใช้ฟลูออไรด์

     สำหรับในเด็กการได้รับฟลูออไรด์เสริมควรปรึกษาทันตแพทย์ โดยทันตแพทย์จะพิจารณาจากปริมาณฟลูออไรด์ที่เด็กได้รับอยู่แล้ว อายุของเด็ก การรับประทานยาฟลูออไรด์เสริมควรรับประทานในช่วงท้องว่าง เพราะจะทำให้ฟลูออไรด์ดูดซึมได้มากที่สุด แต่ถ้ารับประทานพร้อมกับนมหรืออาหารที่มีแคลเซียมสูง ร่างกายจะดูดซึมฟลูออไรด์ลดลงร้อยละ 30 – 40 แนะนำให้รับประทานในระหว่างวัน โดยไม่ซ้อนทับหรือเวลาใกล้เคียงกับการได้รับฟลูออไรด์ทางอื่น และอมละลายซ้ำๆ เพื่อหวังผลเฉพาะที่มากกว่าผลทางระบบ

 

ทางเลือกของการรักษา

     ในกรณีที่ผู้ปกครองมีความกังวลในเรื่องของฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้นสูง หรือผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาสีฟัน หรือสงสัยแพ้ฟลูออไรด์ และไม่เคยมีประวัติแพ้นมวัวและโปรตีนจากนมวัว อาจพิจารณาใช้สารที่มีส่วนประกอบของ CPP-ACP (tooth mousse) แทนได้ ทั้งนี้เนื่องจากกลไกการทำงานที่ต่างกัน และเป็นสารที่เพิ่งมีการคิดค้นขึ้น ทำให้ยังขาดงานวิจัยที่มากพอจะนำมาใช้ทดแทนฟลูออไรด์ได้ แต่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้

 

ข้อมูลจาก: ทพญ.นราวัลลภ์ เชี่ยววิทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3  โซน A

     การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มจากการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี การเคลือบหลุมรอบฟัน การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รวมถึงการเสริมฟลูออไรด์ (Fluoride) เพื่อให้ฟันแข็งแรง สามารถใช้งานได้ตามอายุของฟันซี่นั้น ๆ และควรตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอทุก 6 เดือน

การเสริมฟลูออไรด์ สามารถใช้ได้ 2 วิธี คือ

  1. ฟลูออไรด์ที่ใช้ในระบบทั่วร่างกาย คือ ฟลูออไรด์ที่ได้รับจากการดื่มหรือรับประทานโดยร่างกายจะนำฟลูออไรด์ไปสะสมเป็นส่วนหนึ่งของผลึกเคลือบฟันและเนื้อฟันในขณะที่ฟันกำลังมีการเจริญเติบโต โดยฟลูออไรด์ที่ได้รับจะมี 2 รูปแบบคือ ฟลูออไรด์ตามธรรมชาติ เช่น ใบชา อาหารทะเล (ปลาแห้ง กุ้งแห้ง) เนื้อสัตว์ ผัก และฟลูออไรด์เสริม ซึ่งสามารถทำได้โดยการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่ม นม อาหารต่าง ๆ หรือผลิตในรูปของยาฟลูออไรด์เพื่อให้รับประทาน
  2. ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คือ การใช้ฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันโดยตรง เช่น การแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ การใช้ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ การขัดฟันด้วยสารฟลูออไรด์

 

 

 

วัยไหนจำเป็นต้องใช้ฟลูออไรด์?

  1. ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก

การใช้ฟลูออไรด์เสริม จะเริ่มใช้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนหรือฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น – 16 ปี ซึ่งขนาดของฟลูออไรด์เสริมที่ใช้ขึ้นอยู่กับปริมาณของฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม และอายุของเด็ก ตัวอย่างฟลูออไรด์ที่ใช้เฉพาะที่ ได้แก่

  • ยาสีฟันฟลูออไรด์ สำหรับใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ควรใช้ยาสีฟันปริมาณแค่แตะพอชื้น แนะนำในเด็กที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง
  • สำหรับในเด็กอายุ 3 - 6 ปี ควรใช้ยาสีฟันในขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด เนื่องจากเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี ยังไม่สามารถควบคุมการกลืนได้ดี ถ้าใช้ยาสีฟันปริมาณมากเกินไป เด็กอาจจะกลืนยาสีฟันลงไปทำให้เกิดอันตรายได้
  • ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ นิยมใช้ในเด็กตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปที่สามารถควบคุมการกลืนได้
  • การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ ไม่มีข้อกำหนดว่าควรเคลือบฟลูออไรด์และหยุดเคลือบฟลูออไรด์เมื่อใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ที่ทำการประเมินจากความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของเด็กคนนั้นๆ 
  1. ฟลูออไรด์สำหรับผู้ใหญ่

ในผู้ใหญ่ฟลูออไรด์มีความจำเป็นในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุในระดับปานกลางและสูง คือ มีฟันผุมากกว่า 1 - 2 ซี่ต่อปี รับประทานของหวานบ่อย ๆ ใส่เครื่องมือจัดฟัน มีโรคทางระบบหรือได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณศีรษะและลำคอ ตรวจสุขภาพฟันไม่สม่ำเสมอ สุขภาพฟันและช่องปากอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีหรือพอใช้ บุคคลเหล่านี้ควรจะได้รับฟลูออไรด์เฉพาะที่ เช่น ยาสีฟันฟลูออไรด์ ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ เคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ หรือนำไปเคลือบฟลูออไรด์เองที่บ้าน

การใช้ฟลูออไรด์จำเป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อนหรือไม่?

จำเป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อน เนื่องจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่ไม่เหมาะสม เช่น น้อยเกินไป จะทำให้ไม่ได้ผลเต็มที่ในการป้องกันฟันผุ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ การเกิดพิษของฟลูออไรด์ ได้แก่

  1. การเกิดพิษชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์เกินขนาด มักเกิดจากการรับประทานฟลูออไรด์ที่มีอยู่ในยาสีฟัน ยาบ้วนปาก ยาฟลูออไรด์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจะมีอาการรุนแรงเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับเข้าไป ตั้งแต่คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย จนกระทั่งเสียชีวิต
  2. การเกิดพิษชนิดเรื้อรัง เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณที่ควรได้รับเป็นเวลานาน อาการที่แสดงออก ได้แก่ ฟันตกกระ ปวดข้อมือ ข้อเท้า ถ้าเป็นมากอาจลุกลามไปยังกระดูกสันหลังจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้หายใจลำบากและเสียชีวิตในที่สุด มักพบในผู้ที่ดื่มน้ำบาดาลในภาคเหนือ

 

การใช้ฟลูออไรด์อย่างต่อเนื่องจะมีอันตรายหรือไม่?

     ผลจากการศึกษาพบว่า การได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่เหมาะสมต่อเนื่องกันเป็นเวลานานไม่มีอันตรายใด ๆ และไม่สัมพันธ์กับการเกิดโรคและไม่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งทุกชนิด รวมทั้งถ้าไม่ได้ใช้ฟลูออไรด์ก็จะไม่มีผลเสียถ้าสามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้ดี แต่ถ้าเราไม่สามารถดูแลได้ดีการใช้ฟลูออไรด์ก็จะช่วยป้องกันฟันผุได้ดีกว่าการไม่ใช้ฟลูออไรด์

 

ฟลูออไรด์สามารถป้องกันฟันผุได้จริงหรือไม่?

     ฟลูออไรด์สามารถป้องกันฟันผุได้ โดยฟลูออไรด์จะไปสะสมอยู่ในชั้นเคลือบฟันทำให้ผลึกเคลือบฟันแข็งแรงขึ้น ทนต่อกรดที่ทำให้เกิดฟันผุได้มากขึ้น นอกจากนี้ฟลูออไรด์ยังมีผลต่อแบคทีเรีย โดยจะไปลดการสร้างกรดของ แบคทีเรีย ลดการเกาะติดของคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน นอกจากนี้ฟลูออไรด์ยังทำให้เกิดการสะสมคืนกลับของแร่ ธาตุที่ผิวเคลือบฟัน เป็นผลให้ฟันผุในระยะเริ่มแรกหยุดการลุกลามต่อได้

 

ข้อแนะนำในการใช้ฟลูออไรด์

     สำหรับในเด็กการได้รับฟลูออไรด์เสริมควรปรึกษาทันตแพทย์ โดยทันตแพทย์จะพิจารณาจากปริมาณฟลูออไรด์ที่เด็กได้รับอยู่แล้ว อายุของเด็ก การรับประทานยาฟลูออไรด์เสริมควรรับประทานในช่วงท้องว่าง เพราะจะทำให้ฟลูออไรด์ดูดซึมได้มากที่สุด แต่ถ้ารับประทานพร้อมกับนมหรืออาหารที่มีแคลเซียมสูง ร่างกายจะดูดซึมฟลูออไรด์ลดลงร้อยละ 30 – 40 แนะนำให้รับประทานในระหว่างวัน โดยไม่ซ้อนทับหรือเวลาใกล้เคียงกับการได้รับฟลูออไรด์ทางอื่น และอมละลายซ้ำๆ เพื่อหวังผลเฉพาะที่มากกว่าผลทางระบบ

 

ทางเลือกของการรักษา

     ในกรณีที่ผู้ปกครองมีความกังวลในเรื่องของฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้นสูง หรือผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาสีฟัน หรือสงสัยแพ้ฟลูออไรด์ และไม่เคยมีประวัติแพ้นมวัวและโปรตีนจากนมวัว อาจพิจารณาใช้สารที่มีส่วนประกอบของ CPP-ACP (tooth mousse) แทนได้ ทั้งนี้เนื่องจากกลไกการทำงานที่ต่างกัน และเป็นสารที่เพิ่งมีการคิดค้นขึ้น ทำให้ยังขาดงานวิจัยที่มากพอจะนำมาใช้ทดแทนฟลูออไรด์ได้ แต่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้

 

ข้อมูลจาก: ทพญ.นราวัลลภ์ เชี่ยววิทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3  โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง