อาหารบรรเทาอาการข้างเคียง จากการรักษาโรคมะเร็ง

อาหารมีความสำคัญอย่างไรสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

  ปัจจุบัน มักมีการบอกเล่าจากปากต่อปากและจากสื่อสังคมต่างๆ ที่ส่งต่อกันว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรเลือกรับประทานอาหาร หรือห้ามรับประทานอาหารชนิดใดบ้าง เพราะอาจส่งผลต่อโรคที่เป็น ทำให้ผู้ป่วยหลายรายเกิดความวิตกกังวลและไม่กล้ารับประทานอาหารอะไรเลย

   ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย ครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและไม่ควรรับประทานอาหารเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง

   การรับประทานอาหารให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายระหว่างที่ได้รับการรักษา จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและสามารถตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงทำให้ต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆได้ดี ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด การฉายรังสีและยาเคมีบำบัด เช่น แผลติดเชื้อ แผลผ่าตัดหายช้า เป็นต้น

กินอย่างไรเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง

อาการเจ็บที่ปาก มีแผลในปาก เหงือก และในคอ หรือมีปัญหาการกลืน

  อาหารหลัก เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ ข้าวต้ม กระเพาะปลา โจ๊ก ปลานึ่ง ไข่ตุ๋น แกงจืดต่างๆ ต้มจับฉ่าย ไข่เจียวนิ่มๆ (ใช้น้ำมันน้อย) เต้าหู้ทรงเครื่อง มักกะโรนีชีส มันฝรั่งบด ซุป สตูว์

  ของว่าง เช่น วุ้น แพนเค้ก ตะโก้ สังขยาฟักทอง ไข่หวาน ทองหยอด สาคูเปียก ลอดช่อง ฟักทองแกงบวด ขนมเปียกปูน ขนมฟักทองนึ่ง กล้วยเชื่อมนิ่มๆ ไอศกรีมเชอร์เบท พุดดิ้ง โยเกิร์ต เต้าฮวย เนยถั่วแบบครีม คัสตาร์ด

  เครื่องดื่ม เช่น มิลค์เชค สมูทตี้

  ผลไม้ เช่น กล้วย มะละกอ มะม่วงสุก แก้วมังกร แตงโม

ข้อแนะนำ

• แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ และรับประทานอาหารให้บ่อยมื้อมากขึ้น

• รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย กลืนง่าย

• รับประทานอาหารที่มีความเย็น หรือตามอุณหภูมิห้อง เช่น เครื่องดื่มเย็นๆ หรือไอศกรีม

• ดื่มน้ำ หรือของเหลวจากหลอด

• ใช้ช้อนขนาดเล็กกว่าปกติ

• หลีกเลี่ยงอาหาร หรือของเหลวที่ระคายเคืองช่องปาก เช่น ส้ม มะนาว อาหารรสเผ็ดจัด เค็มจัด ผักที่ไม่ได้ทำให้สุก อาหารที่ร้อนจัด

 

อาการท้องเสีย

  อาหารหลัก เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เนื้อไก่ต้ม หรือย่าง (เอาหนังออก) ไข่ เนื้อปลา ก๋วยเตี๋ยว
น้ำใสไม่ใส่ผัก มันฝรั่งปอกเปลือกต้มหรืออบ

  ของว่าง เช่น วุ้น เยลลี่ หวานเย็น แครกเกอร์ เชอร์เบท เวเฟอร์วานิลลา

  เครื่องดื่ม เช่น น้ำเปล่า เกลือแร่ผง (ORS)

คำแนะนำ

• ดื่มน้ำสะอาด หรือของเหลวเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป

• รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ ตลอดวัน เพิ่มมื้อว่าง

• รับประทานอาหารและน้ำที่อุดมไปด้วยเกลือแร่โซเดียมและโพแทสเซียม เช่น เกลือแร่ผง (ORS) โดยละลายผงเกลือแร่ตามคำแนะนำข้างสลาก และให้จิบแทนน้ำเปล่าในช่วงที่มีอาการ

• ควรหลีกเลี่ยงนมและผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากอาจทำให้อาการท้องเสียรุนแรงขึ้น เพราะร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ในขณะที่มีความเจ็บป่วย ซึ่งก่อให้เกิดอาการมีลมในกระเพาะ ปวดเกร็งท้อง ท้องเสีย ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะหายไปหลังจากการรักษาสิ้นสุดลง 2 - 3 สัปดาห์

• อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารมัน ของทอด ผักดิบ บรอกโคลี ข้าวโพด ถั่ว กะหล่ำปลี
ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ อาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นเกินไป เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต เครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น น้ำอัดลม โซดา

อาการปากแห้ง

  อาหารหลัก เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ ข้าวต้มเครื่อง ซุปใส ซุปข้นต่างๆ แกงจืดต่างๆ

  ของว่าง เช่น ไอศกรีม สมูทตี้ เฉาก๊วย วุ้นใส่น้ำเชื่อม น้ำหวานต่างๆ อาหารทางการแพทย์

  ผลไม้ เช่น น้ำผลไม้ แตงโม สาลี่

ข้อแนะนำ

• จิบหรือดื่มน้ำบ่อยๆ

• ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีลักษณะนิ่ม อาหารที่มีีน้ำเป็นส่วนประกอบ อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลายได้

• รับประทานอาหารว่างที่มีรสหวาน หรือ รสเปรี้ยว เพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำลาย (ไม่ควรให้ในผู้ป่วยมีแผลบริเวณช่องปาก)

• ทาริมฝีปากด้วยลิปบาล์มหรือสีผึ้ง กรณีริมฝีปากแห้ง

• ถ้าช่องปากแห้งมาก แพทย์อาจสั่งน้ำลายเทียมให้

• หลีกเลี่ยงอาหารแห้งๆ และอาหารร้อนจัด

• งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่

 

อาการเบื่ออาหาร

• รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยมื้อ และเพิ่มมื้อว่างระหว่างวัน

• พยายามดื่มน้ำหรือของเหลวที่มีส่วนประกอบของน้ำมากๆ โดยเฉพาะในวันที่เบื่ออาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอ โดยผู้ใหญ่แนะนำให้ดื่มน้ำ 6 - 8 แก้วต่อวัน

• ถ้าไม่อยากรับประทานอาหารหรือข้าว อาจรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป น้ำผลไม้ หรือ นม หรืออาหารทางการแพทย์ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอ

• ดัดแปลงอาหารบางชนิดให้มีลักษณะที่รับประทานได้ง่ายมากขึ้น เช่น ผลไม้สดอาจทำเป็นน้ำผลไม้ปั่นผสมนมหรือผสมอาหารทางการแพทย์ เป็นต้น

• ถ้าเริ่มรับประทานอาหารได้ดี ควรเพิ่มปริมาณของอาหารแต่ละมื้อให้มากขึ้น

• ผู้ป่วยส่วนมากรู้สึกอยากรับประทานอาหารในช่วงเช้าดีกว่าช่วงอื่น แต่หากรู้สึกหิวเมื่อไหร่ ก็สามารถรับประทานอาหารได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลาให้ถึงมื้ออาหาร

• การดื่มน้ำขณะรับประทานอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ดังนั้นอาจดื่มน้ำก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร 30 - 60 นาที

 

การรับรสและกลิ่นอาหารเปลี่ยนไป

• เลือกรับประทานอาหารที่มีลักษณะ และกลิ่นที่ผู้ป่วยรับได้ เช่น หากเนื้อแดงหรือปลามีกลิ่นและรสแปลกไป ให้ลองรับประทานเนื้อไก่หรือเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแทน

• เพิ่มรสชาติของอาหารให้หวานขึ้น โดยการเพิ่มน้ำตาล หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทำให้ผู้ป่วยจะรับรสได้ดีขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม ขม หรือเปรี้ยว หรือเลือกรสชาติอาหารที่ผู้ป่วยรับได้

• เพิ่มรสชาติให้อาหาร โดยการเลือกใช้เครื่องเทศหรือสมุนไพร เช่น ออริกาโน โรสแมรี่ ใบกะเพรา ใบโหรพา ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หรือ ใส่หัวหอม รวมถึงใช้ซอสบาร์บีคิวบนเนื้อและไก่

• ใช้ช้อนส้อมพลาสติกแทน ถ้ารู้สึกว่ามีรสชาติของช้อนเหล็ก (Metallic taste) เวลารับประทานอาหาร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E

อาหารมีความสำคัญอย่างไรสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

  ปัจจุบัน มักมีการบอกเล่าจากปากต่อปากและจากสื่อสังคมต่างๆ ที่ส่งต่อกันว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรเลือกรับประทานอาหาร หรือห้ามรับประทานอาหารชนิดใดบ้าง เพราะอาจส่งผลต่อโรคที่เป็น ทำให้ผู้ป่วยหลายรายเกิดความวิตกกังวลและไม่กล้ารับประทานอาหารอะไรเลย

   ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย ครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและไม่ควรรับประทานอาหารเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง

   การรับประทานอาหารให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายระหว่างที่ได้รับการรักษา จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและสามารถตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงทำให้ต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆได้ดี ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด การฉายรังสีและยาเคมีบำบัด เช่น แผลติดเชื้อ แผลผ่าตัดหายช้า เป็นต้น

กินอย่างไรเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง

อาการเจ็บที่ปาก มีแผลในปาก เหงือก และในคอ หรือมีปัญหาการกลืน

  อาหารหลัก เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ ข้าวต้ม กระเพาะปลา โจ๊ก ปลานึ่ง ไข่ตุ๋น แกงจืดต่างๆ ต้มจับฉ่าย ไข่เจียวนิ่มๆ (ใช้น้ำมันน้อย) เต้าหู้ทรงเครื่อง มักกะโรนีชีส มันฝรั่งบด ซุป สตูว์

  ของว่าง เช่น วุ้น แพนเค้ก ตะโก้ สังขยาฟักทอง ไข่หวาน ทองหยอด สาคูเปียก ลอดช่อง ฟักทองแกงบวด ขนมเปียกปูน ขนมฟักทองนึ่ง กล้วยเชื่อมนิ่มๆ ไอศกรีมเชอร์เบท พุดดิ้ง โยเกิร์ต เต้าฮวย เนยถั่วแบบครีม คัสตาร์ด

  เครื่องดื่ม เช่น มิลค์เชค สมูทตี้

  ผลไม้ เช่น กล้วย มะละกอ มะม่วงสุก แก้วมังกร แตงโม

ข้อแนะนำ

• แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ และรับประทานอาหารให้บ่อยมื้อมากขึ้น

• รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย กลืนง่าย

• รับประทานอาหารที่มีความเย็น หรือตามอุณหภูมิห้อง เช่น เครื่องดื่มเย็นๆ หรือไอศกรีม

• ดื่มน้ำ หรือของเหลวจากหลอด

• ใช้ช้อนขนาดเล็กกว่าปกติ

• หลีกเลี่ยงอาหาร หรือของเหลวที่ระคายเคืองช่องปาก เช่น ส้ม มะนาว อาหารรสเผ็ดจัด เค็มจัด ผักที่ไม่ได้ทำให้สุก อาหารที่ร้อนจัด

 

อาการท้องเสีย

  อาหารหลัก เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เนื้อไก่ต้ม หรือย่าง (เอาหนังออก) ไข่ เนื้อปลา ก๋วยเตี๋ยว
น้ำใสไม่ใส่ผัก มันฝรั่งปอกเปลือกต้มหรืออบ

  ของว่าง เช่น วุ้น เยลลี่ หวานเย็น แครกเกอร์ เชอร์เบท เวเฟอร์วานิลลา

  เครื่องดื่ม เช่น น้ำเปล่า เกลือแร่ผง (ORS)

คำแนะนำ

• ดื่มน้ำสะอาด หรือของเหลวเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป

• รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ ตลอดวัน เพิ่มมื้อว่าง

• รับประทานอาหารและน้ำที่อุดมไปด้วยเกลือแร่โซเดียมและโพแทสเซียม เช่น เกลือแร่ผง (ORS) โดยละลายผงเกลือแร่ตามคำแนะนำข้างสลาก และให้จิบแทนน้ำเปล่าในช่วงที่มีอาการ

• ควรหลีกเลี่ยงนมและผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากอาจทำให้อาการท้องเสียรุนแรงขึ้น เพราะร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ในขณะที่มีความเจ็บป่วย ซึ่งก่อให้เกิดอาการมีลมในกระเพาะ ปวดเกร็งท้อง ท้องเสีย ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะหายไปหลังจากการรักษาสิ้นสุดลง 2 - 3 สัปดาห์

• อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารมัน ของทอด ผักดิบ บรอกโคลี ข้าวโพด ถั่ว กะหล่ำปลี
ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ อาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นเกินไป เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต เครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น น้ำอัดลม โซดา

อาการปากแห้ง

  อาหารหลัก เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ ข้าวต้มเครื่อง ซุปใส ซุปข้นต่างๆ แกงจืดต่างๆ

  ของว่าง เช่น ไอศกรีม สมูทตี้ เฉาก๊วย วุ้นใส่น้ำเชื่อม น้ำหวานต่างๆ อาหารทางการแพทย์

  ผลไม้ เช่น น้ำผลไม้ แตงโม สาลี่

ข้อแนะนำ

• จิบหรือดื่มน้ำบ่อยๆ

• ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีลักษณะนิ่ม อาหารที่มีีน้ำเป็นส่วนประกอบ อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลายได้

• รับประทานอาหารว่างที่มีรสหวาน หรือ รสเปรี้ยว เพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำลาย (ไม่ควรให้ในผู้ป่วยมีแผลบริเวณช่องปาก)

• ทาริมฝีปากด้วยลิปบาล์มหรือสีผึ้ง กรณีริมฝีปากแห้ง

• ถ้าช่องปากแห้งมาก แพทย์อาจสั่งน้ำลายเทียมให้

• หลีกเลี่ยงอาหารแห้งๆ และอาหารร้อนจัด

• งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่

 

อาการเบื่ออาหาร

• รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยมื้อ และเพิ่มมื้อว่างระหว่างวัน

• พยายามดื่มน้ำหรือของเหลวที่มีส่วนประกอบของน้ำมากๆ โดยเฉพาะในวันที่เบื่ออาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอ โดยผู้ใหญ่แนะนำให้ดื่มน้ำ 6 - 8 แก้วต่อวัน

• ถ้าไม่อยากรับประทานอาหารหรือข้าว อาจรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป น้ำผลไม้ หรือ นม หรืออาหารทางการแพทย์ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอ

• ดัดแปลงอาหารบางชนิดให้มีลักษณะที่รับประทานได้ง่ายมากขึ้น เช่น ผลไม้สดอาจทำเป็นน้ำผลไม้ปั่นผสมนมหรือผสมอาหารทางการแพทย์ เป็นต้น

• ถ้าเริ่มรับประทานอาหารได้ดี ควรเพิ่มปริมาณของอาหารแต่ละมื้อให้มากขึ้น

• ผู้ป่วยส่วนมากรู้สึกอยากรับประทานอาหารในช่วงเช้าดีกว่าช่วงอื่น แต่หากรู้สึกหิวเมื่อไหร่ ก็สามารถรับประทานอาหารได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลาให้ถึงมื้ออาหาร

• การดื่มน้ำขณะรับประทานอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ดังนั้นอาจดื่มน้ำก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร 30 - 60 นาที

 

การรับรสและกลิ่นอาหารเปลี่ยนไป

• เลือกรับประทานอาหารที่มีลักษณะ และกลิ่นที่ผู้ป่วยรับได้ เช่น หากเนื้อแดงหรือปลามีกลิ่นและรสแปลกไป ให้ลองรับประทานเนื้อไก่หรือเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแทน

• เพิ่มรสชาติของอาหารให้หวานขึ้น โดยการเพิ่มน้ำตาล หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทำให้ผู้ป่วยจะรับรสได้ดีขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม ขม หรือเปรี้ยว หรือเลือกรสชาติอาหารที่ผู้ป่วยรับได้

• เพิ่มรสชาติให้อาหาร โดยการเลือกใช้เครื่องเทศหรือสมุนไพร เช่น ออริกาโน โรสแมรี่ ใบกะเพรา ใบโหรพา ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หรือ ใส่หัวหอม รวมถึงใช้ซอสบาร์บีคิวบนเนื้อและไก่

• ใช้ช้อนส้อมพลาสติกแทน ถ้ารู้สึกว่ามีรสชาติของช้อนเหล็ก (Metallic taste) เวลารับประทานอาหาร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง