
กินอะไร ให้ร่างกายอุ่น?
ในช่วงเวลาสิ้นปีที่จะมาพร้อมกับสายลมอันหนาวเหน็บ จนบางครั้งเสื้อคลุมภายนอกก็ไม่อาจทำให้เรารู้สึกอบอุ่นขึ้นมาได้ นักกำหนดอาหารจึงภูมิใจเสนอ อาหารแก้หนาว ที่รับประทานแล้วทำให้รู้สึกอบอุ่นในร่างกายทั้งยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย
1. น้ำเปล่า
ในช่วงฤดูหนาวมักมีความชื้นในอากาศน้อยลง ซึ่งอาจทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นได้ ดังนั้นการจิบน้ำอุ่นจะช่วยให้ร่างกายของเราอุ่นจากภายใน และทำให้ร่างกายเราได้รับน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยปริมาณน้ำที่เหมาะสมประมาณ 2 – 2.5 ลิตรต่อวัน หรือปริมาณมากกว่า ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและภาวะอากาศรอบข้าง ทั้งนี้หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคไต และโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์เรื่องปริมาณน้ำที่เหมาะสมต่อวันและภาวะของโรค
2. ซุป
ซุปหรือน้ำแกงอุ่นๆ เช่น ซุปใส ซุปข้น แกงจืด ก็ช่วยให้ร่างกายมีความอุ่นจากภายในได้เช่นเดียวกับน้ำอุ่น แต่มีความอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการจากผักและเนื้อสัตว์ โดยลองลดปริมาณเครื่องปรุงที่ใส่น้ำแกงลงจากเดิมครึ่งนึง เพื่อลดปริมาณโซเดียมในอาหาร และใช้ความหวาน หอม อร่อยจากผักและเนื้อสัตว์แทน
3. อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน
อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น แกงส้ม ต้มยำน้ำใส ผัดกะเพรา หรืออาหารที่ใส่เครื่องเทศที่มีรสเผ็ด เช่น พริก กระชาย ขิง ข่า นอกจากจะช่วยในการเจริญอาหารได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นระบบเผาผลาญ และทำให้ร่างกายของเราอุ่นขึ้นได้อีกด้วย แต่ควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดแต่พอดี และควรรับประทานแต่น้อยในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร
ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร
ในช่วงเวลาสิ้นปีที่จะมาพร้อมกับสายลมอันหนาวเหน็บ จนบางครั้งเสื้อคลุมภายนอกก็ไม่อาจทำให้เรารู้สึกอบอุ่นขึ้นมาได้ นักกำหนดอาหารจึงภูมิใจเสนอ อาหารแก้หนาว ที่รับประทานแล้วทำให้รู้สึกอบอุ่นในร่างกายทั้งยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย
1. น้ำเปล่า
ในช่วงฤดูหนาวมักมีความชื้นในอากาศน้อยลง ซึ่งอาจทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นได้ ดังนั้นการจิบน้ำอุ่นจะช่วยให้ร่างกายของเราอุ่นจากภายใน และทำให้ร่างกายเราได้รับน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยปริมาณน้ำที่เหมาะสมประมาณ 2 – 2.5 ลิตรต่อวัน หรือปริมาณมากกว่า ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและภาวะอากาศรอบข้าง ทั้งนี้หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคไต และโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์เรื่องปริมาณน้ำที่เหมาะสมต่อวันและภาวะของโรค
2. ซุป
ซุปหรือน้ำแกงอุ่นๆ เช่น ซุปใส ซุปข้น แกงจืด ก็ช่วยให้ร่างกายมีความอุ่นจากภายในได้เช่นเดียวกับน้ำอุ่น แต่มีความอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการจากผักและเนื้อสัตว์ โดยลองลดปริมาณเครื่องปรุงที่ใส่น้ำแกงลงจากเดิมครึ่งนึง เพื่อลดปริมาณโซเดียมในอาหาร และใช้ความหวาน หอม อร่อยจากผักและเนื้อสัตว์แทน
3. อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน
อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น แกงส้ม ต้มยำน้ำใส ผัดกะเพรา หรืออาหารที่ใส่เครื่องเทศที่มีรสเผ็ด เช่น พริก กระชาย ขิง ข่า นอกจากจะช่วยในการเจริญอาหารได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นระบบเผาผลาญ และทำให้ร่างกายของเราอุ่นขึ้นได้อีกด้วย แต่ควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดแต่พอดี และควรรับประทานแต่น้อยในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร
ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร