สำลัก อาหารติดคอ ปฐมพยาบาลอย่างไร?

การสำลักสิ่งแปลกปลอมเป็นสาเหตุหนึ่งของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ควรรีบปฐมพยาบาลทันที หรือหากไม่แน่ใจวิธีปฐมพยาบาลให้รีบแจ้งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทรแจ้งสายด่วน 1669 

เริ่มจากสังเกตผู้มีอาการ “อาหารติดคอ” แยกเป็น 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ 

     1.อาหารติดคอ ชนิดไม่รุนแรง 

  • หายใจได้อยู่ 
  • ไอเป็นพักๆ 
  • พูด หรือออกเสียงได้อยู่ 

     วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ถ้ายังหายใจเองได้อยู่ ให้ผู้ที่มีของติดคอ พยายามไอออกด้วยตัวเอง และเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด 
  • โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือที่ สายด่วน 1669 หรือนำผู้ประสบเหตุส่งโรงพยาบาล

     2.อาหารติดคอ ชนิดรุนแรง

  • สำลัก ไออย่างรุนแรง หรือไอไม่ได้
  • หายใจไม่ได้ หายใจลำบาก 
  • พูดลำบาก หรือพูดไม่ได้ 
  • หน้าเริ่มซีด เขียว
  • เริ่มใช้มือกุมที่คอตัวเอง (เป็นลักษณะที่แสดงออกเหมือนกันของผู้มีอาการติดคอ)

     ถามผู้ประสบเหตุว่า ของติดคอใช่หรือไม่? หากผู้ประสบเหตุพยักหน้า เนื่องจากพูดไม่ได้ พูดไม่ออก นั่นแสดงว่ามีอาการของติดคอชนิดรุนแรง จึงเริ่มให้การช่วยเหลือ

     วิธีปฐมพยาบาลอาการสำลักในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี (อาการรุนแรง)

 

     1. หาที่นั่งหรือนั่งคุกเข่า จับเด็กวางนอนคว่ำไว้บนขา จับให้มั่นคงระวังเด็กหล่น จัดศีรษะต่ำกว่าลำตัว มือจับที่บริเวณขากรรไกรของเด็กและประคองคอเด็กไปด้วย ระมัดระวังจะต้องไม่เป็นการบีบคอเด็ก

 

     2. ใช้มือข้างที่ถนัด ตบหลังเด็กด้วยส้นมือ บริเวณกึ่งกลางสะบักอย่างแรง 5 ครั้ง

 

     3. กลับตัวเด็กให้นอนหงาย โดยจับให้มั่นคงบริเวณท้ายทอย ประคองคอเด็กให้ดี

 

     4. ทำ CPR โดยใช้นิ้ว 2 นิ้ว ของมืออีกข้าง กดลงบนกึ่งกลางหน้าอกเด็ก โดยต่ำกว่าระดับหัวนมเด็กเล็กน้อย กดอย่างแรง 5 ครั้ง โดยทำสลับไปมาระหว่างการตบหลัง 5 ครั้ง และการกดกระแทกหน้าอก 5 ครั้ง จนเด็กร้องออกมาได้เอง หรือมีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา ห้ามใช้นิ้วล้วงในปาก หรือคอถ้ายังมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม หากเด็กหมดสติให้เริ่มทำ CPR

     วิธีปฐมพยาบาลอาการสำลัก กรณีอายุมากกว่า 1 ปี (อาการรุนแรง)

 

     1. เช็กอาการผู้ประสบเหตุอันดับแรก ถ้ายังไม่หมดสติ ให้ถามก่อนว่าอาหารติดคอไหม? หากทำได้เพียงพยักหน้าเนื่องจากพูดไม่ได้ พูดไม่ออก แสดงว่ามีอาการของติดคอชนิดรุนแรง จึงเริ่มให้การช่วยเหลือ

 

     2. ยืนซ้อนหลังผู้ประสบเหตุ เริ่มจากเข้าไปด้านหลัง กรณีที่เป็นเด็กแนะนำให้คุกเข่าในการช่วยเหลือ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ควรเป็นท่ายืนตามปกติ

 

     3. โอบรอบใต้รักแร้ของผู้ประสบเหตุ โดยกำมือข้างหนึ่งเป็นกำปั้นเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ แล้วใช้มืออีกข้างโอบกำปั้นไว้

 

     4. รัดแล้วกระตุกหน้าท้องขึ้น และเข้าพร้อมกันแรง ๆ บริเวณใต้ลิ้นปี่ รอบละ 5 ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมออกมา ถ้าสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาแล้วหรือผู้ประสบเหตุสามารถออกเสียงได้ แสดงว่าช่วยเหลือสำเร็จ และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ายังมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมออกมา ห้ามใช้มือล้วงในปากเด็ดขาด

 

     5. หากผู้ประสบเหตุเริ่มจะหมดสติ อาการไม่ดีขึ้น ต้องรีบโทรเรียนรถพยาบาลโดยเร็วที่สุด หรือโทรสายด่วน 1669 ก่อนเริ่มทำ CPR

ตรวจสอบข้อมูลโดย : พญ.ไปรยา กานตานนท์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A

การสำลักสิ่งแปลกปลอมเป็นสาเหตุหนึ่งของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ควรรีบปฐมพยาบาลทันที หรือหากไม่แน่ใจวิธีปฐมพยาบาลให้รีบแจ้งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทรแจ้งสายด่วน 1669 

เริ่มจากสังเกตผู้มีอาการ “อาหารติดคอ” แยกเป็น 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ 

     1.อาหารติดคอ ชนิดไม่รุนแรง 

  • หายใจได้อยู่ 
  • ไอเป็นพักๆ 
  • พูด หรือออกเสียงได้อยู่ 

     วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ถ้ายังหายใจเองได้อยู่ ให้ผู้ที่มีของติดคอ พยายามไอออกด้วยตัวเอง และเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด 
  • โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือที่ สายด่วน 1669 หรือนำผู้ประสบเหตุส่งโรงพยาบาล

     2.อาหารติดคอ ชนิดรุนแรง

  • สำลัก ไออย่างรุนแรง หรือไอไม่ได้
  • หายใจไม่ได้ หายใจลำบาก 
  • พูดลำบาก หรือพูดไม่ได้ 
  • หน้าเริ่มซีด เขียว
  • เริ่มใช้มือกุมที่คอตัวเอง (เป็นลักษณะที่แสดงออกเหมือนกันของผู้มีอาการติดคอ)

     ถามผู้ประสบเหตุว่า ของติดคอใช่หรือไม่? หากผู้ประสบเหตุพยักหน้า เนื่องจากพูดไม่ได้ พูดไม่ออก นั่นแสดงว่ามีอาการของติดคอชนิดรุนแรง จึงเริ่มให้การช่วยเหลือ

     วิธีปฐมพยาบาลอาการสำลักในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี (อาการรุนแรง)

 

     1. หาที่นั่งหรือนั่งคุกเข่า จับเด็กวางนอนคว่ำไว้บนขา จับให้มั่นคงระวังเด็กหล่น จัดศีรษะต่ำกว่าลำตัว มือจับที่บริเวณขากรรไกรของเด็กและประคองคอเด็กไปด้วย ระมัดระวังจะต้องไม่เป็นการบีบคอเด็ก

 

     2. ใช้มือข้างที่ถนัด ตบหลังเด็กด้วยส้นมือ บริเวณกึ่งกลางสะบักอย่างแรง 5 ครั้ง

 

     3. กลับตัวเด็กให้นอนหงาย โดยจับให้มั่นคงบริเวณท้ายทอย ประคองคอเด็กให้ดี

 

     4. ทำ CPR โดยใช้นิ้ว 2 นิ้ว ของมืออีกข้าง กดลงบนกึ่งกลางหน้าอกเด็ก โดยต่ำกว่าระดับหัวนมเด็กเล็กน้อย กดอย่างแรง 5 ครั้ง โดยทำสลับไปมาระหว่างการตบหลัง 5 ครั้ง และการกดกระแทกหน้าอก 5 ครั้ง จนเด็กร้องออกมาได้เอง หรือมีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา ห้ามใช้นิ้วล้วงในปาก หรือคอถ้ายังมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม หากเด็กหมดสติให้เริ่มทำ CPR

     วิธีปฐมพยาบาลอาการสำลัก กรณีอายุมากกว่า 1 ปี (อาการรุนแรง)

 

     1. เช็กอาการผู้ประสบเหตุอันดับแรก ถ้ายังไม่หมดสติ ให้ถามก่อนว่าอาหารติดคอไหม? หากทำได้เพียงพยักหน้าเนื่องจากพูดไม่ได้ พูดไม่ออก แสดงว่ามีอาการของติดคอชนิดรุนแรง จึงเริ่มให้การช่วยเหลือ

 

     2. ยืนซ้อนหลังผู้ประสบเหตุ เริ่มจากเข้าไปด้านหลัง กรณีที่เป็นเด็กแนะนำให้คุกเข่าในการช่วยเหลือ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ควรเป็นท่ายืนตามปกติ

 

     3. โอบรอบใต้รักแร้ของผู้ประสบเหตุ โดยกำมือข้างหนึ่งเป็นกำปั้นเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ แล้วใช้มืออีกข้างโอบกำปั้นไว้

 

     4. รัดแล้วกระตุกหน้าท้องขึ้น และเข้าพร้อมกันแรง ๆ บริเวณใต้ลิ้นปี่ รอบละ 5 ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมออกมา ถ้าสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาแล้วหรือผู้ประสบเหตุสามารถออกเสียงได้ แสดงว่าช่วยเหลือสำเร็จ และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ายังมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมออกมา ห้ามใช้มือล้วงในปากเด็ดขาด

 

     5. หากผู้ประสบเหตุเริ่มจะหมดสติ อาการไม่ดีขึ้น ต้องรีบโทรเรียนรถพยาบาลโดยเร็วที่สุด หรือโทรสายด่วน 1669 ก่อนเริ่มทำ CPR

ตรวจสอบข้อมูลโดย : พญ.ไปรยา กานตานนท์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง