คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ

     จากรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่ค่อนข้างเร่งรีบ ทำให้หลายคนมองข้ามความสำคัญของการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือลดภาวะแทรกซ้อนของโรคจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้สมดุล

คำแนะนำในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

     รับประทานอาหารให้หลากหลาย จัดสัดส่วนอาหารในแต่ละมื้อให้ได้ตามจานอาหารเพื่อสุขภาพ (Plate model)

  • 1 ส่วน โปรตีนคุณภาพ ไข่สุก ปลา เต้าหู้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • 1 ส่วน ข้าวแป้งและธัญพืชไม่ขัดสี
  • 2 ส่วน ผักใบ

     สามารถรับประทานนมพร่องมันเนย 1 แก้ว (240 มล.) เพิ่มได้

แบ่งจานอาหารออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน

     การควบคุมพลังงานและกำหนดปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อให้เหมาะสม ช่วยควบคุมน้ำหนักได้ โดยใช้หลักการ "จานอาหารสุขภาพ หรือ ทฤษฎี 2 : 1 : 1" (ผัก 2 ส่วน : ข้าว 1 ส่วน : เนื้อสัตว์ 1 ส่วน)

  • รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ รับประทานเนื้อสัตว์ให้ครบทุกมื้อ ในปริมาณพอดีกับข้าว-แป้ง เลือกเนื้อสัตว์ส่วนที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ กุนเชียง แหนม เป็นต้น
  • เลือกรับประทานข้าวแป้งและธัญพืชที่ไม่ขัดสี เพราะมีใยอาหารสูง สามารถชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด
  • รับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน แบ่งเป็นผักสด มื้อละ 2 ทัพพี หรือผักสุกมื้อละ 1 ทัพพี และผลไม้วันละ 2 - 3 จานเล็ก (จานรองแก้วกาแฟขนาด 4 นิ้ว หรือ 6 - 8 ชิ้นพอดีคำต่อมื้อ) เพื่อให้ได้รับใยอาหาร วิตามินและเกลือแร่เพียงพอ
  • รับประทานไขมันดีจากปลาทะเล อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย พิสตาชิโอ วอลนัท วันละ 1 อุ้งมือ หรือประมาณ 30 กรัม เลือกสูตรอบ หรือคั่วไม่มีน้ำมัน ไม่มีเกลือ ไม่เคลือบน้ำตาล
  • รับประทานไขมันไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา เป็นน้ำมันในการประกอบอาหารมื้อละ 2 ช้อนชา ควรเลือกใช้น้ำมันที่เหมาะสมให้การทำอาหาร
    • อาหารทอด แนะนำใช้น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันรำข้าวในการทอดเพียง 1 ครั้ง ไม่แนะนำให้ใช้น้ำมันทอดซ้ำ
    • แนะนำให้เลือกเมนูต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำ เพื่อลดปริมาณไขมันในอาหารที่รับประทาน และลดความถี่ในการรับประทานของทอดหรือแกงกะทิ ให้ไม่เกิน 1 อย่างต่อวัน
    • อาหารผัดใช้น้ำมันได้หลากหลาย เช่น น้ำมันมะกอกสูตรคลาสสิค น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย
    • การปรุงน้ำสลัด ให้ใช้น้ำมันมะกอกสูตรเอ็กซ์ตรัาเวอร์จิ้น น้ำมันมะกอก สูตรเวอร์จิ้น น้ำมันคาโนล่า น้ำมันงา
  • รับประทานน้ำตาลหรือน้ำผึ้งไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา (ประมาณ 24 กรัม) โดยการไม่ปรุงน้ำตาลเพิ่ม และลดความถี่ในการดื่มเครื่องดื่มชงหวาน รวมถึงอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อสินค้า
  • ลดการรับประทานเค็ม โดยการลดการปรุงเพิ่ม ชิมก่อนปรุง จิ้มน้ำจิ้ม น้ำพริกแต่น้อย และหลีกเลี่ยงการราดหรือรับประทานน้ำซุป น้ำแกง น้ำผัด รวมถึงลดความถี่ในการรับประทานอาหารกึ่งสำเร็จรูปและอาหารแช่แข็ง
  • ดื่มนม 1 - 2 แก้วต่อวัน เลือกนมจืดพร่องมันเนย หรือนมจืดขาดมันเนย หากไม่สามารถดื่มนมได้แนะนำเป็นโยเกิร์ตรสธรรมชาติไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเชียมสูตรหวานน้อย
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ วันละ 6 - 8 แก้ว หรือประมาณ 1.5 - 2 ลิตร
  • ออกกำลังกายในระดับความหนักปานกลางจนถึงหนัก เพื่อช่วยควบคุมความดันโลหิต (ทดสอบโดยการร้องเพลงได้แบบไม่ติดต่อกันแต่ยังสามารถพูดได้ปกติ) เช่น แอโรบิก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 3 - 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 40 - 50 นาที ต่อครั้ง ช่วยลดความดันโลหิตสำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงได้
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
  • รักษาระดับน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

อ้วนไปหรือผอมไปวัดได้ด้วยอะไร?

BMI ดัชนีมวลกาย = (น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2

  • น้อยกว่า 18.5 น้ำหนักตัวน้อย / ผอม
  • 18.5 - 22.9 น้ำหนักตัวปกติ
  • 23.0 - 24.9 น้ำหนักเกิน / มีภาวะเสี่ยง
  • 25.0-29.9 อ้วนระดับ 1
  • มากกว่า หรือ เท่ากับ 30 อ้วนระดับ 2

หมายเหตุ : เกณฑ์การแบ่งดัชนีมวลกายสำหรับกลุ่มประชากรเอเชีย

               : BMI ไม่เหมาะในการใช้เป็นตัวชี้วัดภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มนักกีฬาและนักเพาะกาย

               : การประเมินภาวะอ้วนลงพุงควรใช้ BMI ควบคู่กับการวัดเส้นรอบเอว คือ ความยาวเส้นรอบเอวไม่ควรเกิน ส่วนสูงหน่วยเชนติเมตรหารสอง

ดาวน์โหลดโบรชัวร์ >>คลิก<<

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

     จากรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่ค่อนข้างเร่งรีบ ทำให้หลายคนมองข้ามความสำคัญของการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือลดภาวะแทรกซ้อนของโรคจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้สมดุล

คำแนะนำในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

     รับประทานอาหารให้หลากหลาย จัดสัดส่วนอาหารในแต่ละมื้อให้ได้ตามจานอาหารเพื่อสุขภาพ (Plate model)

  • 1 ส่วน โปรตีนคุณภาพ ไข่สุก ปลา เต้าหู้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • 1 ส่วน ข้าวแป้งและธัญพืชไม่ขัดสี
  • 2 ส่วน ผักใบ

     สามารถรับประทานนมพร่องมันเนย 1 แก้ว (240 มล.) เพิ่มได้

แบ่งจานอาหารออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน

     การควบคุมพลังงานและกำหนดปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อให้เหมาะสม ช่วยควบคุมน้ำหนักได้ โดยใช้หลักการ "จานอาหารสุขภาพ หรือ ทฤษฎี 2 : 1 : 1" (ผัก 2 ส่วน : ข้าว 1 ส่วน : เนื้อสัตว์ 1 ส่วน)

  • รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ รับประทานเนื้อสัตว์ให้ครบทุกมื้อ ในปริมาณพอดีกับข้าว-แป้ง เลือกเนื้อสัตว์ส่วนที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ กุนเชียง แหนม เป็นต้น
  • เลือกรับประทานข้าวแป้งและธัญพืชที่ไม่ขัดสี เพราะมีใยอาหารสูง สามารถชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด
  • รับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน แบ่งเป็นผักสด มื้อละ 2 ทัพพี หรือผักสุกมื้อละ 1 ทัพพี และผลไม้วันละ 2 - 3 จานเล็ก (จานรองแก้วกาแฟขนาด 4 นิ้ว หรือ 6 - 8 ชิ้นพอดีคำต่อมื้อ) เพื่อให้ได้รับใยอาหาร วิตามินและเกลือแร่เพียงพอ
  • รับประทานไขมันดีจากปลาทะเล อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย พิสตาชิโอ วอลนัท วันละ 1 อุ้งมือ หรือประมาณ 30 กรัม เลือกสูตรอบ หรือคั่วไม่มีน้ำมัน ไม่มีเกลือ ไม่เคลือบน้ำตาล
  • รับประทานไขมันไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา เป็นน้ำมันในการประกอบอาหารมื้อละ 2 ช้อนชา ควรเลือกใช้น้ำมันที่เหมาะสมให้การทำอาหาร
    • อาหารทอด แนะนำใช้น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันรำข้าวในการทอดเพียง 1 ครั้ง ไม่แนะนำให้ใช้น้ำมันทอดซ้ำ
    • แนะนำให้เลือกเมนูต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำ เพื่อลดปริมาณไขมันในอาหารที่รับประทาน และลดความถี่ในการรับประทานของทอดหรือแกงกะทิ ให้ไม่เกิน 1 อย่างต่อวัน
    • อาหารผัดใช้น้ำมันได้หลากหลาย เช่น น้ำมันมะกอกสูตรคลาสสิค น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย
    • การปรุงน้ำสลัด ให้ใช้น้ำมันมะกอกสูตรเอ็กซ์ตรัาเวอร์จิ้น น้ำมันมะกอก สูตรเวอร์จิ้น น้ำมันคาโนล่า น้ำมันงา
  • รับประทานน้ำตาลหรือน้ำผึ้งไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา (ประมาณ 24 กรัม) โดยการไม่ปรุงน้ำตาลเพิ่ม และลดความถี่ในการดื่มเครื่องดื่มชงหวาน รวมถึงอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อสินค้า
  • ลดการรับประทานเค็ม โดยการลดการปรุงเพิ่ม ชิมก่อนปรุง จิ้มน้ำจิ้ม น้ำพริกแต่น้อย และหลีกเลี่ยงการราดหรือรับประทานน้ำซุป น้ำแกง น้ำผัด รวมถึงลดความถี่ในการรับประทานอาหารกึ่งสำเร็จรูปและอาหารแช่แข็ง
  • ดื่มนม 1 - 2 แก้วต่อวัน เลือกนมจืดพร่องมันเนย หรือนมจืดขาดมันเนย หากไม่สามารถดื่มนมได้แนะนำเป็นโยเกิร์ตรสธรรมชาติไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเชียมสูตรหวานน้อย
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ วันละ 6 - 8 แก้ว หรือประมาณ 1.5 - 2 ลิตร
  • ออกกำลังกายในระดับความหนักปานกลางจนถึงหนัก เพื่อช่วยควบคุมความดันโลหิต (ทดสอบโดยการร้องเพลงได้แบบไม่ติดต่อกันแต่ยังสามารถพูดได้ปกติ) เช่น แอโรบิก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 3 - 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 40 - 50 นาที ต่อครั้ง ช่วยลดความดันโลหิตสำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงได้
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
  • รักษาระดับน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

อ้วนไปหรือผอมไปวัดได้ด้วยอะไร?

BMI ดัชนีมวลกาย = (น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2

  • น้อยกว่า 18.5 น้ำหนักตัวน้อย / ผอม
  • 18.5 - 22.9 น้ำหนักตัวปกติ
  • 23.0 - 24.9 น้ำหนักเกิน / มีภาวะเสี่ยง
  • 25.0-29.9 อ้วนระดับ 1
  • มากกว่า หรือ เท่ากับ 30 อ้วนระดับ 2

หมายเหตุ : เกณฑ์การแบ่งดัชนีมวลกายสำหรับกลุ่มประชากรเอเชีย

               : BMI ไม่เหมาะในการใช้เป็นตัวชี้วัดภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มนักกีฬาและนักเพาะกาย

               : การประเมินภาวะอ้วนลงพุงควรใช้ BMI ควบคู่กับการวัดเส้นรอบเอว คือ ความยาวเส้นรอบเอวไม่ควรเกิน ส่วนสูงหน่วยเชนติเมตรหารสอง

ดาวน์โหลดโบรชัวร์ >>คลิก<<

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง