กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ เสี่ยงเป็นผู้ป่วยติดเตียง

     กระดูกสะโพกหัก คือภาวะที่มีกระดูกหักบริเวณข้อสะโพก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย โดยผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงหลังหมดประจำเดือน จะทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีกระดูกสะโพกหักจากการล้ม อย่างไรก็ตาม ภาวะกระดูกพรุนรุนแรงสามารถพบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย

     อาการ และการวินิจฉัยภาวะกระดูกสะโพกหัก

     ผู้ป่วยที่ล้มและมีกระดูกสะโพกหัก จะมีอาการปวดมากบริเวณสะโพกหรือขาหนีบ ไม่สามารถขยับขาข้างที่หักได้ ไม่สามารถยืนลงน้ำหนักในขาข้างที่มีสะโพกหักได้ อาจมีรอยช้ำที่สะโพกที่หัก ปลายเท้าข้างเดียวกับสะโพกที่หักมีการหมุนออกด้านนอก ขาข้างที่หักอาจสั้นลง

     ผู้ป่วยที่ล้ม ไม่สามารถลุกยืนได้ และมีอาการปวดสะโพกมาก สงสัยว่าจะมีภาวะกระดูกสะโพกหัก ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำการ เอ็กซเรย์ข้อสะโพก และในบางกรณี อาจต้องทำ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT SCAN)  หรือใช้เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ในกรณีที่มีอาการแสดงของข้อสะโพกหัก แต่ภาพเอ็กซเรย์ ไม่เห็นรอยหักชัดเจน

รอยหักบริเวณสะโพกส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณคอสะโพก ( Femoral neck fracture) หรือต่ำลงมาบริเวณแนวรอยต่อระหว่างคอสะโพกและกระดูกต้นขา ( Intertrochanteric fracture)

รูปกระดูกสะโพกก่อนผ่าตัด

รูปกระดูกสะโพกหลังผ่าตัด

     การรักษา

การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกระดูกสะโพกหัก อาจเป็นการผ่าตัดดามกระดูกด้วยโลหะ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาลุกยืน เดินได้ และช่วยหลีกเลี่ยงข้อแทรกซ้อนที่เกิดจากการต้องนอนนาน ไม่สามารถลุกได้ ต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียง เช่น แผลกดทับ การติดเชื้อทางเดินหายใจ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในขา ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

     กระดูกสะโพกหัก คือภาวะที่มีกระดูกหักบริเวณข้อสะโพก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย โดยผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงหลังหมดประจำเดือน จะทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีกระดูกสะโพกหักจากการล้ม อย่างไรก็ตาม ภาวะกระดูกพรุนรุนแรงสามารถพบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย

     อาการ และการวินิจฉัยภาวะกระดูกสะโพกหัก

     ผู้ป่วยที่ล้มและมีกระดูกสะโพกหัก จะมีอาการปวดมากบริเวณสะโพกหรือขาหนีบ ไม่สามารถขยับขาข้างที่หักได้ ไม่สามารถยืนลงน้ำหนักในขาข้างที่มีสะโพกหักได้ อาจมีรอยช้ำที่สะโพกที่หัก ปลายเท้าข้างเดียวกับสะโพกที่หักมีการหมุนออกด้านนอก ขาข้างที่หักอาจสั้นลง

     ผู้ป่วยที่ล้ม ไม่สามารถลุกยืนได้ และมีอาการปวดสะโพกมาก สงสัยว่าจะมีภาวะกระดูกสะโพกหัก ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำการ เอ็กซเรย์ข้อสะโพก และในบางกรณี อาจต้องทำ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT SCAN)  หรือใช้เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ในกรณีที่มีอาการแสดงของข้อสะโพกหัก แต่ภาพเอ็กซเรย์ ไม่เห็นรอยหักชัดเจน

รอยหักบริเวณสะโพกส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณคอสะโพก ( Femoral neck fracture) หรือต่ำลงมาบริเวณแนวรอยต่อระหว่างคอสะโพกและกระดูกต้นขา ( Intertrochanteric fracture)

รูปกระดูกสะโพกก่อนผ่าตัด

รูปกระดูกสะโพกหลังผ่าตัด

     การรักษา

การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกระดูกสะโพกหัก อาจเป็นการผ่าตัดดามกระดูกด้วยโลหะ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาลุกยืน เดินได้ และช่วยหลีกเลี่ยงข้อแทรกซ้อนที่เกิดจากการต้องนอนนาน ไม่สามารถลุกได้ ต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียง เช่น แผลกดทับ การติดเชื้อทางเดินหายใจ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในขา ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง