มะเร็งปากมดลูก ป้องกันด้วยวัคซีน HPV

จากข้อมูลสถิติปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกพบมะเร็งปากมดลูกบ่อยเป็นอันดับ 4 ของมะเร็งในสตรีโดยพบผู้ป่วยใหม่ประมาณปีละ 600,000 ราย และเสียชีวิตปีละ 340,000 ราย หรือทุกๆ  2 นาทีจะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต 1 คน สำหรับประเทศไทย พบมะเร็งปากมดลูกบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านมโดยพบผู้ป่วยใหม่ประมาณปีละ 9,100 ราย และเสียชีวิตปีละ 4,700 ราย หรือทุกๆ  1 วันจะมีสตรีไทยเสียชีวิต 13 คน

สาเหตุ

ปัจจุบันมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (Human Papillomavirus หรือเชื้อ HPV) สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 14 สายพันธุ์ สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดในมะเร็งปากมดลูกโดยพบสูงถึงร้อยละ 70

เชื้อ HPV ติดต่อผ่านอะไรบ้าง

หลังการมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายสามารถติดเชื้อผ่านรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กๆ บริเวณต่อไปนี้

  • บริเวณเยื่อบุผิวปากมดลูก
  • เยื่อบุผิวช่องคลอด
  • ปากช่องคลอด
  • รอบทวารหนัก
  • ปลายองคชาติ

อย่างไรก็ตาม ประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้จะหายได้เองภายใน 2 ปีโดยภูมิต้านทานของร่างกาย ในกรณีที่เชื้อไวรัสนี้ไม่หายไป และเป็นการติดเชื้อแบบฝังแน่นเป็นระยเวลานาน 5-15 ปี ก็จะทำให้เซลล์ปากมดลูกมีความผิดปกติ และอาจจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด

การป้องกัน

การป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้หลายระดับ ตั้งแต่ต้นทางหรือระดับปฐมภูมิ ได้แก่

  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV โดยเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 – 45 ปี
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เปลี่ยนคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่
  • ตรวจภายในประจำปีพร้อมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
  • เมื่อพบเซลล์ผิดปกติควรรับการรักษาและติดตามอย่างเคร่งครัด

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ในประเทศไทย มี 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด 2 สายพันธุ์, 4 สายพันธุ์ และชนิด 9 สายพันธุ์ โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีนเกือบร้อยละ 100 ดังนั้น วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์จะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70 ในขณะที่วัคซีน 9 สายพันธุ์จะป้องกันได้สูงถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ ทั้งวัคซีน 4 สายพันธุ์และ 9 สายพันธุ์สามารถป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศได้ด้วย สามารถเริ่มฉีดวัคซีนดังกล่าวให้เด็กผู้หญิงตั้งแต่อายุ 9 ขวบเป็นต้นไปจนถึงอายุ 45 ปี ผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์จะได้ประโยชน์สูงสุดจากวัคซีน ประโยชน์อาจจะลดลงบ้างในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว สำหรับเด็กผู้ชาย และผู้ชายก็ได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนนี้ในการป้องกันมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันพันธุ์ และมะเร็งทวารหนักด้วยเช่นกัน โดยทั่วไป แนะนำให้ฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม ยกเว้นในกรณีที่อายุน้อยกว่า 15 ปีให้ฉีดเพียง 2 เข็ม

*ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน เจ็บบริเวณฉีด มีไข้ พบได้น้อย

 

คำถามที่พบบ่อย

Q: วัคซีนยี่ห้อใดดีที่สุด

A: ประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนั้นดีเท่ากัน

 

Q: เริ่มฉีดเข็มแรกชนิด 2 สายพันธุ์ แต่หลังจากทราบข้อมูลเรื่องหูดหงอนไก่ จึงต้องการเปลี่ยนมาฉีดแบบ 4 สายพันธุ์ด้วย

A: เมื่อเริ่มต้นด้วยการฉีดวัคซีนยี่ห้อใดแล้ว ก็ควรฉีดยี่ห้อนั้นให้ครบ 3 เข็ม ปัจจุบันไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพ หรือผลข้างเคียงของคนที่ได้รับวัคซีนทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน

 

Q: ต้องมารับการฉีดกระตุ้นเหมือนกับวัคซีนป้องกันบาดทะยักหรือไม่

A: ข้อมูลปัจจุบัน 10 ปีภายหลังฉีดวัคซีน ยังคงมีภูมิคุ้นกันที่สูงพอที่จะป้องกันโรคได้และคำนวณด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยาแล้ว พบว่าระดับภูมิคุ้มกันอาจอยู่ได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้น อย่างไรก็ตามต้องติดตามข้อมูลจากหลักฐานทางการแพทย์ ที่แน่ชัดต่อไป

 

Q: ข้อห้ามในการรับวัคซีน

A: 1. สตรีที่แพ้สารประกอบในวัคซีน

    2. สตรีมีครรภ์

***ช่วงเวลาที่ได้รับวัคซีน ต้องคุมกำเนิดอย่างเคร่งครัด***

***ภายหลังจากฉีดวัคซีนยังคงต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะมะเร็งปากมดลูกยังอาจเกิดได้จากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ได้บรรจุอยู่ในวัคซีน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

จากข้อมูลสถิติปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกพบมะเร็งปากมดลูกบ่อยเป็นอันดับ 4 ของมะเร็งในสตรีโดยพบผู้ป่วยใหม่ประมาณปีละ 600,000 ราย และเสียชีวิตปีละ 340,000 ราย หรือทุกๆ  2 นาทีจะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต 1 คน สำหรับประเทศไทย พบมะเร็งปากมดลูกบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านมโดยพบผู้ป่วยใหม่ประมาณปีละ 9,100 ราย และเสียชีวิตปีละ 4,700 ราย หรือทุกๆ  1 วันจะมีสตรีไทยเสียชีวิต 13 คน

สาเหตุ

ปัจจุบันมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (Human Papillomavirus หรือเชื้อ HPV) สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 14 สายพันธุ์ สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดในมะเร็งปากมดลูกโดยพบสูงถึงร้อยละ 70

เชื้อ HPV ติดต่อผ่านอะไรบ้าง

หลังการมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายสามารถติดเชื้อผ่านรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กๆ บริเวณต่อไปนี้

  • บริเวณเยื่อบุผิวปากมดลูก
  • เยื่อบุผิวช่องคลอด
  • ปากช่องคลอด
  • รอบทวารหนัก
  • ปลายองคชาติ

อย่างไรก็ตาม ประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้จะหายได้เองภายใน 2 ปีโดยภูมิต้านทานของร่างกาย ในกรณีที่เชื้อไวรัสนี้ไม่หายไป และเป็นการติดเชื้อแบบฝังแน่นเป็นระยเวลานาน 5-15 ปี ก็จะทำให้เซลล์ปากมดลูกมีความผิดปกติ และอาจจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด

การป้องกัน

การป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้หลายระดับ ตั้งแต่ต้นทางหรือระดับปฐมภูมิ ได้แก่

  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV โดยเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 – 45 ปี
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เปลี่ยนคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่
  • ตรวจภายในประจำปีพร้อมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
  • เมื่อพบเซลล์ผิดปกติควรรับการรักษาและติดตามอย่างเคร่งครัด

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ในประเทศไทย มี 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด 2 สายพันธุ์, 4 สายพันธุ์ และชนิด 9 สายพันธุ์ โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีนเกือบร้อยละ 100 ดังนั้น วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์จะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70 ในขณะที่วัคซีน 9 สายพันธุ์จะป้องกันได้สูงถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ ทั้งวัคซีน 4 สายพันธุ์และ 9 สายพันธุ์สามารถป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศได้ด้วย สามารถเริ่มฉีดวัคซีนดังกล่าวให้เด็กผู้หญิงตั้งแต่อายุ 9 ขวบเป็นต้นไปจนถึงอายุ 45 ปี ผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์จะได้ประโยชน์สูงสุดจากวัคซีน ประโยชน์อาจจะลดลงบ้างในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว สำหรับเด็กผู้ชาย และผู้ชายก็ได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนนี้ในการป้องกันมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันพันธุ์ และมะเร็งทวารหนักด้วยเช่นกัน โดยทั่วไป แนะนำให้ฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม ยกเว้นในกรณีที่อายุน้อยกว่า 15 ปีให้ฉีดเพียง 2 เข็ม

*ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน เจ็บบริเวณฉีด มีไข้ พบได้น้อย

 

คำถามที่พบบ่อย

Q: วัคซีนยี่ห้อใดดีที่สุด

A: ประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนั้นดีเท่ากัน

 

Q: เริ่มฉีดเข็มแรกชนิด 2 สายพันธุ์ แต่หลังจากทราบข้อมูลเรื่องหูดหงอนไก่ จึงต้องการเปลี่ยนมาฉีดแบบ 4 สายพันธุ์ด้วย

A: เมื่อเริ่มต้นด้วยการฉีดวัคซีนยี่ห้อใดแล้ว ก็ควรฉีดยี่ห้อนั้นให้ครบ 3 เข็ม ปัจจุบันไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพ หรือผลข้างเคียงของคนที่ได้รับวัคซีนทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน

 

Q: ต้องมารับการฉีดกระตุ้นเหมือนกับวัคซีนป้องกันบาดทะยักหรือไม่

A: ข้อมูลปัจจุบัน 10 ปีภายหลังฉีดวัคซีน ยังคงมีภูมิคุ้นกันที่สูงพอที่จะป้องกันโรคได้และคำนวณด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยาแล้ว พบว่าระดับภูมิคุ้มกันอาจอยู่ได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้น อย่างไรก็ตามต้องติดตามข้อมูลจากหลักฐานทางการแพทย์ ที่แน่ชัดต่อไป

 

Q: ข้อห้ามในการรับวัคซีน

A: 1. สตรีที่แพ้สารประกอบในวัคซีน

    2. สตรีมีครรภ์

***ช่วงเวลาที่ได้รับวัคซีน ต้องคุมกำเนิดอย่างเคร่งครัด***

***ภายหลังจากฉีดวัคซีนยังคงต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะมะเร็งปากมดลูกยังอาจเกิดได้จากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ได้บรรจุอยู่ในวัคซีน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง