ระวัง! โรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อย และมักมีการระบาดในช่วงหน้าฝน อาการโดยทั่วไป เช่น มีไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3 – 5 วัน แต่ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงอาการรุนแรงถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล

สาเหตุเสี่ยงอาการรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่

1. ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence) ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าคนทั่วไป เพราะมีภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย และสูญเสียสมดุลของร่างกายทำให้เสี่ยงเกิด “การอักเสบรุนแรง” จนไม่สามารถยับยั้งได้ และทำให้เสียชีวิตในที่สุด

2. มีโรคประจำตัว (Underlying disease) ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสหรือหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

3. ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty) นับเป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พบว่า 10% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง ต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลจะไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 1 ปี

“ไข้หวัดใหญ่” ภัยร้ายในผู้สูงอายุ

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุอาจส่งผลการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกาย เช่น

  • เสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อ
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • เสี่ยงต่อเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ป่วยบางรายพบว่าความสามารถในการดูแลตนเองลดลง

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ

          โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เพราะในแต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเชื้อโรคที่ระบาดในช่วงเวลานั้น โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่บ่อยที่สุด

ข้อดีของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ

ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีแอนติเจนของไข้หวัดใหญ่แต่ละสายพันธุ์สูงกว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน 4 เท่า จากการศึกษาพบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดความแรงสูงนี้ ช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น ลดความรุนแรง และลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดีกว่าสูตรมาตรฐาน เช่น ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่และโรคปอดอักเสบ ลดอัตราการเสียชีวิต

อาการข้างเคียงจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • บวมแดงบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดเมื่อย ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เองภายใน 1 - 2 วันหลังฉีดยา สามารถใช้ผ้าเย็น ๆ ประคบบริเวณที่บวมแดงได้ หรือรับประทานยาลดไข้ตามอาการ
  • อาการแพ้วัคซีน พบได้น้อยมาก ถ้ามีอาการแพ้มักจะปรากฏให้เห็นภายใน 2 - 3 นาที ถึง 2 - 3 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดัง หอบ เสียงแหบ ลมพิษ หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดความแรงสูงพบว่ามีความปลอดภัยในการใช้ในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งอาการดังกล่าวพบว่าไม่แตกต่างจากการรับวัคซีนในขนาดมาตรฐาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ

โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อย และมักมีการระบาดในช่วงหน้าฝน อาการโดยทั่วไป เช่น มีไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3 – 5 วัน แต่ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงอาการรุนแรงถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล

สาเหตุเสี่ยงอาการรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่

1. ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence) ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าคนทั่วไป เพราะมีภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย และสูญเสียสมดุลของร่างกายทำให้เสี่ยงเกิด “การอักเสบรุนแรง” จนไม่สามารถยับยั้งได้ และทำให้เสียชีวิตในที่สุด

2. มีโรคประจำตัว (Underlying disease) ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสหรือหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

3. ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty) นับเป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พบว่า 10% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง ต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลจะไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 1 ปี

“ไข้หวัดใหญ่” ภัยร้ายในผู้สูงอายุ

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุอาจส่งผลการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกาย เช่น

  • เสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อ
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • เสี่ยงต่อเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ป่วยบางรายพบว่าความสามารถในการดูแลตนเองลดลง

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ

          โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เพราะในแต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเชื้อโรคที่ระบาดในช่วงเวลานั้น โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่บ่อยที่สุด

ข้อดีของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ

ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีแอนติเจนของไข้หวัดใหญ่แต่ละสายพันธุ์สูงกว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน 4 เท่า จากการศึกษาพบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดความแรงสูงนี้ ช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น ลดความรุนแรง และลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดีกว่าสูตรมาตรฐาน เช่น ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่และโรคปอดอักเสบ ลดอัตราการเสียชีวิต

อาการข้างเคียงจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • บวมแดงบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดเมื่อย ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เองภายใน 1 - 2 วันหลังฉีดยา สามารถใช้ผ้าเย็น ๆ ประคบบริเวณที่บวมแดงได้ หรือรับประทานยาลดไข้ตามอาการ
  • อาการแพ้วัคซีน พบได้น้อยมาก ถ้ามีอาการแพ้มักจะปรากฏให้เห็นภายใน 2 - 3 นาที ถึง 2 - 3 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดัง หอบ เสียงแหบ ลมพิษ หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดความแรงสูงพบว่ามีความปลอดภัยในการใช้ในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งอาการดังกล่าวพบว่าไม่แตกต่างจากการรับวัคซีนในขนาดมาตรฐาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ

โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง