นอนไม่หลับ เกิดจากอะไร?

   นอนไม่หลับ เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น หากนอนไม่หลับมากกว่า 1 สัปดาห์ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์กับผู้อื่น จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ มีหลายปัจจัยดังนี้

ปัจจัยทางกาย 

  • อาการผิดปกติของโรค เช่น โรคสมองเสื่อม ความผิดปกติของฮอร์โมน ไอเรื้อรัง ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน มีอาการเจ็บปวดทรมานมากจนทำให้นอนไม่หลับ
  • ความผิดปกติของระบบการหายใจ เช่น หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวแขนขาที่ผิดปกติขณะนอนหลับ 
  • การได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจัยทางจิตใจ 

  • เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นส่งผลต่อจิตใจ อาจเป็นเรื่องที่ทำให้เสียใจ หรือไม่สบายใจ 
  • เกิดจากอาการเริ่มแรกของโรคทางจิตบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคจิตเวช

ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม

  • สภาพห้องนอน เช่น แสงสว่างมากเกินไป เสียงดัง อุณหภูมิร้อนเกินไป
  • รู้สึกแปลกต่อสถานที่ การเปลี่ยนสถานที่นอน และการเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก 
  • การนอนที่ไม่เป็นเวลา เช่น การทำงานกะดึก ทำกิจกรรมตื่นเต้นผาดโผนก่อนนอน

 

 

แอลกอฮอล์ไม่ช่วยให้นอนหลับ

     เมื่อนอนไม่หลับ บางคนอาจหาทางออกด้วยการจิบแอลกอฮอล์เย็นๆ เพราะรู้สึกว่าผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ดี แต่จริงๆ แล้วแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วยให้นอนหลับ และยังส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคหยุดหายใจขณะหลับ

การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการนอน

  • เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาให้ร่างกายปรับวงจรการนอนเป็นปกติและหลับง่ายขึ้น
  • จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอน เช่น อากาศไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป เสียงไม่ดังเกินไป ไม่สว่างเกินไป
  • ใช้เตียงนอนสำหรับการนอนเท่านั้น ไม่ควรทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ทำงาน รับประทานอาหาร นอนดูทีวี
  • หลีกเลี่ยงอุปกรณ์สื่อสารอย่างน้อย 30 นาทีก่อนนอน และกิจกรรมที่ทำให้หัวใจเต้นแรงกว่าผิดปกติ
  • ควรนอนเมื่อรู้สึกง่วง หากนอนไม่หลับใน 20 นาที ให้ลุกไปทำกิจกรรมที่สบายใจแล้วกลับมานอนใหม่
  • อย่าบังคับตัวเองให้นอนหลับ เพราะอาจทำให้เกิดความกังวล และหลับยาก
  • อย่านอนชดเชยตอนกลางวัน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน
  • รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับเป็นมื้อเย็น เช่น นมสดจืด เนื้อไก่ ไข่ เนื้อปลา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง และถั่ว รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักก่อนนอน 2 ชั่วโมง
  • งดสารกระตุ้นหลังเที่ยงวัน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน ห้ามออกกำลังกายก่อนนอนเพราะจะทำให้หลับยากขึ้นกว่าเดิม
  • อาบน้ำอุ่น ดื่มนมอุ่น และผ่อนคลายต่าง เช่น ทำสมาธิ จะช่วยให้หลับง่ายขึ้น
  • ไม่ควรใช้ยาเพื่อทำให้หลับเพราะเมื่อหยุดยาจะทำให้นอนไม่หลับมากขึ้น ยกเว้นแพทย์เป็นผู้สั่งยาให้
  • มาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็วตั้งแต่ระยะแรก จะทำให้ปัญหารุนแรงน้อยลง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

   นอนไม่หลับ เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น หากนอนไม่หลับมากกว่า 1 สัปดาห์ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์กับผู้อื่น จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ มีหลายปัจจัยดังนี้

ปัจจัยทางกาย 

  • อาการผิดปกติของโรค เช่น โรคสมองเสื่อม ความผิดปกติของฮอร์โมน ไอเรื้อรัง ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน มีอาการเจ็บปวดทรมานมากจนทำให้นอนไม่หลับ
  • ความผิดปกติของระบบการหายใจ เช่น หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวแขนขาที่ผิดปกติขณะนอนหลับ 
  • การได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจัยทางจิตใจ 

  • เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นส่งผลต่อจิตใจ อาจเป็นเรื่องที่ทำให้เสียใจ หรือไม่สบายใจ 
  • เกิดจากอาการเริ่มแรกของโรคทางจิตบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคจิตเวช

ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม

  • สภาพห้องนอน เช่น แสงสว่างมากเกินไป เสียงดัง อุณหภูมิร้อนเกินไป
  • รู้สึกแปลกต่อสถานที่ การเปลี่ยนสถานที่นอน และการเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก 
  • การนอนที่ไม่เป็นเวลา เช่น การทำงานกะดึก ทำกิจกรรมตื่นเต้นผาดโผนก่อนนอน

 

 

แอลกอฮอล์ไม่ช่วยให้นอนหลับ

     เมื่อนอนไม่หลับ บางคนอาจหาทางออกด้วยการจิบแอลกอฮอล์เย็นๆ เพราะรู้สึกว่าผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้ดี แต่จริงๆ แล้วแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วยให้นอนหลับ และยังส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคหยุดหายใจขณะหลับ

การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการนอน

  • เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาให้ร่างกายปรับวงจรการนอนเป็นปกติและหลับง่ายขึ้น
  • จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอน เช่น อากาศไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป เสียงไม่ดังเกินไป ไม่สว่างเกินไป
  • ใช้เตียงนอนสำหรับการนอนเท่านั้น ไม่ควรทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ทำงาน รับประทานอาหาร นอนดูทีวี
  • หลีกเลี่ยงอุปกรณ์สื่อสารอย่างน้อย 30 นาทีก่อนนอน และกิจกรรมที่ทำให้หัวใจเต้นแรงกว่าผิดปกติ
  • ควรนอนเมื่อรู้สึกง่วง หากนอนไม่หลับใน 20 นาที ให้ลุกไปทำกิจกรรมที่สบายใจแล้วกลับมานอนใหม่
  • อย่าบังคับตัวเองให้นอนหลับ เพราะอาจทำให้เกิดความกังวล และหลับยาก
  • อย่านอนชดเชยตอนกลางวัน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน
  • รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับเป็นมื้อเย็น เช่น นมสดจืด เนื้อไก่ ไข่ เนื้อปลา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง และถั่ว รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักก่อนนอน 2 ชั่วโมง
  • งดสารกระตุ้นหลังเที่ยงวัน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน ห้ามออกกำลังกายก่อนนอนเพราะจะทำให้หลับยากขึ้นกว่าเดิม
  • อาบน้ำอุ่น ดื่มนมอุ่น และผ่อนคลายต่าง เช่น ทำสมาธิ จะช่วยให้หลับง่ายขึ้น
  • ไม่ควรใช้ยาเพื่อทำให้หลับเพราะเมื่อหยุดยาจะทำให้นอนไม่หลับมากขึ้น ยกเว้นแพทย์เป็นผู้สั่งยาให้
  • มาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็วตั้งแต่ระยะแรก จะทำให้ปัญหารุนแรงน้อยลง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง