การผ่าตัดด้วยวิธีเลสิก (LASIK: Laser In-Situ Keratomileusis)

การผ่าตัดด้วยวิธีเลสิก (LASIK: Laser In-Situ Keratomileusis) คือเป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติโดยใช้ Femtosecond laser ในการแยกชั้นกระจกตาเปิดขึ้นลักษณะคล้ายบานพับ (Flap) ผ่านแผลขนาด 20 - 30 มิลลิเมตร และใช้ Excimer laser ปรับเปลี่ยนความโค้งกระจกตาแก้ไขตามค่าสายตา จากนั้นปิดฝากระจกตาที่แยกชั้นกลับไปที่ตำแหน่งเดิม โดยเนื้อเยื่อกระจกตาจะสมานกันเอง

ขั้นตอนที่ 1 แยกชั้นกระจกตาให้เป็นลักษณะคล้ายบานพับ (Flap) ด้วย Femtosecond Laser

ขั้นตอนที่ 2 เปิดฝากระจกตาขึ้นโดยฝากระจกตาจะค่อย ๆ ถูกพับไปด้านหลัง เปิดให้เห็นเนื้อเยื่อกระจกตาด้านในที่จะทำการรักษา

ขั้นตอนที่ 3 ปรับความโค้งกระจกตาด้วย Excimer laser

ขั้นตอนที่ 4 วางฝากระจกตากลับเข้าที่ตำแหน่งเดิม

ผู้ที่เหมาะกับการรักษา

  • ผู้มีค่าสายตาสั้นและเอียงรวมกัน และสายตายาวตั้งแต่กำเนิด
  • อายุ 20 - 50 ปี โดยมีค่าสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
  • ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาโก่ง โรคตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่นที่ส่งผลต่อการมองเห็น เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อหินขั้นรุนแรง สายตาขี้เกียจ (Amblyopia)
  • ไม่มีโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคภูมิต้านตัวเอง โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน รวมทั้งโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
  • สตรีที่ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร (หากมีประจำเดือนมาแล้ว 2 รอบสามารถทำได้)
  • ผู้ที่สุขภาพตาสมบูรณ์แข็งแรง โดยผ่านการตรวจวิเคราะห์สภาพตาจากจักษุแพทย์ 

ข้อดี

  • รักษาค่าสายตาสั้นและเอียงรวมกันไม่เกิน -10 Diopter และสายตายาวไม่เกิน +5 Diopter
  • อาการเจ็บ เคืองตา ไม่สบายตาหลังผ่าตัดน้อยกว่าวิธี PRK
  • การใช้ Femtosecond laser แยกชั้นกระจกตาแม่นยำ และลดการเกิดความคลาดเคลื่อนได้ดีกว่าการใช้ใบมีด (microkeratome)

ข้อจำกัด

  • มีโอกาสเกิดฝาปิดกระจกตาเคลื่อน
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีตาแห้งมาก
  • มีโอกาสเกิดภาวะแสงกระจาย (Glare/Halos) และการมองเห็นไม่ชัดเจนในที่มืด (Decrease Contrast Sensitivity) 

ข้อมูลจาก : พญ.บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์รักษาสายตาผิดปกติ “The SiGHT by SiPH” ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

การผ่าตัดด้วยวิธีเลสิก (LASIK: Laser In-Situ Keratomileusis) คือเป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติโดยใช้ Femtosecond laser ในการแยกชั้นกระจกตาเปิดขึ้นลักษณะคล้ายบานพับ (Flap) ผ่านแผลขนาด 20 - 30 มิลลิเมตร และใช้ Excimer laser ปรับเปลี่ยนความโค้งกระจกตาแก้ไขตามค่าสายตา จากนั้นปิดฝากระจกตาที่แยกชั้นกลับไปที่ตำแหน่งเดิม โดยเนื้อเยื่อกระจกตาจะสมานกันเอง

ขั้นตอนที่ 1 แยกชั้นกระจกตาให้เป็นลักษณะคล้ายบานพับ (Flap) ด้วย Femtosecond Laser

ขั้นตอนที่ 2 เปิดฝากระจกตาขึ้นโดยฝากระจกตาจะค่อย ๆ ถูกพับไปด้านหลัง เปิดให้เห็นเนื้อเยื่อกระจกตาด้านในที่จะทำการรักษา

ขั้นตอนที่ 3 ปรับความโค้งกระจกตาด้วย Excimer laser

ขั้นตอนที่ 4 วางฝากระจกตากลับเข้าที่ตำแหน่งเดิม

ผู้ที่เหมาะกับการรักษา

  • ผู้มีค่าสายตาสั้นและเอียงรวมกัน และสายตายาวตั้งแต่กำเนิด
  • อายุ 20 - 50 ปี โดยมีค่าสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
  • ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาโก่ง โรคตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่นที่ส่งผลต่อการมองเห็น เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อหินขั้นรุนแรง สายตาขี้เกียจ (Amblyopia)
  • ไม่มีโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคภูมิต้านตัวเอง โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน รวมทั้งโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
  • สตรีที่ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร (หากมีประจำเดือนมาแล้ว 2 รอบสามารถทำได้)
  • ผู้ที่สุขภาพตาสมบูรณ์แข็งแรง โดยผ่านการตรวจวิเคราะห์สภาพตาจากจักษุแพทย์ 

ข้อดี

  • รักษาค่าสายตาสั้นและเอียงรวมกันไม่เกิน -10 Diopter และสายตายาวไม่เกิน +5 Diopter
  • อาการเจ็บ เคืองตา ไม่สบายตาหลังผ่าตัดน้อยกว่าวิธี PRK
  • การใช้ Femtosecond laser แยกชั้นกระจกตาแม่นยำ และลดการเกิดความคลาดเคลื่อนได้ดีกว่าการใช้ใบมีด (microkeratome)

ข้อจำกัด

  • มีโอกาสเกิดฝาปิดกระจกตาเคลื่อน
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีตาแห้งมาก
  • มีโอกาสเกิดภาวะแสงกระจาย (Glare/Halos) และการมองเห็นไม่ชัดเจนในที่มืด (Decrease Contrast Sensitivity) 

ข้อมูลจาก : พญ.บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์รักษาสายตาผิดปกติ “The SiGHT by SiPH” ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง