รู้ทัน..ภาวะบวมน้ำเหลือง
ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) เป็นการคั่งค้างสะสมของน้ำเหลืองชั้นใต้ผิวหนัง เกิดจากทางเดินน้ำเหลืองบริเวณที่ใกล้เคียงกันอุดกั้นหรือถูกทำลาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่บริเวณแขน ขา และอวัยวะเพศ การรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองด้วยเทคนิค supermicrosurgery เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำบริเวณที่ผ่าตัดโดยตรง โดยไม่ผ่านทางเดินน้ำเหลืองบริเวณที่เคยได้รับการบาดเจ็บ หรือผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองมาก่อน ช่วยให้ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย บาดแผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว และยังลดภาระแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อเทียบกับการผ่าตัดรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยจะค่อนข้างเสียเลือดมาก พักฟื้นนาน และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลติดเชื้อ แผลแยก หรือเลือดคั่ง
สาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลือง
- หลังการผ่าตัดที่ต้องตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้น เช่น การผ่าตัดมะเร็งหรือเนื้องอกบริเวณปากมดลูก เต้านม หรืออัณฑะ และภายหลังได้รับการฉายรังสีรักษาใกล้ขาหนีบ รักแร้
- ผิวหนังเกิดภาวะติดเชื้อ และอักเสบรุนแรง อย่างซ้ำๆ
- ได้รับอุบัติเหตุเป็นแผลลึก
- ภาวะหลอดเลือดดำขอดหรือตีบตัน มักพบมากที่ขา
- พันธุกรรม หรือความผิดปกติของท่อน้ำเหลืองตั้งแต่แรกเกิด
ระยะและความรุนแรงของอาการ
ขึ้นอยู่กับความเสียหายของหลอดน้ำเหลืองและเนื้อเยื่อข้างเคียง ในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใดๆ ตามมาด้วยอาการบวมเมื่อใช้นิ้วกดแล้วเป็นรอยบุ๋ม แต่สามารถยุบบวมเองได้ ต่อมาผิวหนังจะเริ่มมีความผิดปกติ มีการสะสมของพังผืดใต้ผิวหนังมาก ผิวมีสีคล้ำและหนาขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการอักเสบติดเชื้อใต้ผิวหนัง และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โดยเชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด เนื่องจากการสัมผัสสิ่งสกปรก หรือเป็นแผลเปิด บางรายเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
การรักษาภาวะบวมน้ำเหลือง
สามารถป้องกันและดูแลตัวเองได้ ด้วยการรักษาความสะอาดอวัยวะที่บวมเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการติดเชื้ออักเสบ ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของอาการ เช่น
- ยกอวัยวะที่บวมให้สูง เพื่อช่วยให้น้ำเหลืองที่คั่งคืนสู่ร่างกาย
- งดอาหารเค็ม การรับประทานเกลือมากเกินไปจะเหนี่ยวนำให้ร่างกายบวมน้ำ รวมถึงอาหารที่มีไขมันสูง ไขมันจะไปพอกสะสมบริเวณที่น้ำเหลืองคั่ง ทำให้อาการบวมรุนแรงยิ่งขึ้น
- พันผ้ายืดให้ตึงพอดี หรือสวมถุงน่องที่กระชับพอดีตลอดเวลา ถอดเฉพาะเวลาอาบน้ำเท่านั้น
- การขันชะเนาะลดบวม
- การนวดด้วยเครื่องอัดลม
- การผ่าตัดโดยการต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำด้วยเทคนิค super microsurgery
การผ่าตัดต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำด้วยเทคนิค supermicrosurgery
เป็นเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง 40 เท่า โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้วยอุปกรณ์เครื่องมือพิเศษ ขนาดเล็กกว่า 0.8 มิลลิเมตร เข็มเย็บขนาดเล็ก 50 – 80 ไมครอน และไหมเย็บขนาดเล็กกว่าเส้นผม ซึ่งการผ่าตัดจะใช้เวลา 4 – 5 ชั่วโมง เริ่มด้วยการฉีดสารเรืองแสงก่อนทำการผ่าตัดประมาณ 5 – 30 นาที เพื่อหาท่อน้ำเหลือง การฉีดสารเรืองแสงจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นร่องรอยการอุดตันของท่อน้ำเหลืองได้รวดเร็ว เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด หลังจากนั้นแพทย์จะทำการฉีดยาชาก่อนผ่าตัดโดยการเปิดแผลกว้างประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร เพื่อทำการต่อทางเดินน้ำเหลืองเข้ากับหลอดเลือดดำ 3 – 4 ตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับอาการและการพิจารณาของแพทย์
การดูแลหลังการผ่าตัดภาวะบวมน้ำเหลือง
ผู้ป่วยต้องใช้ผ้ายืดพันหรือใส่ถุงน่องบริเวณที่ทำการผ่าตัดแล้วไปอีก 6 – 12 เดือน และมาพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการเป็นระยะ ขณะเดียวกันต้องดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกายเบาๆ หากผู้ป่วยดูแลตนเองอย่างเคร่งครัดมีโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำน้อยมาก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) เป็นการคั่งค้างสะสมของน้ำเหลืองชั้นใต้ผิวหนัง เกิดจากทางเดินน้ำเหลืองบริเวณที่ใกล้เคียงกันอุดกั้นหรือถูกทำลาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่บริเวณแขน ขา และอวัยวะเพศ การรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองด้วยเทคนิค supermicrosurgery เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำบริเวณที่ผ่าตัดโดยตรง โดยไม่ผ่านทางเดินน้ำเหลืองบริเวณที่เคยได้รับการบาดเจ็บ หรือผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองมาก่อน ช่วยให้ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย บาดแผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว และยังลดภาระแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อเทียบกับการผ่าตัดรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยจะค่อนข้างเสียเลือดมาก พักฟื้นนาน และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลติดเชื้อ แผลแยก หรือเลือดคั่ง
สาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลือง
- หลังการผ่าตัดที่ต้องตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้น เช่น การผ่าตัดมะเร็งหรือเนื้องอกบริเวณปากมดลูก เต้านม หรืออัณฑะ และภายหลังได้รับการฉายรังสีรักษาใกล้ขาหนีบ รักแร้
- ผิวหนังเกิดภาวะติดเชื้อ และอักเสบรุนแรง อย่างซ้ำๆ
- ได้รับอุบัติเหตุเป็นแผลลึก
- ภาวะหลอดเลือดดำขอดหรือตีบตัน มักพบมากที่ขา
- พันธุกรรม หรือความผิดปกติของท่อน้ำเหลืองตั้งแต่แรกเกิด
ระยะและความรุนแรงของอาการ
ขึ้นอยู่กับความเสียหายของหลอดน้ำเหลืองและเนื้อเยื่อข้างเคียง ในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใดๆ ตามมาด้วยอาการบวมเมื่อใช้นิ้วกดแล้วเป็นรอยบุ๋ม แต่สามารถยุบบวมเองได้ ต่อมาผิวหนังจะเริ่มมีความผิดปกติ มีการสะสมของพังผืดใต้ผิวหนังมาก ผิวมีสีคล้ำและหนาขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการอักเสบติดเชื้อใต้ผิวหนัง และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โดยเชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด เนื่องจากการสัมผัสสิ่งสกปรก หรือเป็นแผลเปิด บางรายเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
การรักษาภาวะบวมน้ำเหลือง
สามารถป้องกันและดูแลตัวเองได้ ด้วยการรักษาความสะอาดอวัยวะที่บวมเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการติดเชื้ออักเสบ ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของอาการ เช่น
- ยกอวัยวะที่บวมให้สูง เพื่อช่วยให้น้ำเหลืองที่คั่งคืนสู่ร่างกาย
- งดอาหารเค็ม การรับประทานเกลือมากเกินไปจะเหนี่ยวนำให้ร่างกายบวมน้ำ รวมถึงอาหารที่มีไขมันสูง ไขมันจะไปพอกสะสมบริเวณที่น้ำเหลืองคั่ง ทำให้อาการบวมรุนแรงยิ่งขึ้น
- พันผ้ายืดให้ตึงพอดี หรือสวมถุงน่องที่กระชับพอดีตลอดเวลา ถอดเฉพาะเวลาอาบน้ำเท่านั้น
- การขันชะเนาะลดบวม
- การนวดด้วยเครื่องอัดลม
- การผ่าตัดโดยการต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำด้วยเทคนิค super microsurgery
การผ่าตัดต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำด้วยเทคนิค supermicrosurgery
เป็นเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง 40 เท่า โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้วยอุปกรณ์เครื่องมือพิเศษ ขนาดเล็กกว่า 0.8 มิลลิเมตร เข็มเย็บขนาดเล็ก 50 – 80 ไมครอน และไหมเย็บขนาดเล็กกว่าเส้นผม ซึ่งการผ่าตัดจะใช้เวลา 4 – 5 ชั่วโมง เริ่มด้วยการฉีดสารเรืองแสงก่อนทำการผ่าตัดประมาณ 5 – 30 นาที เพื่อหาท่อน้ำเหลือง การฉีดสารเรืองแสงจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นร่องรอยการอุดตันของท่อน้ำเหลืองได้รวดเร็ว เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด หลังจากนั้นแพทย์จะทำการฉีดยาชาก่อนผ่าตัดโดยการเปิดแผลกว้างประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร เพื่อทำการต่อทางเดินน้ำเหลืองเข้ากับหลอดเลือดดำ 3 – 4 ตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับอาการและการพิจารณาของแพทย์
การดูแลหลังการผ่าตัดภาวะบวมน้ำเหลือง
ผู้ป่วยต้องใช้ผ้ายืดพันหรือใส่ถุงน่องบริเวณที่ทำการผ่าตัดแล้วไปอีก 6 – 12 เดือน และมาพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการเป็นระยะ ขณะเดียวกันต้องดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกายเบาๆ หากผู้ป่วยดูแลตนเองอย่างเคร่งครัดมีโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำน้อยมาก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A