โรคหัวใจและหลอดเลือดกับยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นยาที่ต้องใช้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด   

ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์คืออะไร?

     ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ สามารถเรียกย่อ ๆ ว่า “เอ็นเสด (NSAIDs)” มีชื่อเต็มคือ “non-steroidal anti-inflammatory drugs” ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่เรียกว่า “ไซ-โคล-ออก-ซี-จิ-เนส (cyclooxygenase) หรือค็อกซ์ (COX)” ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ 1 (หรือ COX-1) และชนิดที่ 2 (หรือ COX-2) โดยเมื่อยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าว จะส่งผลลดการสร้างสารก่อการอักเสบและความปวด ทำให้การอักเสบลดลงและหายปวดได้

     ยากลุ่มนี้แบ่งตามความสามารถในการยับยั้ง COX แต่ละชนิด ดังแสดงในตาราง ซึ่งช่วยทำให้ทำนายอาการไม่พึงประสงค์ต่อหัวใจและหลอดเลือดของยาแต่ละชนิดได้

ตารางการแบ่งกลุ่มยา NSAIDs ตามความสามารถในการยับยั้ง COX แต่ละชนิด

ผลของยากลุ่ม NSAIDs ต่อหัวใจและหลอดเลือด

     1. ผลต่อการทำงานของไตและโรคความดันโลหิตสูง (hypertension)

     ยากลุ่ม NSAIDs ส่งผลให้หลอดเลือดในร่างกายหดตัวโดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไต ทำให้การทำงานของไตลดลง อาจทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้ในผู้ป่วยบางราย (พบประมาณร้อยละ 4) รวมถึงยังมีผลลดการขับออกของโซเดียมและน้ำจนเกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย ทำให้มีความดันโลหิตสูงขึ้น 5 - 6 มิลลิเมตรปรอท หลังจากรับประทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และส่วนใหญ่ความดันโลหิตจะกลับมาเป็นปกติ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากหยุดยา

     2. ผลต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด (thrombosis)

     ยา NSAIDs ที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้มากอาจทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันได้ง่ายขึ้น เพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดมากกว่ายาที่ยับยั้งเอนไซม์ COX-1 ได้ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอด ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน ภาวะอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โดย NSAIDs แต่ละชนิดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวได้แตกต่างกัน เช่น ผู้ป่วยที่รับประทานยา NSAIDs ที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้มาก ตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปต่อเดือน เป็นระยะเวลา 5 ปี พบว่ามีความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา 2 เท่า ส่วนผู้ที่ใช้ยา NSAIDs กลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์ COX แบบไม่จำเพาะเจาะจง จะมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา 1.3 เท่า นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย พบว่าผู้ที่ใช้ยา NSAIDs ที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้มาก จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ใช้ยา NSAIDs ในกลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์ COX แบบไม่จำเพาะเจาะจงประมาณ 1.5 เท่า

     3. ผลต่อโรคหัวใจล้มเหลว (heart failure)

     ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันสามารถเกิดได้จากผลของยา NSAIDs ที่ทำให้เกิดการคั่งของน้ำ อีกทั้ง ความดันโลหิตที่สูงขึ้นส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น หรือเกิดจากผลของยา NSAIDs ที่ทำให้มีลิ่มเลือดหรือ เกิดก้อนเลือดอุดตันบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจนถึงกล้ามเนื้อตายได้ ดังนั้นสาเหตุที่กล่าวมานี้สามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ นอกจากนั้นการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง และภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดยังสามารถเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ป่วย หัวใจล้มเหลวเรื้อรังมีอาการแย่ลงและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ ซึ่งพบว่ายา NSAIDs เป็นสาเหตุกระตุ้น การกำเริบของภาวะหัวใจล้มเหลวประมาณร้อยละ 32

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในการใช้ยากลุ่ม NSAIDs

     ข้อมูลต่อไปนี้เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นทั่วไป ผู้ป่วยแต่ละรายล้วนมีสภาวะเฉพาะตัวซึ่งทำให้เหมาะหรือไม่เหมาะสมในการใช้ยาแตกต่างกันไป จึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยาเหล่านี้

  • ยา NSAIDs ชนิดทาภายนอก สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเป็นยาใช้เฉพาะที่จึงดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อย และไม่ทำให้เกิดผลที่ได้กล่าวไปข้างต้น
  • แนะนำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs และหากจำเป็นต้องใช้ แนะนำให้รับประทานยาขนาดต่ำที่สุดที่สามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 - 2 สัปดาห์ พร้อมทั้งวัดติดตามความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ารับประทานยาแล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ ควรหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์
  • เมื่อรับประทานยา NSAIDs แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่ไต ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดไตวายเฉียบพลันได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีโรคร่วมที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำในแต่ละวันควรจำกัดน้ำตามคำแนะนำของแพทย์
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs เนื่องจากยาอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันมันในเลือดสูง หรือมีโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ อยู่ก่อน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ชนิดที่มีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้มาก เช่น เซเลค็อกสิบ เอทอริค็อกสิบ พาเรค็อกสิบ เป็นต้น
  • หากผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดจำเป็นต้องใช้ยากลุ่ม NSAIDs แนะนำให้ใช้ยานาพร็อกเซนในขนาดต่ำที่สุดและใช้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุด เนื่องจากมีการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีความปลอดภัยในผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่ายา NSAIDs ชนิดอื่น

     “ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์” ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้น มีทั้งประโยชน์และโทษ โดยเฉพาะหากใช้ยาไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เพียงช่วยให้ได้ตระหนัก แต่ไม่ควรตระหนกมากเกินไปเกี่ยวกับยากลุ่มนี้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ก่อนใช้ยากลุ่ม NSAIDs ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อให้ได้รับคำแนะนำทั้งเกี่ยวกับการใช้ยาและการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม

ข้อมูลจาก: คลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2

ปัจจุบันการซื้อยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบมาใช้เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะไมเกรน ปวดกระดูก ปวดข้อ หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทำได้ง่ายดายและสะดวกมากขึ้น แต่ทราบหรือไม่ว่ายาแก้ปวด ยาแก้อักเสบหลายประเภทมีข้อควรระวัง และอาการไม่พึงประสงค์แตกต่างกัน

     ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นหนึ่งในยาที่ต้องใช้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เรามาดูกันว่ายากลุ่มนี้มีผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างไร และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงควรปฏิบัติตัวอย่างไรหากต้องใช้ยาเหล่านี้

ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์คืออะไร?

     ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ สามารถเรียกย่อ ๆ ว่า “เอ็นเสด (NSAIDs)” มีชื่อเต็มคือ “non-steroidal anti-inflammatory drugs” ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่เรียกว่า “ไซ-โคล-ออก-ซี-จิ-เนส (cyclooxygenase) หรือค็อกซ์ (COX)” ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ 1 (หรือ COX-1) และชนิดที่ 2 (หรือ COX-2) โดยเมื่อยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าว จะส่งผลลดการสร้างสารก่อการอักเสบและความปวด ทำให้การอักเสบลดลงและหายปวดได้

     ยากลุ่มนี้แบ่งตามความสามารถในการยับยั้ง COX แต่ละชนิด ดังแสดงในตาราง ซึ่งช่วยทำให้ทำนายอาการไม่พึงประสงค์ต่อหัวใจและหลอดเลือดของยาแต่ละชนิดได้

ตารางการแบ่งกลุ่มยา NSAIDs ตามความสามารถในการยับยั้ง COX แต่ละชนิด

ผลของยากลุ่ม NSAIDs ต่อหัวใจและหลอดเลือด

     1. ผลต่อการทำงานของไตและโรคความดันโลหิตสูง (hypertension)

     ยากลุ่ม NSAIDs ส่งผลให้หลอดเลือดในร่างกายหดตัวโดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไต ทำให้การทำงานของไตลดลง อาจทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้ในผู้ป่วยบางราย (พบประมาณร้อยละ 4) รวมถึงยังมีผลลดการขับออกของโซเดียมและน้ำจนเกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย ทำให้มีความดันโลหิตสูงขึ้น 5 - 6 มิลลิเมตรปรอท หลังจากรับประทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และส่วนใหญ่ความดันโลหิตจะกลับมาเป็นปกติ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากหยุดยา

     2. ผลต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด (thrombosis)

     ยา NSAIDs ที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้มากอาจทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันได้ง่ายขึ้น เพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดมากกว่ายาที่ยับยั้งเอนไซม์ COX-1 ได้ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอด ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน ภาวะอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โดย NSAIDs แต่ละชนิดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวได้แตกต่างกัน เช่น ผู้ป่วยที่รับประทานยา NSAIDs ที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้มาก ตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปต่อเดือน เป็นระยะเวลา 5 ปี พบว่ามีความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา 2 เท่า ส่วนผู้ที่ใช้ยา NSAIDs กลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์ COX แบบไม่จำเพาะเจาะจง จะมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา 1.3 เท่า นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย พบว่าผู้ที่ใช้ยา NSAIDs ที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้มาก จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ใช้ยา NSAIDs ในกลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์ COX แบบไม่จำเพาะเจาะจงประมาณ 1.5 เท่า

     3. ผลต่อโรคหัวใจล้มเหลว (heart failure)

     ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันสามารถเกิดได้จากผลของยา NSAIDs ที่ทำให้เกิดการคั่งของน้ำ อีกทั้ง ความดันโลหิตที่สูงขึ้นส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น หรือเกิดจากผลของยา NSAIDs ที่ทำให้มีลิ่มเลือดหรือ เกิดก้อนเลือดอุดตันบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจนถึงกล้ามเนื้อตายได้ ดังนั้นสาเหตุที่กล่าวมานี้สามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ นอกจากนั้นการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง และภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดยังสามารถเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ป่วย หัวใจล้มเหลวเรื้อรังมีอาการแย่ลงและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ ซึ่งพบว่ายา NSAIDs เป็นสาเหตุกระตุ้น การกำเริบของภาวะหัวใจล้มเหลวประมาณร้อยละ 32

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในการใช้ยากลุ่ม NSAIDs

     ข้อมูลต่อไปนี้เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นทั่วไป ผู้ป่วยแต่ละรายล้วนมีสภาวะเฉพาะตัวซึ่งทำให้เหมาะหรือไม่เหมาะสมในการใช้ยาแตกต่างกันไป จึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยาเหล่านี้

  • ยา NSAIDs ชนิดทาภายนอก สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเป็นยาใช้เฉพาะที่จึงดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อย และไม่ทำให้เกิดผลที่ได้กล่าวไปข้างต้น
  • แนะนำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs และหากจำเป็นต้องใช้ แนะนำให้รับประทานยาขนาดต่ำที่สุดที่สามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 - 2 สัปดาห์ พร้อมทั้งวัดติดตามความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ารับประทานยาแล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ ควรหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์
  • เมื่อรับประทานยา NSAIDs แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่ไต ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดไตวายเฉียบพลันได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีโรคร่วมที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำในแต่ละวันควรจำกัดน้ำตามคำแนะนำของแพทย์
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs เนื่องจากยาอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันมันในเลือดสูง หรือมีโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ อยู่ก่อน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ชนิดที่มีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้มาก เช่น เซเลค็อกสิบ เอทอริค็อกสิบ พาเรค็อกสิบ เป็นต้น
  • หากผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดจำเป็นต้องใช้ยากลุ่ม NSAIDs แนะนำให้ใช้ยานาพร็อกเซนในขนาดต่ำที่สุดและใช้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุด เนื่องจากมีการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีความปลอดภัยในผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่ายา NSAIDs ชนิดอื่น

     “ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์” ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้น มีทั้งประโยชน์และโทษ โดยเฉพาะหากใช้ยาไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เพียงช่วยให้ได้ตระหนัก แต่ไม่ควรตระหนกมากเกินไปเกี่ยวกับยากลุ่มนี้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ก่อนใช้ยากลุ่ม NSAIDs ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อให้ได้รับคำแนะนำทั้งเกี่ยวกับการใช้ยาและการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม

ข้อมูลจาก: คลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง