เคล็ดลับป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

     90% ของโรคหลอดเลือดสมอง สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกาย ผ่อนคลายความเครียด และควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยการเน้นอาหารที่มีเส้นใยสูง และไขมันต่ำ ลดหวาน มัน เค็ม โดยการลดเกลือ รับประทานโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และน้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งควรใช้น้ำมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันโคโนล่า น้ำมันรำข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำมันจากปลา เป็นต้น
  2. ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที รวมถึงผ่อนคลายความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ เพราะผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 2 เท่า
  3. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น
    • ควบคุมน้ำหนัก ควรมีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI น้อยกว่า 25
    • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไม่ควรเกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท
    • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ควรเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมน้ำตาลสะสม (HbA1C) ให้น้อยกว่า 6.5 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
    • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ควรมีคอเลสเตอรอลโดยรวมในเลือดน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  4. ติดตามการรักษาหากมีโรคประจำตัว และควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  5. ตรวจ EKG ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรตรวจเช็กหัวใจด้วยเครื่องตรวจวัดหัวใจไฟฟ้า EKG หากมีสัญญาณหัวใจเต้นพริ้ว การเคลื่อนไหวจังหวะหัวใจไม่สม่ำเสมอ (atrial fibrillation) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควรได้รับการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้

     นอกจากปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้แล้ว ยังไม่ปัจจัยเสี่ยงมี่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้หลอดเลือดเสื่อมตามไปด้วย โดยชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะรูที่เลือดไหลผ่าน ทำให้แคบลงเรื่อย ๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน และแตก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องเพศ ซึ่งพบว่าเพศชายมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง รวมถึงพันธุกรรมก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงโรคด้วยเช่นกัน

     ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตอาการ หากพบว่าตัวเองหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แนะนำให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

     90% ของโรคหลอดเลือดสมอง สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกาย ผ่อนคลายความเครียด และควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยการเน้นอาหารที่มีเส้นใยสูง และไขมันต่ำ ลดหวาน มัน เค็ม โดยการลดเกลือ รับประทานโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และน้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งควรใช้น้ำมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันโคโนล่า น้ำมันรำข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำมันจากปลา เป็นต้น
  2. ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที รวมถึงผ่อนคลายความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ เพราะผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 2 เท่า
  3. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น
    • ควบคุมน้ำหนัก ควรมีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI น้อยกว่า 25
    • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไม่ควรเกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท
    • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ควรเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมน้ำตาลสะสม (HbA1C) ให้น้อยกว่า 6.5 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
    • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ควรมีคอเลสเตอรอลโดยรวมในเลือดน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  4. ติดตามการรักษาหากมีโรคประจำตัว และควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  5. ตรวจ EKG ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรตรวจเช็กหัวใจด้วยเครื่องตรวจวัดหัวใจไฟฟ้า EKG หากมีสัญญาณหัวใจเต้นพริ้ว การเคลื่อนไหวจังหวะหัวใจไม่สม่ำเสมอ (atrial fibrillation) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควรได้รับการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้

     นอกจากปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้แล้ว ยังไม่ปัจจัยเสี่ยงมี่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้หลอดเลือดเสื่อมตามไปด้วย โดยชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะรูที่เลือดไหลผ่าน ทำให้แคบลงเรื่อย ๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน และแตก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องเพศ ซึ่งพบว่าเพศชายมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง รวมถึงพันธุกรรมก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงโรคด้วยเช่นกัน

     ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตอาการ หากพบว่าตัวเองหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แนะนำให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง