ต่อมลูกหมากอักเสบ ปัญหาที่อย่าละเลย

     ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) เป็นการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นต่อมที่อยู่ในระบบสืบพันธุ์และอยู่ใกล้กับระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดแสบขณะปัสสาวะ ปวดอวัยวะเพศ อัณฑะ ขาหนีบ และบริเวณใกล้เคียง ภาวะนี้เกิดได้กับผู้ชายทุกวัย โดยอาจเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียและการบาดเจ็บ

ต่อมลูกหมากอักเสบ อันตรายไหม?

     การติดเชื้อและการอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และยังทำให้ สมรรถภาพทางเพศลดลง เนื่องจากการอักเสบชนิดเรื้อรังอาจส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์และชีวิตคู่ ในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ด้วย

การอักเสบของต่อมลูกหมากอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • ต่อมลูกหมากอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute Prostatitis) โดยมักมีอาการรุนแรงเกิดขึ้นฉับพลัน
  • ต่อมลูกหมากอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic Prostatitis) เป็นๆ หายๆ จึงควรสังเกตอาการเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตราย

อาการของต่อมลูกหมากอักเสบ

การอักเสบชนิดเฉียบพลัน

     อาการอักเสบชนิดเฉียบพลันนั้นพบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยสังเกตจากอาการต่อไปนี้

  • ปวดอวัยวะเพศ อัณฑะ และบริเวณโดยรอบ เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ท้องน้อย และหลังส่วนล่าง ซึ่งอาการปวดอาจรุนแรงและมีอาการปวดขณะถ่ายหนักร่วมด้วย
  • ปัสสาวะลำบาก เช่น ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะออกมามีสีขุ่น หรือปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น
  • มีหนองในท่อปัสสาวะ สามารถสังเกตได้เมื่อมีของเหลวข้นออกจากท่อปัสสาวะ
  • ปวดเมื่อยตัว รู้สึกไม่สบาย และมีไข้

การอักเสบชนิดเรื้อรัง

  • อาการอักเสบของต่อมลูกหมากชนิดเรื้อรังเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง จะเกิดขึ้นเมื่อมีการอักเสบในบริเวณดังกล่าวติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน อาการส่วนใหญ่อาจไม่รุนแรง แต่มักเป็นต่อเนื่องและกลับมาเป็นซ้ำ เช่น ตรวจพบต่อมลูกหมากโต และเจ็บเมื่อสัมผัส
  • ปวดอวัยวะเพศ อัณฑะ และบริเวณโดยรอบ เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ท้องน้อย หลังส่วนล่าง เป็นต้น
  • ปัสสาวะลำบาก เช่น ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงกลางดึก รู้สึกปวดปัสสาวะแบบฉับพลัน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย เป็นต้น
  • มีปัญหาทางเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศไม่แข็งตัว รู้สึกเจ็บหรือปวดเมื่อถึงจุดสุดยอด ปวดท้องน้อยหลังมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
  • หากพบอาการในข้างต้น ควรไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ การอักเสบของต่อมลูกหมากยังอาจแบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ ต่อมลูกหมากอักเสบชนิดเรื้อรังแบบไม่พบติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายกัน และต่อมลูกหมากอักเสบชนิดไม่ปรากฏอาการ (Asymptomatic Inflammatory Prostatitis)

สาเหตุของต่อมลูกหมากอักเสบ

     การอักเสบของต่อมลูกหมากแต่ละชนิดอาจมีสาเหตุที่ต่างกัน

  • การอักเสบชนิดเฉียบพลันอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเล็ดลอดเข้าไปยังต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในบริเวณดังกล่าว
  • การอักเสบชนิดเรื้อรังนั้นยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการกลับมาติดเชื้อซ้ำเนื่องจากปัจจัยบางอย่าง

     อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บบริเวณอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับต่อมลูกหมากก็อาจทำให้เกิดต่อมลูกหมากเกิดการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อได้ อย่างการบาดเจ็บบริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง หรือปัจจัยบางอย่างก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะดังกล่าว เช่น

  • มีประวัติเคยเป็นต่อมลูกหมากอักเสบมาก่อน
  • เคยเข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อบริเวณต่อมลูกหมาก
  • มีโรคประจำตัวหรือประวัติการเจ็บป่วยเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะอักเสบ ภาวะท่อปัสสาวะผิดรูป เข้ารับการรักษาด้วยการสวนท่อปัสสาวะ โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะขาดน้ำ โรคทางเพศสัมพันธ์
  • เคยบาดเจ็บบริเวณท้องน้อยที่อาจเกิดจากอุบัติเหตุ การทำกิจกรรมอย่างการปั่นจักรยานหรือขี่ม้า
  • มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

การวินิจฉัยภาวะต่อมลูกหมากอักเสบ

     เบื้องต้นแพทย์จะซักอาการและประวัติการเจ็บป่วย ตรวจร่างกายและตรวจทวารหนัก (Digital Rectal Examination) จากนั้นแพทย์อาจตรวจด้วยขั้นตอนอื่น เช่น

  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาร่องรอยของการติดเชื้อจากตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วย
  • ตรวจเลือด เพื่อหาสัญญาณการติดเชื้อของร่างกาย และอาจช่วยให้พบสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการแสดงภาพภายในระบบทางเดินปัสสาวะและต่อมลูกหมากด้วยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการอัลตราซาวด์ที่เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการแสดงภาพ
  • นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจใช้วิธี Post-prostatic Massage ซึ่งเป็นการนวดต่อมลูกหมากเพื่อตรวจหาความผิดปกติของสารคัดหลั่งที่ออกมาจากต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมากอักเสบ รักษาหายไหม?

     การรักษาส่วนใหญ่จะได้ผลดีโดยใช้ยาปฏิชีวนะ และยารักษาตามอาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ มีส่วนช่วยได้ และในบางรายที่รักษาไม่หายขาด แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัด

การรักษาต่อมลูกหมากอักเสบ

     โดยทั่วไปแพทย์จะรักษาต่อมลูกหมากอักเสบตามสาเหตุและชนิดของเชื้อ สำหรับการรักษาหลักจะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากเป็นความผิดปกติที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ส่วนอาการอื่น ๆ อย่างอาการปวดอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียงอาจใช้ยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ในการบรรเทาอาการ สำหรับอาการปัสสาวะขัด แพทย์อาจสั่งจ่ายยากลุ่มอัลฟา บล็อกเกอร์ (Alpha Blocker) เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะ หากเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการ

     นอกจากนี้ การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เหมาะสม งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด งดสูบบุหรี่ งดกิจกรรมที่อาจกระตุ้นอาการ อย่างการปั่นจักรยานหรือขี่ม้า แช่น้ำอุ่นเพื่อบรรเทาอาการปวด เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายอาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษาเพิ่มเติม

ภาวะแทรกซ้อนของต่อมลูกหมากอักเสบ

     การติดเชื้อและการอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หนองบริเวณต่อมลูกหมาก ท่อนำอสุจิอักเสบ (Epididymitis) ติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ สมรรถภาพทางเพศที่ลดลงเนื่องจากการอักเสบชนิดเรื้อรังอาจส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์และชีวิตคู่ ในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ด้วย

การป้องกันต่อมลูกหมากอักเสบ

     ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันการอักเสบของต่อมลูกหมากอักเสบได้เต็มประสิทธิภาพ แต่อาจลดความเสี่ยงได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น

  • ดูแลสุขอนามัยของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
  • สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อแบคทีเรียหรือโรคทางเพศสัมพันธ์
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงจำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

หากพบความผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

     ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) เป็นการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นต่อมที่อยู่ในระบบสืบพันธุ์และอยู่ใกล้กับระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดแสบขณะปัสสาวะ ปวดอวัยวะเพศ อัณฑะ ขาหนีบ และบริเวณใกล้เคียง ภาวะนี้เกิดได้กับผู้ชายทุกวัย โดยอาจเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียและการบาดเจ็บ

ต่อมลูกหมากอักเสบ อันตรายไหม?

     การติดเชื้อและการอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และยังทำให้ สมรรถภาพทางเพศลดลง เนื่องจากการอักเสบชนิดเรื้อรังอาจส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์และชีวิตคู่ ในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ด้วย

การอักเสบของต่อมลูกหมากอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • ต่อมลูกหมากอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute Prostatitis) โดยมักมีอาการรุนแรงเกิดขึ้นฉับพลัน
  • ต่อมลูกหมากอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic Prostatitis) เป็นๆ หายๆ จึงควรสังเกตอาการเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตราย

อาการของต่อมลูกหมากอักเสบ

การอักเสบชนิดเฉียบพลัน

     อาการอักเสบชนิดเฉียบพลันนั้นพบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยสังเกตจากอาการต่อไปนี้

  • ปวดอวัยวะเพศ อัณฑะ และบริเวณโดยรอบ เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ท้องน้อย และหลังส่วนล่าง ซึ่งอาการปวดอาจรุนแรงและมีอาการปวดขณะถ่ายหนักร่วมด้วย
  • ปัสสาวะลำบาก เช่น ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะออกมามีสีขุ่น หรือปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น
  • มีหนองในท่อปัสสาวะ สามารถสังเกตได้เมื่อมีของเหลวข้นออกจากท่อปัสสาวะ
  • ปวดเมื่อยตัว รู้สึกไม่สบาย และมีไข้

การอักเสบชนิดเรื้อรัง

  • อาการอักเสบของต่อมลูกหมากชนิดเรื้อรังเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง จะเกิดขึ้นเมื่อมีการอักเสบในบริเวณดังกล่าวติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน อาการส่วนใหญ่อาจไม่รุนแรง แต่มักเป็นต่อเนื่องและกลับมาเป็นซ้ำ เช่น ตรวจพบต่อมลูกหมากโต และเจ็บเมื่อสัมผัส
  • ปวดอวัยวะเพศ อัณฑะ และบริเวณโดยรอบ เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ท้องน้อย หลังส่วนล่าง เป็นต้น
  • ปัสสาวะลำบาก เช่น ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงกลางดึก รู้สึกปวดปัสสาวะแบบฉับพลัน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย เป็นต้น
  • มีปัญหาทางเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศไม่แข็งตัว รู้สึกเจ็บหรือปวดเมื่อถึงจุดสุดยอด ปวดท้องน้อยหลังมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
  • หากพบอาการในข้างต้น ควรไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ การอักเสบของต่อมลูกหมากยังอาจแบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ ต่อมลูกหมากอักเสบชนิดเรื้อรังแบบไม่พบติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายกัน และต่อมลูกหมากอักเสบชนิดไม่ปรากฏอาการ (Asymptomatic Inflammatory Prostatitis)

สาเหตุของต่อมลูกหมากอักเสบ

     การอักเสบของต่อมลูกหมากแต่ละชนิดอาจมีสาเหตุที่ต่างกัน

  • การอักเสบชนิดเฉียบพลันอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเล็ดลอดเข้าไปยังต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในบริเวณดังกล่าว
  • การอักเสบชนิดเรื้อรังนั้นยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการกลับมาติดเชื้อซ้ำเนื่องจากปัจจัยบางอย่าง

     อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บบริเวณอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับต่อมลูกหมากก็อาจทำให้เกิดต่อมลูกหมากเกิดการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อได้ อย่างการบาดเจ็บบริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง หรือปัจจัยบางอย่างก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะดังกล่าว เช่น

  • มีประวัติเคยเป็นต่อมลูกหมากอักเสบมาก่อน
  • เคยเข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อบริเวณต่อมลูกหมาก
  • มีโรคประจำตัวหรือประวัติการเจ็บป่วยเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะอักเสบ ภาวะท่อปัสสาวะผิดรูป เข้ารับการรักษาด้วยการสวนท่อปัสสาวะ โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะขาดน้ำ โรคทางเพศสัมพันธ์
  • เคยบาดเจ็บบริเวณท้องน้อยที่อาจเกิดจากอุบัติเหตุ การทำกิจกรรมอย่างการปั่นจักรยานหรือขี่ม้า
  • มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

การวินิจฉัยภาวะต่อมลูกหมากอักเสบ

     เบื้องต้นแพทย์จะซักอาการและประวัติการเจ็บป่วย ตรวจร่างกายและตรวจทวารหนัก (Digital Rectal Examination) จากนั้นแพทย์อาจตรวจด้วยขั้นตอนอื่น เช่น

  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาร่องรอยของการติดเชื้อจากตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วย
  • ตรวจเลือด เพื่อหาสัญญาณการติดเชื้อของร่างกาย และอาจช่วยให้พบสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการแสดงภาพภายในระบบทางเดินปัสสาวะและต่อมลูกหมากด้วยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการอัลตราซาวด์ที่เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการแสดงภาพ
  • นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจใช้วิธี Post-prostatic Massage ซึ่งเป็นการนวดต่อมลูกหมากเพื่อตรวจหาความผิดปกติของสารคัดหลั่งที่ออกมาจากต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมากอักเสบ รักษาหายไหม?

     การรักษาส่วนใหญ่จะได้ผลดีโดยใช้ยาปฏิชีวนะ และยารักษาตามอาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ มีส่วนช่วยได้ และในบางรายที่รักษาไม่หายขาด แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัด

การรักษาต่อมลูกหมากอักเสบ

     โดยทั่วไปแพทย์จะรักษาต่อมลูกหมากอักเสบตามสาเหตุและชนิดของเชื้อ สำหรับการรักษาหลักจะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากเป็นความผิดปกติที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ส่วนอาการอื่น ๆ อย่างอาการปวดอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียงอาจใช้ยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ในการบรรเทาอาการ สำหรับอาการปัสสาวะขัด แพทย์อาจสั่งจ่ายยากลุ่มอัลฟา บล็อกเกอร์ (Alpha Blocker) เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะ หากเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการ

     นอกจากนี้ การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เหมาะสม งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด งดสูบบุหรี่ งดกิจกรรมที่อาจกระตุ้นอาการ อย่างการปั่นจักรยานหรือขี่ม้า แช่น้ำอุ่นเพื่อบรรเทาอาการปวด เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายอาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษาเพิ่มเติม

ภาวะแทรกซ้อนของต่อมลูกหมากอักเสบ

     การติดเชื้อและการอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หนองบริเวณต่อมลูกหมาก ท่อนำอสุจิอักเสบ (Epididymitis) ติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ สมรรถภาพทางเพศที่ลดลงเนื่องจากการอักเสบชนิดเรื้อรังอาจส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์และชีวิตคู่ ในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีลูกยากได้ด้วย

การป้องกันต่อมลูกหมากอักเสบ

     ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันการอักเสบของต่อมลูกหมากอักเสบได้เต็มประสิทธิภาพ แต่อาจลดความเสี่ยงได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น

  • ดูแลสุขอนามัยของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
  • สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อแบคทีเรียหรือโรคทางเพศสัมพันธ์
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงจำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

หากพบความผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง