การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยฮอร์โมนบำบัดและรังสีรักษา

     การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก นอกเหนือจากการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยอาจจะเลือกวิธีการรักษาโดยใช้การฉายรังสีและ/หรือการฝังแร่ ร่วมกับการให้ฮอร์โมนบำบัด ขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละรายไป ขึ้นอยู่กับอายุและระยะความรุนแรงของโรค

 

การใช้ฮอร์โมนบำบัด (ADT)

     ฮอร์โมนแอนโดรเจน เป็นฮอร์โมนเพศชายที่ส่งผลต่อร่างกายโดยรวม ออกฤทธิ์ที่เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากทำให้เติบโตช้าลง ลดการกระจาย หากมีการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดจะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศลดลง เกิดผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับฮอร์โมนบำบัดสำหรับรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ มีอาการร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง ภาวะอ้วนลงพุง น้ำหนักเกิน การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ อาจเกิดโรคกระดูกบางหรือพรุน และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้

 

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยรังสีรักษา (Radiation Therapy) และการฝังแร่(Brachytherapy)

     การรักษาด้วยรังสีสามารถใช้เป็นการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้นไปจนถึงการรักษาในจุดที่แพร่กระจาย โดยการฉายแสงและ/หรือฝังแร่ร่วมกับการฉายแสงแยกตามความรุนแรงของโรคได้ดังนี้

 

  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ (very low to low risk) สามารถเลือกการรักษาได้ทั้งการเฝ้าระวังเชิงรุก, การผ่าตัด หรือ การฉายรังสีเฉพาะที่ต่อมลูกหมาก ไม่แนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมนแอนโดรเจนสำหรับผู้ป่วยประเภทนี้
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนต่ำ (intermediate favorable risk) สามารถเลือกการรักษาได้ทั้งการเฝ้าระวังเชิงรุก, การผ่าตัด หรือ การฉายรังสีเฉพาะที่ต่อมลูกหมาก ไม่แนะนำให้ฉายรังสีบริเวณต่อมน้ำเหลืองในกลุ่มนี้ ในบางรายอาจจะใช้ ADT ระยะสั้น ควรขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงของแต่ละบุคคลหรือมีลักษณะเฉพาะของมะเร็งที่รุนแรง
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนสูง (intermediate unfavorable risk) เลือกการรักษาได้ทั้งการผ่าตัด หรือ การฉายรังสีบริเวณต่อมลูกหมากและสามารถเพิ่มบริเวณต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของมะเร็ง หากการประเมินแล้วความเสี่ยงหรือมีลักษณะเฉพาะของมะเร็งที่รุนแรง ควรใช้การรักษาด้วย ADT ลดระดับฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) ในระยะสั้น ไม่เกิน 6 เดือน ยกเว้นแต่มีข้อห้ามทางการแพทย์
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและสูงมาก (high and very high risk) ควรพิจารณาการผ่าตัด และ/หรือการฉายรังสีที่ต่อมลูกหมากร่วมกับบริเวณต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน เพื่อป้องกันการลุกลามของโรค และจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วย ADT ร่วมกันในระยะยาวประมาณ 2-3 ปี ยกเว้นแต่มีข้อห้ามทางการแพทย์
  • ผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งที่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง (regional disease) ควรพิจารณาการการผ่าตัด และ/หรือการฉายรังสีที่ต่อมลูกหมากร่วมกับบริเวณต่อมน้ำเหลือง รวมทั้งเนื้อเยื่อใกล้เคียงที่ตรวจพบการลุกลามของมะเร็ง จำเป็นต้องมีการรักษาด้วย ADT ยกเว้นแต่มีข้อห้ามทางการแพทย์ นอกจากนี้ ในบางกรณีควรใช้ร่วมกับยาลดฮอร์โมนชนิดเฉพาะเจาะจงกับเซลล์ต่อมลูกหมาก ในผู้ป่วยที่ตรวจพบหรือสงสัยว่ามีการกระจายของโรคไปส่วนอื่น ๆ

 

พบเร็ว รักษาได้

     สิ่งสำคัญของมะเร็งต่อมลูกหมาก คือการได้รับการตรวจคัดกรองในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งในระยะเริ่มต้นของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็กและอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก ยังไม่ลุกลามกระจายตัวไปสู่อวัยวะอื่นของโรค หากตรวจพบได้เร็วและวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ จะสามารถรักษาให้ได้ผลดีในระยะยาวได้อย่างปลอดภัยและคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วยได้

     อย่าปล่อยให้โรคร้าย มาทำลายชีวิตที่มีความสุข ควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และหมั่นสังเกตอาการของต่อมลูกหมากเป็นประจำ หากไม่แน่ใจหรือสงสัยในความผิดปกติ ควรพบแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดทันที

ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

     การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก นอกเหนือจากการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยอาจจะเลือกวิธีการรักษาโดยใช้การฉายรังสีและ/หรือการฝังแร่ ร่วมกับการให้ฮอร์โมนบำบัด ขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละรายไป ขึ้นอยู่กับอายุและระยะความรุนแรงของโรค

 

การใช้ฮอร์โมนบำบัด (ADT)

     ฮอร์โมนแอนโดรเจน เป็นฮอร์โมนเพศชายที่ส่งผลต่อร่างกายโดยรวม ออกฤทธิ์ที่เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากทำให้เติบโตช้าลง ลดการกระจาย หากมีการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดจะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศลดลง เกิดผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับฮอร์โมนบำบัดสำหรับรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ มีอาการร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง ภาวะอ้วนลงพุง น้ำหนักเกิน การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ อาจเกิดโรคกระดูกบางหรือพรุน และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้

 

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยรังสีรักษา (Radiation Therapy) และการฝังแร่(Brachytherapy)

     การรักษาด้วยรังสีสามารถใช้เป็นการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้นไปจนถึงการรักษาในจุดที่แพร่กระจาย โดยการฉายแสงและ/หรือฝังแร่ร่วมกับการฉายแสงแยกตามความรุนแรงของโรคได้ดังนี้

 

  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ (very low to low risk) สามารถเลือกการรักษาได้ทั้งการเฝ้าระวังเชิงรุก, การผ่าตัด หรือ การฉายรังสีเฉพาะที่ต่อมลูกหมาก ไม่แนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมนแอนโดรเจนสำหรับผู้ป่วยประเภทนี้
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนต่ำ (intermediate favorable risk) สามารถเลือกการรักษาได้ทั้งการเฝ้าระวังเชิงรุก, การผ่าตัด หรือ การฉายรังสีเฉพาะที่ต่อมลูกหมาก ไม่แนะนำให้ฉายรังสีบริเวณต่อมน้ำเหลืองในกลุ่มนี้ ในบางรายอาจจะใช้ ADT ระยะสั้น ควรขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงของแต่ละบุคคลหรือมีลักษณะเฉพาะของมะเร็งที่รุนแรง
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนสูง (intermediate unfavorable risk) เลือกการรักษาได้ทั้งการผ่าตัด หรือ การฉายรังสีบริเวณต่อมลูกหมากและสามารถเพิ่มบริเวณต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของมะเร็ง หากการประเมินแล้วความเสี่ยงหรือมีลักษณะเฉพาะของมะเร็งที่รุนแรง ควรใช้การรักษาด้วย ADT ลดระดับฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) ในระยะสั้น ไม่เกิน 6 เดือน ยกเว้นแต่มีข้อห้ามทางการแพทย์
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและสูงมาก (high and very high risk) ควรพิจารณาการผ่าตัด และ/หรือการฉายรังสีที่ต่อมลูกหมากร่วมกับบริเวณต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน เพื่อป้องกันการลุกลามของโรค และจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วย ADT ร่วมกันในระยะยาวประมาณ 2-3 ปี ยกเว้นแต่มีข้อห้ามทางการแพทย์
  • ผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งที่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง (regional disease) ควรพิจารณาการการผ่าตัด และ/หรือการฉายรังสีที่ต่อมลูกหมากร่วมกับบริเวณต่อมน้ำเหลือง รวมทั้งเนื้อเยื่อใกล้เคียงที่ตรวจพบการลุกลามของมะเร็ง จำเป็นต้องมีการรักษาด้วย ADT ยกเว้นแต่มีข้อห้ามทางการแพทย์ นอกจากนี้ ในบางกรณีควรใช้ร่วมกับยาลดฮอร์โมนชนิดเฉพาะเจาะจงกับเซลล์ต่อมลูกหมาก ในผู้ป่วยที่ตรวจพบหรือสงสัยว่ามีการกระจายของโรคไปส่วนอื่น ๆ

 

พบเร็ว รักษาได้

     สิ่งสำคัญของมะเร็งต่อมลูกหมาก คือการได้รับการตรวจคัดกรองในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งในระยะเริ่มต้นของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็กและอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก ยังไม่ลุกลามกระจายตัวไปสู่อวัยวะอื่นของโรค หากตรวจพบได้เร็วและวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ จะสามารถรักษาให้ได้ผลดีในระยะยาวได้อย่างปลอดภัยและคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วยได้

     อย่าปล่อยให้โรคร้าย มาทำลายชีวิตที่มีความสุข ควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และหมั่นสังเกตอาการของต่อมลูกหมากเป็นประจำ หากไม่แน่ใจหรือสงสัยในความผิดปกติ ควรพบแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดทันที

ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง