เส้นเอ็นข้อไหล่บาดเจ็บหรือฉีกขาด

     เส้นเอ็นข้อไหล่ (rotator cuff) เป็นเส้นเอ็นชั้นลึกที่อยู่ติดกับถุงหุ้มข้อไหล่ ประกอบไปด้วยเส้นเอ็นจำนวน 4 เส้น คือ Supraspinatus, infraspinatus, subscapularis และ teres minor โดยทั้งหมดทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ร่วมกับกล้ามเนื้อรอบๆหัวไหล่อีกหลายมัดทำให้หัวไหล่มีความมั่นคง ไม่หลุดหลวม และ สามารถหมุนไปในทิศทางที่ต้องการได้

 

rotator cuff

 

     จากลักษณะและหน้าที่การทำงานของเส้นเอ็น ร่วมกับตำแหน่งของเส้นเอ็นที่อยู่ติดกับปุ่มกระดูกสะบัก ได้แก่ acromion และ coracoid process เมื่อมีการขยับ หมุน ของข้อไหล่ ก็จะเกิดการเสียดสีของเส้นเอ็นกับปุ่มกระดูกช้างต้น ทำให้เกิดการถลอก บวม อักเสบ หรือฉีกชาดในที่สุด โดยพบภาวะดังกล่าวได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ นักกีฬาหรือ ผู้ป่วยในวัยทำงานที่ใช้งานหัวไหล่อย่างรุนแรง อาการนำของภาวะเส้นเอ็นหมุนหัวไหล่ฉีกขาดคือมีเสียงดัง มีอาการติดขัด ไม่เรียบเวลาขยับหมุนข้อไหล่ โดยเฉพาะในทิศทางที่ยกแขนขึ้นสูงกว่าระดับไหล่ หรือขณะหมุนหัวไหล่ ในรายที่มีอาการรุนแรงขึ้นจะมีอาการปวดมาก เวลาใช้งานหรือเวลานอนตะแคงทับไหล่ข้างนั้นๆ  หากเส้นเอ็นฉีกขาดขนาดใหญ่จะทำให้หัวไหล่ของผุ้ป่วยอ่อนแรง ไม่สามารภยกแขน หรือออกแรงหมุนแขนในทิศทางต่างๆได้ตามปกติ

     หากผู้ป่วยรู้สึกว่ามีอาการปวดไหล่ ที่ไม่ดีขึ้นได้เองภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการปวดที่รุนแรงควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย โดยใช้การตรวจร่างกาย และ ถ่ายภาพรังสี

     แนวทางการรักษา ของกลุ่มโรคการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหมุนหัวไหล่มีตั้งแต่การใช้ยาต้านการอักเสบ กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง การฉีดยาต้านการอักเสบ จนถึงการผ่าตัดรักษา ซึ่งมีตั้งแต่การผ่าตัดแผลเล็กด้วยกล้องส่องข้อ จนถึงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อแบบเปิดในคนไข้ที่มีเส้นเอ็นหมุนหัวไหล่ฉีกขาดอย่างรุนแรงร่วมกับภาวะข้อไหล่เสื่อมร่วมด้วย โดยขึ้นอยู่กับว่าเป็นระยะใดของโรค

 

ข้อมูลจาก อ.นพ. เอกวิทย์ เกยุราพันธุ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

 เส้นเอ็นข้อไหล่ (rotator cuff) เป็นเส้นเอ็นชั้นลึกที่อยู่ติดกับถุงหุ้มข้อไหล่ ประกอบไปด้วยเส้นเอ็นจำนวน 4 เส้น คือ Supraspinatus, infraspinatus, subscapularis และ teres minor โดยทั้งหมดทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ร่วมกับกล้ามเนื้อรอบๆหัวไหล่อีกหลายมัดทำให้หัวไหล่มีความมั่นคง ไม่หลุดหลวม และ สามารถหมุนไปในทิศทางที่ต้องการได้

 

rotator cuff

 

     จากลักษณะและหน้าที่การทำงานของเส้นเอ็น ร่วมกับตำแหน่งของเส้นเอ็นที่อยู่ติดกับปุ่มกระดูกสะบัก ได้แก่ acromion และ coracoid process เมื่อมีการขยับ หมุน ของข้อไหล่ ก็จะเกิดการเสียดสีของเส้นเอ็นกับปุ่มกระดูกช้างต้น ทำให้เกิดการถลอก บวม อักเสบ หรือฉีกชาดในที่สุด โดยพบภาวะดังกล่าวได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ นักกีฬาหรือ ผู้ป่วยในวัยทำงานที่ใช้งานหัวไหล่อย่างรุนแรง อาการนำของภาวะเส้นเอ็นหมุนหัวไหล่ฉีกขาดคือมีเสียงดัง มีอาการติดขัด ไม่เรียบเวลาขยับหมุนข้อไหล่ โดยเฉพาะในทิศทางที่ยกแขนขึ้นสูงกว่าระดับไหล่ หรือขณะหมุนหัวไหล่ ในรายที่มีอาการรุนแรงขึ้นจะมีอาการปวดมาก เวลาใช้งานหรือเวลานอนตะแคงทับไหล่ข้างนั้นๆ  หากเส้นเอ็นฉีกขาดขนาดใหญ่จะทำให้หัวไหล่ของผุ้ป่วยอ่อนแรง ไม่สามารภยกแขน หรือออกแรงหมุนแขนในทิศทางต่างๆได้ตามปกติ

     หากผู้ป่วยรู้สึกว่ามีอาการปวดไหล่ ที่ไม่ดีขึ้นได้เองภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการปวดที่รุนแรงควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย โดยใช้การตรวจร่างกาย และ ถ่ายภาพรังสี

     แนวทางการรักษา ของกลุ่มโรคการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหมุนหัวไหล่มีตั้งแต่การใช้ยาต้านการอักเสบ กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง การฉีดยาต้านการอักเสบ จนถึงการผ่าตัดรักษา ซึ่งมีตั้งแต่การผ่าตัดแผลเล็กด้วยกล้องส่องข้อ จนถึงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อแบบเปิดในคนไข้ที่มีเส้นเอ็นหมุนหัวไหล่ฉีกขาดอย่างรุนแรงร่วมกับภาวะข้อไหล่เสื่อมร่วมด้วย โดยขึ้นอยู่กับว่าเป็นระยะใดของโรค

 

ข้อมูลจาก อ.นพ. เอกวิทย์ เกยุราพันธุ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง