
โรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever)
โรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) พบได้บ่อยในเด็กอายุระหว่าง 5 - 15 ปี ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่อง ไข้ เจ็บคอ ร่วมกับอาการที่สำคัญคือ ลิ้นบวมแดงคล้ายผลสตรอว์เบอรี่ และมีผื่นสีแดงตามผิวหนังเกือบทั่วร่างกาย โรคไข้อีดำอีแดงถือเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่งสำหรับผู้ป่วยเด็ก ไม่สามารถหายเองได้ และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจ ไต และอวัยวะอื่น ๆ ได้
สาเหตุโรคไข้อีดำอีแดง
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส ชนิดเอ (Group A Streptococcus) เป็นเชื้อที่อยู่ในคอหอย ทำให้เกิดการติดเชื้อของคอหอยและต่อมทอนซิล พบมีหนองที่ต่อมทอนซิล หรือจุดเลือดออกที่คอหอย โดยเชื้อนี้สามารถผลิตสารพิษ (toxin) ทำให้เกิดผื่นในโรคไข้อีดำอีแดง
การติดต่อโรคไข้อีดำอีแดง
เชื้อจะมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ สามารถติดต่อได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยของเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
อาการของโรคไข้อีดำอีแดง
ไข้อีดำอีแดงจะมีอาการหลักที่สำคัญดังนี้
- ไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว และเจ็บคอ ทอนซิลก็จะบวมแดง
- ผื่นแดงทั่วร่างกาย ผื่นมักจะเริ่มภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังเริ่มมีไข้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นบริเวณรอบคอ หน้าอก และกระจายไปตามลำตัวและแขนขาอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นจะมีลักษณะเป็นเม็ดหยาบ ๆ เมื่อลูบจะรู้สึกสาก ๆ คล้ายกระดาษทราย (sand paper like rash) มักจะไม่ขึ้นที่ใบหน้า อาจมีอาการคันได้ บริเวณข้อพับแขนมีสีเข้มคล้ำกว่าปกติ เรียกว่า เส้นพาสเตีย (Pastia’ s line) ผื่นจะขึ้นประมาณ 3 - 4 วัน
- แก้มเปลี่ยนเป็นสีแดง ปกติผื่นแดงจะไม่ลามมาที่ใบหน้า แต่แก้มมักจะเปลี่ยนเป็นสีแดงจัดคล้ายโดนแดดเผา แต่รอบปากจะขาวซีด
- ลิ้นเป็นสีแดง (Strawberry tongue) ลิ้นมีสีแดงสดและตะปุ่มตะป่ำ คล้ายผลสตรอว์เบอร์รี่
- ผิวหนังลอก หลังจากผื่นจางได้ 1 สัปดาห์ ผิวหนังจะเริ่มลอกเป็นแผ่น บริเวณรักแร้ ขาหนีบ ปลายนิ้วมือเท้า ส่วนตามลำตัวมักลอกเป็นขุยๆ อาการผิวลอกนี้บางรายอาจจะพบติดต่อกันได้นานเป็นเดือน
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ โรคไข้รูมาติก (rheumatic fever) ซึ่งทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบ และไตอักเสบเฉียบพลัน (acute post streptococcal glomerulonephritis) ซึ่งมักเกิดหลังจากการติดเชื้อประมาณ 1 - 4 สัปดาห์
การรักษาโรคไข้อีดำอีแดง
1. การรักษาหลัก คือ การรับประทานยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนนิซิลิน (Penicillin) เช่น อะมอกซิซิลิน (Amoxycillin) เป็นเวลา 10 วัน โดยแนะนำให้ทานยาปฏิชีวนะให้ครบ 10 วัน แม้อาการอื่น ๆ จะหายเป็นปกติแล้ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ โรคไข้รูมาติก (rheumatic fever) และไตอักเสบ
2. ให้การรักษาตามอาการอื่น ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
3. อาการที่ควรกลับมาพบแพทย์ ได้แก่ มีไข้ร่วมกับ เหนื่อยง่าย ปวดข้อหรือตุ่มหรือก้อนที่ใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นอาการของโรคไข้รูมาติก หรือมีอาการบวม ปัสสาวะเป็นสีแดงหรือเลือดปน ซึ่งเป็นอาการของโรคไตอักเสบ
ระยะเวลาติดต่อ
ผู้ป่วยจะหยุดแพร่เชื้อหลังได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงจะไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น
การป้องกันโรคไข้อีดำอีแดง
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ การป้องกันการติดเชื้อจึงสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย แต่หากจำเป็นต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย แนะนำสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือ โดยเฉพาะก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือของใช้ของผู้ป่วย
2. ควรหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า หรือของเล่น
3. ล้างมือบ่อย ๆ ใข้สบู่และน้ำสะอาด โดยเฉพาะหลังไอ จาม หรือหลังสัมผัสผู้ป่วย
4. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างไรก็ตามโรคไข้อีดำอีแดงไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอาการไม่รุนแรง ปัจจุบันมียาปฏิชีวนะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีอาการสงสัยแนะนำพาบุตรหลาน มาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.วรพร พุ่มเล็ก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E
โรคไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) พบได้บ่อยในเด็กอายุระหว่าง 5 - 15 ปี ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่อง ไข้ เจ็บคอ ร่วมกับอาการที่สำคัญคือ ลิ้นบวมแดงคล้ายผลสตรอว์เบอรี่ และมีผื่นสีแดงตามผิวหนังเกือบทั่วร่างกาย โรคไข้อีดำอีแดงถือเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่งสำหรับผู้ป่วยเด็ก ไม่สามารถหายเองได้ และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจ ไต และอวัยวะอื่น ๆ ได้
สาเหตุโรคไข้อีดำอีแดง
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส ชนิดเอ (Group A Streptococcus) เป็นเชื้อที่อยู่ในคอหอย ทำให้เกิดการติดเชื้อของคอหอยและต่อมทอนซิล พบมีหนองที่ต่อมทอนซิล หรือจุดเลือดออกที่คอหอย โดยเชื้อนี้สามารถผลิตสารพิษ (toxin) ทำให้เกิดผื่นในโรคไข้อีดำอีแดง
การติดต่อโรคไข้อีดำอีแดง
เชื้อจะมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ สามารถติดต่อได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยของเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
อาการของโรคไข้อีดำอีแดง
ไข้อีดำอีแดงจะมีอาการหลักที่สำคัญดังนี้
- ไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว และเจ็บคอ ทอนซิลก็จะบวมแดง
- ผื่นแดงทั่วร่างกาย ผื่นมักจะเริ่มภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังเริ่มมีไข้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นบริเวณรอบคอ หน้าอก และกระจายไปตามลำตัวและแขนขาอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นจะมีลักษณะเป็นเม็ดหยาบ ๆ เมื่อลูบจะรู้สึกสาก ๆ คล้ายกระดาษทราย (sand paper like rash) มักจะไม่ขึ้นที่ใบหน้า อาจมีอาการคันได้ บริเวณข้อพับแขนมีสีเข้มคล้ำกว่าปกติ เรียกว่า เส้นพาสเตีย (Pastia’ s line) ผื่นจะขึ้นประมาณ 3 - 4 วัน
- แก้มเปลี่ยนเป็นสีแดง ปกติผื่นแดงจะไม่ลามมาที่ใบหน้า แต่แก้มมักจะเปลี่ยนเป็นสีแดงจัดคล้ายโดนแดดเผา แต่รอบปากจะขาวซีด
- ลิ้นเป็นสีแดง (Strawberry tongue) ลิ้นมีสีแดงสดและตะปุ่มตะป่ำ คล้ายผลสตรอว์เบอร์รี่
- ผิวหนังลอก หลังจากผื่นจางได้ 1 สัปดาห์ ผิวหนังจะเริ่มลอกเป็นแผ่น บริเวณรักแร้ ขาหนีบ ปลายนิ้วมือเท้า ส่วนตามลำตัวมักลอกเป็นขุยๆ อาการผิวลอกนี้บางรายอาจจะพบติดต่อกันได้นานเป็นเดือน
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ โรคไข้รูมาติก (rheumatic fever) ซึ่งทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบ และไตอักเสบเฉียบพลัน (acute post streptococcal glomerulonephritis) ซึ่งมักเกิดหลังจากการติดเชื้อประมาณ 1 - 4 สัปดาห์
การรักษาโรคไข้อีดำอีแดง
1. การรักษาหลัก คือ การรับประทานยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนนิซิลิน (Penicillin) เช่น อะมอกซิซิลิน (Amoxycillin) เป็นเวลา 10 วัน โดยแนะนำให้ทานยาปฏิชีวนะให้ครบ 10 วัน แม้อาการอื่น ๆ จะหายเป็นปกติแล้ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ โรคไข้รูมาติก (rheumatic fever) และไตอักเสบ
2. ให้การรักษาตามอาการอื่น ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
3. อาการที่ควรกลับมาพบแพทย์ ได้แก่ มีไข้ร่วมกับ เหนื่อยง่าย ปวดข้อหรือตุ่มหรือก้อนที่ใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นอาการของโรคไข้รูมาติก หรือมีอาการบวม ปัสสาวะเป็นสีแดงหรือเลือดปน ซึ่งเป็นอาการของโรคไตอักเสบ
ระยะเวลาติดต่อ
ผู้ป่วยจะหยุดแพร่เชื้อหลังได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงจะไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น
การป้องกันโรคไข้อีดำอีแดง
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ การป้องกันการติดเชื้อจึงสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย แต่หากจำเป็นต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย แนะนำสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือ โดยเฉพาะก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือของใช้ของผู้ป่วย
2. ควรหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า หรือของเล่น
3. ล้างมือบ่อย ๆ ใข้สบู่และน้ำสะอาด โดยเฉพาะหลังไอ จาม หรือหลังสัมผัสผู้ป่วย
4. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างไรก็ตามโรคไข้อีดำอีแดงไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอาการไม่รุนแรง ปัจจุบันมียาปฏิชีวนะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีอาการสงสัยแนะนำพาบุตรหลาน มาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.วรพร พุ่มเล็ก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E