แบ่งยาเราให้เพื่อนกิน อาจเสี่ยงถึงตายได้

จากความเชื่อที่ว่า ผู้ป่วยที่มีอาการใกล้เคียงกันจำเป็นต้องได้รับยาชนิดและขนาดเดียวกัน ซึ่งอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะการแบ่งปันยาสู่ผู้อื่นอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ มักจะเริ่มต้นจากที่เราหายจากโรคนั้น แล้วพบว่าเพื่อนหรือคนในครอบครัวก็มีอาการเหมือนกัน จึงแบ่งยาที่เหลืออยู่ให้รับประทาน เพราะคิดว่าหากมีอาการหรือโรคเดียวกัน ก็สามารถรับประทานยาร่วมกันได้ ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เหตุผลหลักที่เราไม่ควรแบ่งยาให้เพื่อนรับประทาน ประกอบไปด้วย 4 ประเด็นด้วยกัน คือ

  1. ประวัติการแพ้ยาต่างกัน อาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงเสียชีวิตได้ เนื่องจากการแพ้ยา แม้ไม่ได้แพ้ยาตัวเดียวกัน แต่อาจแพ้ยาที่โครงสร้างใกล้เคียงกันได้
  2. แต่ละคนมีโรคประจำตัวที่แตกต่างกัน ยาบางชนิดห้ามใช้ในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ยาแอสไพริน ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด หากผู้ป่วยหอบหืดทาน อาจได้รับอันตรายได้ ในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคประจำตัวมีพื้นฐานการทำงานของไต ตับ รวมถึงน้ำหนักตัวและปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อชนิดและขนาดยาที่แตกต่างกัน
  3. การมีน้ำหนัก เชื้อชาติแตกต่างกัน เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ส่งผลได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากยาบางชนิดดูดซึมและมีผลข้างเคียงของยา จะขึ้นอยู่กับสีผิวหรือเชื้อชาติด้วย โดยมีผลการวิจัยพบว่า การกินยาบางชนิดในบางคนอาจได้ผลการรักษาปกติ ไม่มีผลข้างเคียง แต่บางคนระดับยาสูงเกินไปจนเป็นพิษและเกิดอันตรายจากผลข้างเคียงได้
  4. ในแต่ละคนอาจมีการรับประทานยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมอื่น ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา อาจจะมีทั้งเสริมฤทธิ์กันหรือต้านฤทธิ์กัน ซึ่งอาจส่งผลให้ยานั้น ๆ ไม่เกิดผลการรักษาหรืออาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้

ดังนั้น ยาจึงเหมาะกับการรักษาในแต่ละบุคคลเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเชื่อในเรื่องการแบ่งยาให้กับเด็ก ประเด็นนี้ผู้ใหญ่ไม่ควรแบ่งยาของตนเองให้กับเด็กโดยใช้วิธีแบ่งครึ่งของยาเด็ดขาด เพราะระบบภายในร่างกายของเด็กนั้นไม่เหมือนผู้ใหญ่ การตอบสนองต่อยาจึงแตกต่างกันอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้มาก ดังนั้น จึงไม่ควรรับประทานยาของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร. 1474 กด 2

จากความเชื่อที่ว่า ผู้ป่วยที่มีอาการใกล้เคียงกันจำเป็นต้องได้รับยาชนิดและขนาดเดียวกัน ซึ่งอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะการแบ่งปันยาสู่ผู้อื่นอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ มักจะเริ่มต้นจากที่เราหายจากโรคนั้น แล้วพบว่าเพื่อนหรือคนในครอบครัวก็มีอาการเหมือนกัน จึงแบ่งยาที่เหลืออยู่ให้รับประทาน เพราะคิดว่าหากมีอาการหรือโรคเดียวกัน ก็สามารถรับประทานยาร่วมกันได้ ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เหตุผลหลักที่เราไม่ควรแบ่งยาให้เพื่อนรับประทาน ประกอบไปด้วย 4 ประเด็นด้วยกัน คือ

  1. ประวัติการแพ้ยาต่างกัน อาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงเสียชีวิตได้ เนื่องจากการแพ้ยา แม้ไม่ได้แพ้ยาตัวเดียวกัน แต่อาจแพ้ยาที่โครงสร้างใกล้เคียงกันได้
  2. แต่ละคนมีโรคประจำตัวที่แตกต่างกัน ยาบางชนิดห้ามใช้ในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ยาแอสไพริน ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด หากผู้ป่วยหอบหืดทาน อาจได้รับอันตรายได้ ในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคประจำตัวมีพื้นฐานการทำงานของไต ตับ รวมถึงน้ำหนักตัวและปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อชนิดและขนาดยาที่แตกต่างกัน
  3. การมีน้ำหนัก เชื้อชาติแตกต่างกัน เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ส่งผลได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากยาบางชนิดดูดซึมและมีผลข้างเคียงของยา จะขึ้นอยู่กับสีผิวหรือเชื้อชาติด้วย โดยมีผลการวิจัยพบว่า การกินยาบางชนิดในบางคนอาจได้ผลการรักษาปกติ ไม่มีผลข้างเคียง แต่บางคนระดับยาสูงเกินไปจนเป็นพิษและเกิดอันตรายจากผลข้างเคียงได้
  4. ในแต่ละคนอาจมีการรับประทานยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมอื่น ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา อาจจะมีทั้งเสริมฤทธิ์กันหรือต้านฤทธิ์กัน ซึ่งอาจส่งผลให้ยานั้น ๆ ไม่เกิดผลการรักษาหรืออาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้

ดังนั้น ยาจึงเหมาะกับการรักษาในแต่ละบุคคลเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเชื่อในเรื่องการแบ่งยาให้กับเด็ก ประเด็นนี้ผู้ใหญ่ไม่ควรแบ่งยาของตนเองให้กับเด็กโดยใช้วิธีแบ่งครึ่งของยาเด็ดขาด เพราะระบบภายในร่างกายของเด็กนั้นไม่เหมือนผู้ใหญ่ การตอบสนองต่อยาจึงแตกต่างกันอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้มาก ดังนั้น จึงไม่ควรรับประทานยาของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร. 1474 กด 2


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง