งูสวัด ฝันร้ายของผู้สูงวัย 50+
โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส ไวรัสนี้เมื่อเริ่มเข้าสู่ร่างกายทั้งจากการหายใจหรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง จะทำให้เป็นโรคสุกใส เมื่อหายจากโรคนี้แล้วเชื้อจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลานานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดการปวดตามแนวเส้นประสาทและปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นตามแนวเส้นประสาท
อาการของโรคงูสวัด
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้น 2 - 3 วัน จะมีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวดแล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวยาวตามแนวเส้นประสาทและจะแตกออกเป็นแผล ต่อมาจะตกสะเก็ดและหายได้เองใน 2 สัปดาห์ และเมื่อแผลหายแล้ว อาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้
อาการแทรกซ้อนของโรคงูสวัด
- ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ อาการปวดตามแนวเส้น ประสาทหลังการติดเชื้อ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป บางรายอาจปวดได้นานหลายปี
- ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่พบได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ตาอักเสบ แผลที่กระจกตา และภาวะแทรกซ้อนทางหู เป็นต้น
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคงูสวัดอาจเป็นรุนเรงและแพร่กระจายได้
- ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่พบน้อย เช่น สมองและปอดอักเสบ
การรักษาและการปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโรคงูสวัด
- ควรได้รับประทานยาต้านไวรัส ภายใน 72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยให้รอยโรคทางผิวหนังหายได้เร็วขึ้นและลดความรุนแรงของโรค
- ประคบแผลด้วยน้ำเกลือ ครั้งละประมาณ 10 นาที 3-4 ครั้ง/วัน จะช่วยทำให้แผลแห้งขึ้น
- ในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะชนิดทาหรือรับประทานร่วมด้วย
- ถ้ามีอาการปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย ให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก
- ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมและกลายเป็นแผลเป็น
- ถ้ามีอาการปวดหลังการติดเชื้อ สามารถรับประทานยาแก้ปวด ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
- ไม่พ่นหรือทายาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพร เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ทำให้แผลหายช้าและกลายเป็นแผลเป็นได้
- ควรแยกของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วยโรคงูสวัดจากผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อน
การป้องกัน
- ไม่ใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ป่วยโรคสุกใสหรืองูสวัดโดยตรง
- ผู้ป่วยสูงอายุหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัดได้
ข้อมูลจาก พญ. อารยา มานะผจญ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส ไวรัสนี้เมื่อเริ่มเข้าสู่ร่างกายทั้งจากการหายใจหรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง จะทำให้เป็นโรคสุกใส เมื่อหายจากโรคนี้แล้วเชื้อจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลานานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดการปวดตามแนวเส้นประสาทและปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นตามแนวเส้นประสาท
อาการของโรคงูสวัด
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้น 2 - 3 วัน จะมีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวดแล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวยาวตามแนวเส้นประสาทและจะแตกออกเป็นแผล ต่อมาจะตกสะเก็ดและหายได้เองใน 2 สัปดาห์ และเมื่อแผลหายแล้ว อาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้
อาการแทรกซ้อนของโรคงูสวัด
- ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ อาการปวดตามแนวเส้น ประสาทหลังการติดเชื้อ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป บางรายอาจปวดได้นานหลายปี
- ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่พบได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ตาอักเสบ แผลที่กระจกตา และภาวะแทรกซ้อนทางหู เป็นต้น
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคงูสวัดอาจเป็นรุนเรงและแพร่กระจายได้
- ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่พบน้อย เช่น สมองและปอดอักเสบ
การรักษาและการปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโรคงูสวัด
- ควรได้รับประทานยาต้านไวรัส ภายใน 72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยให้รอยโรคทางผิวหนังหายได้เร็วขึ้นและลดความรุนแรงของโรค
- ประคบแผลด้วยน้ำเกลือ ครั้งละประมาณ 10 นาที 3-4 ครั้ง/วัน จะช่วยทำให้แผลแห้งขึ้น
- ในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะชนิดทาหรือรับประทานร่วมด้วย
- ถ้ามีอาการปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย ให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก
- ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมและกลายเป็นแผลเป็น
- ถ้ามีอาการปวดหลังการติดเชื้อ สามารถรับประทานยาแก้ปวด ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
- ไม่พ่นหรือทายาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพร เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ทำให้แผลหายช้าและกลายเป็นแผลเป็นได้
- ควรแยกของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วยโรคงูสวัดจากผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อน
การป้องกัน
- ไม่ใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ป่วยโรคสุกใสหรืองูสวัดโดยตรง
- ผู้ป่วยสูงอายุหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัดได้
ข้อมูลจาก พญ. อารยา มานะผจญ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A