การสูบบุหรี่กับโรคเบาหวาน

  • คนที่เคยสูบบุหรี่และผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นเบาหวาน โดยผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 30-40%
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นตามจำนวนที่สูบต่อวัน ยิ่งสูบมากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานมากขึ้น
  • ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ใหม่ ๆ จะมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานสูงขึ้นในช่วง 3 ปีแรก แต่ความเสี่ยงนี้จะลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป การเลิกสูบช่วยให้เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินดีขึ้นเรื่อย ๆ และหลังจากเลิกสูบบุหรี่ไปนานถึง 12 ปี ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจะลดลงจนเกือบเป็นศูนย์
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ยังสูบบุหรี่จะควบคุมน้ำตาลได้ยาก เพราะนิโคตินและสารพิษในบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายและรบกวนสมดุลของกลูโคส ส่งผลให้การทำงานของอินซูลินลดลง นิโคตินยังทำให้เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้น้อยลง และส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ยังสูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ไตเสื่อม และเบาหวานขึ้นจอประสาทตา การสูบบุหรี่ยังทำให้การไหลเวียนเลือดไปที่เท้าลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่แผลติดเชื้อที่เท้า และเพิ่มโอกาสที่จะต้องถูกตัดขาเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการชา
  • ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานเพิ่มขึ้นในผู้สูบบุหรี่ เป็นผลจากสารในบุหรี่ เช่น นิโคติน ก่อให้เกิดการหลั่งสาร Epinephrine ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น หลอดเลือดแดงหดตีบตัน เพิ่มไขมันในเส้นเลือด เกิดการทำลายของเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือดทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คาร์บอนไดซัลไฟล์ ทำให้ผนังเส้นเลือดแดงหนา และแข็งขึ้น
  • เบาหวานทำให้ภูมิต้านทานลดลงเป็นทุนอยู่แล้ว การสูบบุหรี่ยิ่งทำให้ภูมิต้านทานลดลงอีก ทำให้เกิดการติดเชื้อง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินหายใจ
  • การเลิกบุหรี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น ป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง และไตเสื่อมลดลงอย่างมาก
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงสูงขึ้น 22% ที่จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หรือเข้าสู่ภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งเพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวานในอนาคต เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้ามักมีสารนิโคตินในปริมาณที่สูงกว่าบุหรี่ทั่วไป

 

บทความโดย นพ. ภาสกร จิตรรักไทย

ศูนย์ระบบการหายใจ ชั้น 3 โซน C

  • คนที่เคยสูบบุหรี่และผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นเบาหวาน โดยผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 30-40%
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นตามจำนวนที่สูบต่อวัน ยิ่งสูบมากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานมากขึ้น
  • ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ใหม่ ๆ จะมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานสูงขึ้นในช่วง 3 ปีแรก แต่ความเสี่ยงนี้จะลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป การเลิกสูบช่วยให้เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินดีขึ้นเรื่อย ๆ และหลังจากเลิกสูบบุหรี่ไปนานถึง 12 ปี ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจะลดลงจนเกือบเป็นศูนย์
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ยังสูบบุหรี่จะควบคุมน้ำตาลได้ยาก เพราะนิโคตินและสารพิษในบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายและรบกวนสมดุลของกลูโคส ส่งผลให้การทำงานของอินซูลินลดลง นิโคตินยังทำให้เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้น้อยลง และส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ยังสูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ไตเสื่อม และเบาหวานขึ้นจอประสาทตา การสูบบุหรี่ยังทำให้การไหลเวียนเลือดไปที่เท้าลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่แผลติดเชื้อที่เท้า และเพิ่มโอกาสที่จะต้องถูกตัดขาเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการชา
  • ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานเพิ่มขึ้นในผู้สูบบุหรี่ เป็นผลจากสารในบุหรี่ เช่น นิโคติน ก่อให้เกิดการหลั่งสาร Epinephrine ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น หลอดเลือดแดงหดตีบตัน เพิ่มไขมันในเส้นเลือด เกิดการทำลายของเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือดทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คาร์บอนไดซัลไฟล์ ทำให้ผนังเส้นเลือดแดงหนา และแข็งขึ้น
  • เบาหวานทำให้ภูมิต้านทานลดลงเป็นทุนอยู่แล้ว การสูบบุหรี่ยิ่งทำให้ภูมิต้านทานลดลงอีก ทำให้เกิดการติดเชื้อง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินหายใจ
  • การเลิกบุหรี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น ป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง และไตเสื่อมลดลงอย่างมาก
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงสูงขึ้น 22% ที่จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หรือเข้าสู่ภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งเพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวานในอนาคต เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้ามักมีสารนิโคตินในปริมาณที่สูงกว่าบุหรี่ทั่วไป

บทความโดย นพ. ภาสกร จิตรรักไทย

ศูนย์ระบบการหายใจ ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง