กระดูกสันหลังเสื่อม ไม่ต้องรอแก่ก็เสี่ยงได้

     โรคกระดูกสันหลังเสื่อม คือ กระดูกสันหลังมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างที่เปลี่ยนไปตามความเสื่อมที่เกิดขึ้น เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังที่แคบลง ผิวข้อกระดูกไม่เรียบ และคุณสมบัติของกระดูกสันหลังที่รับน้ำหนักได้ลดลง เคลื่อนไหวได้น้อยลง

     โรคกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดจากอะไร?

  • การเปลี่ยนแปลงตามอายุเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่ถูกส่งผ่านพันธุกรรมมาในแต่ละคนทำให้มีความแข็งแรงของโครงสร้างไม่เท่ากัน
  • การเปลี่ยนแปลงตามการใช้งาน ถ้ามีการใช้งานเกินความสามรถของกระดูกสันหลังก็จะทำให้เกิดการเสื่อมได้เร็วขึ้น เช่น การก้มยกของหนักบ่อย ๆ

     ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม?

  • ทุกคนสามารถเป็นกระดูกสันหลังเสื่อมได้ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาในการใช้งาน บางคนมีความเสื่อมของกระดูกสันหลังเร็ว บางคนเกิดขึ้นช้า
  • เกิดจากโครงสร้างกระดูกสันหลังที่ถูกสร้างขึ้นมาไม่แข็งแรงเท่าคนอื่น

     ผู้ป่วยจะมีความเสื่อมเร็วจากโครงสร้างผิดปกติ ทำให้เกิดความเสื่อมเร็ว และมีอาการได้ง่ายแม้ว่าอายุยังน้อยอยู่ บางรายมักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม ในทางการแพทย์พบสาเหตุในกลุ่มนี้พบได้ไม่มาก

  • เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังมากเกินความสามารถ

     เช่น การก้มยกของหนักมาก ๆ น้ำหนักที่เรายกจะส่งผ่านกระดูกสันหลังทำให้เกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลัง เมื่อเกิดเหตุการณ์ซ้ำๆทำให้เกิดความเสื่อมของกระดูกสันหลังได้ ร่างกายจะพยายามปรับตัวโดยการซ่อมแซมทำให้กระดูกและหมอนรองกระดูกสันหลังแข็งมากขึ้นเพื่อให้รับน้ำหนักได้ดีขึ้น แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นก็จะมีความยืดหยุ่นของร่างกายลดลง รวมถึงกระดูกสันหลังบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักจะเกิดการซ่อมแซม เปลี่ยนรูป ทำให้กระดูกและข้อมีขนาดโตมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของกระดูกสันหลังอาจจะไปกดเบียดเส้นประสาทที่อยู่ข้างเคียงร่วมด้วย

     1. มีอาการปวดหลัง หรือปวดจากกล้ามเนื้อรอบๆ

     กระดูกสันหลังที่ต้องทำงานแทนโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง ลักษณะอาการปวดหลังมักจะมากขึ้นเวลามีการใช้งาน เช่น การก้มเงย การยกของ

     2. เคลื่อนไหวได้ลดลง

     เช่น ก้มเงยลำบาก หลังแข็งตึง จากความยืดหยุ่นที่ลดลงและข้อที่ขยับได้น้อยลง โดยเฉพาะเวลาลุกจากเตียงผู้ป่วยต้องใช้เวลามากกว่าปกติ

     3. มีอาการปวดร้าว ชา หรืออ่อนแรงตามแนวเส้นประสาท

     อาการที่เป็นจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งการกดทับเส้นประสาท ถ้าเป็นจากโรคกระดูกสันหลังส่วนคอมักจะมีอาการของระบบประสาทที่แขนและมือ แต่ถ้าเป็นจากโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวจะทำให้มีอาการทางระบบประสาทที่ขา

 

 

 

     1. หลีกเลี่ยงการใช้งานหนักในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน ๆ

      เช่น การก้มเล่นมือถือนานๆ การขับรถทางไกลโดยไม่หยุดพัก หรือการก้มยกของหนัก รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยได้อย่างมาก

     2. คนไข้ที่มีน้ำหนักตัวมากผิดปกติ

     ทำให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักเกินความสามารถตลอดเวลา การลดน้ำหนักสามารถช่วยให้ภาระต่อกระดูกสันหลังลดลง

     3. การออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

     จะช่วยทำให้การทำงานของกระดูกสันหลังสามารถชะลอความเสื่อมได้

     1. การรักษาด้วยยา

     มีความจำเป็นเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดมาก หรือมีอาการปวดตามเส้นประสาท (การกินยาแก้ปวดเป็นระยะเวลานานจะต้องระวังผลแทรกซ้อนจากยา)

     2. การทำกายภาพบำบัด

     เพื่อลดอาการปวดและเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลัง

     3. การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงคอและพยุงหลัง

     มักจะใช้ช่วงที่ปวดมาก เมื่ออาการดีขึ้นควรงดการใช้เนื่องจากจะส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังมีความแข็งแรงลดลง

     4. การฉีดยาลดอาการปวดตามเส้นประสาท

     ในบางครั้งผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรงไม่ดีขึ้นจากการรักษา แพทย์อาจจะพิจารณาการฉีดยาลดอาการปวดตามเส้นประสาทได้ เพื่อลดอาการในช่วงที่มีอาการรุนแรง และมีประโยชน์ในการบอกถึงตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการปวดได้

     5. การผ่าตัด

     หากการรักษาไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาให้ทำการผ่าตัด

 

 

 

     1. รักษาท่าทางที่ดี ยืน นั่ง และเดิน โดยให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง หลีกเลี่ยงการงอหลังหรือโน้มตัวไปข้างหน้า โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องนั่งนาน ๆ

     2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย เช่น เดิน ว่ายน้ำ หรือโยคะ ช่วยให้กระดูกสันหลังยืดหยุ่นและแข็งแรง

     3. เสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลาง เช่น กล้ามท้องและหลังส่วนล่าง เพื่อช่วยพยุงกระดูกสันหลัง

     4. ยกของให้ถูกวิธี เมื่อยกของหนัก ให้งอเข่า และให้ของอยู่ใกล้ตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้หลังเคล็ด

     5. นอนบนที่นอนที่ดี ตรวจสอบว่าที่นอนของคุณรองรับกระดูกสันหลังอย่างเหมาะสม การนอนหงายหรือนอนตะแคงจะดีกว่าการนอนคว่ำ

     6. ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยรักษาความยืดหยุ่นของหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเบาะรองกระดูกสันหลัง

     7. รักษาน้ำหนักให้เหมาะสม น้ำหนักที่มากเกินไปอาจทำให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากเกินไป ดังนั้นการรักษาน้ำหนักที่เหมาะสมจึงสำคัญ

     8. ยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ รวมการยืดกล้ามเนื้อในกิจวัตรประจำวันของคุณเพื่อรักษาความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังและป้องกันการแข็งเกร็ง

     9. ระวังการเคลื่อนไหว หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่กระตุกหรือรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้กระดูกสันหลังเคล็ดได้

     10. ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

ทานคอลลาเจนรักษากระดูกสันหลังเสื่อมได้ไหม?

  • ในปัจจุบันยังไม่มีผลพิสูจน์ทางการแพทย์ที่ยืนยันผลของคอลลาเจนว่าสามารถลดความเสื่อมของกระดูกสันหลังได้

การจัดกระดูกช่วยเรื่องกระดูกสันหลังเสื่อมหรือไม่?

  • การจัดกระดูกสันหลังยังไม่ได้เป็นการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องความเสื่อมของกระดูกสันหลัง

หากไม่รักษากระดูกสันหลังเสื่อมจะเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ไหม?

  • กระดูกสันหลังเสื่อมถ้าไม่ได้มีการกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ไม่มีโอกาสเกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ในผู้ป่วยที่มีการกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังจากความเสื่อมของกระดูกสันหลังจะมีอาการเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปช้าๆ ยกเว้นกรณีที่มีอุบัติเหตุร่วมด้วยในผู้ป่วยที่มีความเสื่อมของกระดูกสันหลังที่มีการกดทับเส้นประสาทอยู่แล้ว อุบัติเหตุจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของระบบประสาทที่รุนแรงได้

หากสงสัยว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ออร์โธปิดิกส์ เพื่อตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มแรกด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรง

ข้อมูลจาก : ผศ.นพ.มนต์ชัย เรืองชัยนิคม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

 

หากสงสัยว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ออร์โธปิดิกส์ เพื่อตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มแรกด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรง

ข้อมูลจาก : ผศ.นพ.มนต์ชัย เรืองชัยนิคม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

 

 

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง