เช็กอาการก่อนหัวใจเต้นผิดจังหวะ

   หัวใจสามารถเริ่มเต้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา การที่หัวใจสามารถเต้นได้นั้น หลายคนอาจไม่รู้ว่าหัวใจของคนเราทำงานอย่างไร วันนี้ทางโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์จึงขออธิบายไว้ ณ ตรงนี้ว่า หัวใจของคนเรานั้น สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ แถมยังสามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้อีกด้วย โดยส่งกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องขวาบน มายัง หัวใจห้องซ้ายบน และห้องล่าง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไป จะไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจ ให้เกิดการบีบตัวไล่เลือด เลือดจึงไหลอย่างมีระบบระเบียบ ดังนั้น หากระบบไฟฟ้าผิดปกติไป ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะชักนำให้เกิดการเต้นที่ผิดจังหวะ ผิดปกติ ซึ่งบางครั้งรุนแรงมาก จนทำให้เสียชีวิตนั่นเอง

   กล้ามเนื้อหัวใจ มีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น ๆ คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบน เรียกว่า Sinus Node โดยมีอัตราการปล่อยกระแสไฟฟ้าประมาณ 60 - 100 ครั้งต่อนาที (ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนหลายชนิด) ไฟฟ้าที่ออกจากหัวใจห้องขวาบน ( Sinus Node ) จะกระจายออกไปตามเซลล์นำไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในหัวใจ เริ่มจากขวาไปช้าย (ห้องบนขวาไปห้องบนช้าย) และลงล่างด้วย เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ ก็จะเกิดการหดตัวขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ ดังนั้นการบีบตัวของห้องหัวใจจึงเริ่มจากด้านขวามาด้านช้าย และ ห้องบนก่อนลงห้องล่าง

   วงจรการไหลเวียนของเลือดจะเริ่มจาก หัวใจห้องขวาบน รับเลือดดำจากเส้นต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่าน ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด ( Tricuspid ) ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัว ตามมาไล่เลือด (เป็นเลือดดำ) ออกไปฟอกที่ปอด โดยผ่านหลอดเลือดที่เรียกว่า Pulmonary Artery เลือดจะถูกฟอกที่ปอด โดยอาศัยการแลกเปลี่ยน gas ผ่านทางหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่ผนังถุงลมของปอด จากนั้นเลือด (เลือดแดง) จะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่ที่เรียกว่า Pulmonary Vein เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดไหลจากห้องช้ายบนลงมาซ้ายล่าง โดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล ( Mitral ) เมื่อเลือด ( แดง ) อยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยงร่างกาย

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

   เกิดจากการมีจุด หรือ ตำแหน่งในหัวใจ เกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีการลัดวงจรของไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งจะมีผลต่อการหมุนเวียนเลือดบริเวณที่เกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดทำให้มีภาวะเลือดตกค้าง และเกิดลิ่มเลือดขึ้นในช่องหัวใจ โดยลิ่มเลือดนั้นมีโอกาสที่จะหลุดจากหัวใจ ไปตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักจะหลุดไปที่สมอง ทำให้เส้นเลือดสมองอุดตัน และอาจเกิดภาวะอัมพาตในที่สุด

#ศูนย์หัวใจ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #หัวใจเต้นผิดจังหวะ #ลิ่มเลือดหัวใจ #เส้นเลือดสมองอุดตัน #อัมพาต #โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด #เบาหวาน #ความดันโลหิตสูง #เจ็บหน้าอก #เป็นลมหมดสติ #รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ #Arrhythmia

สาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

   ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดจากความเครียด วิตกกังวลเกินไป พักผ่อนไม่พอ การดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ หรือยาบางชนิด อาจะทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งวิธีหลีกเลี่ยงคือ การพยายามลด ละ เลิก พฤติกรรมที่กล่าวมาเหล่านี้ และ หมั่นออกกำลังกายเพื่อหัวใจแข็งแรง

อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

   หัวใจที่เต้นผิดจังหวะทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกดิ จึงเกิดอาการเหล่านี้

  • ใจสั่น เจ็บหน้าอก : เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทำให้แรงบีบตัวของหัวใจในแต่ละครั้งไม่เพียงพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ รวมทั้งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • เป็นลมหมดสติ ร่างกายอ่อนเพลีย : เกิดจากหัวใจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะสมองและหัวใจทำให้มีอาการหน้ามืด เป็นลม
  • เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ : ลิ่มเลือดนี้อาจหลุดผ่านหัวใจออกไปที่หลอดเลือดแดงใหญ่ หรือหลุดไปอุดตันเส้นเลือดแดงต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะผิดปกติในบริเวณที่มีการอุดตัน เช่น ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ และภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายไปเลี้ยงแขนขาอุดตันอย่างเฉียบพลัน

คลื่นไฟฟ้ากับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

   โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือไฟฟ้า ในหัวใจลัดวงจร โดยปกติ ที่หัวใจจะเต้นด้วยอัตรา 60 - 100 ครั้งต่อนาที ก็อาจเต้นช้า (น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที) หรือเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งวินาที) หรือเต้นอย่างไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเต้นเดี๋ยวหยุด หรือ เต้นเร็วสลับกับเต้นช้า การรักษาให้หายขาด สามารถทำได้ด้วยการจี้คลื่นไฟฟ้า โดยแพทย์จะเจาะเส้นเลือดบริเวณต้นขาของคนไข้ แล้วสอดสายสวนหัวใจเข้าไปหาตำแหน่งไฟฟ้าในหัวใจที่ลัดวงจร จากนั้นจะปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เข้าไปทำให้อุณหภูมิที่ปลายสวนหัวใจสูงขึ้น จาก 37 °เซลเซียส  เป็น 50 ° –  60 °เซลเซียส ทำให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจที่มีการลัดวงจร ในขณะนั้นถูกทำลายลง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 –  2 วัน เท่านั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

   หัวใจสามารถเริ่มเต้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา การที่หัวใจสามารถเต้นได้นั้น หลายคนอาจไม่รู้ว่าหัวใจของคนเราทำงานอย่างไร วันนี้ทางโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์จึงขออธิบายไว้ ณ ตรงนี้ว่า หัวใจของคนเรานั้น สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ แถมยังสามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้อีกด้วย โดยส่งกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องขวาบน มายัง หัวใจห้องซ้ายบน และห้องล่าง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไป จะไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจ ให้เกิดการบีบตัวไล่เลือด เลือดจึงไหลอย่างมีระบบระเบียบ ดังนั้น หากระบบไฟฟ้าผิดปกติไป ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะชักนำให้เกิดการเต้นที่ผิดจังหวะ ผิดปกติ ซึ่งบางครั้งรุนแรงมาก จนทำให้เสียชีวิตนั่นเอง

   กล้ามเนื้อหัวใจ มีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น ๆ คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบน เรียกว่า Sinus Node โดยมีอัตราการปล่อยกระแสไฟฟ้าประมาณ 60 - 100 ครั้งต่อนาที (ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนหลายชนิด) ไฟฟ้าที่ออกจากหัวใจห้องขวาบน ( Sinus Node ) จะกระจายออกไปตามเซลล์นำไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในหัวใจ เริ่มจากขวาไปช้าย (ห้องบนขวาไปห้องบนช้าย) และลงล่างด้วย เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ ก็จะเกิดการหดตัวขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ ดังนั้นการบีบตัวของห้องหัวใจจึงเริ่มจากด้านขวามาด้านช้าย และ ห้องบนก่อนลงห้องล่าง

   วงจรการไหลเวียนของเลือดจะเริ่มจาก หัวใจห้องขวาบน รับเลือดดำจากเส้นต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่าน ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด ( Tricuspid ) ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัว ตามมาไล่เลือด (เป็นเลือดดำ) ออกไปฟอกที่ปอด โดยผ่านหลอดเลือดที่เรียกว่า Pulmonary Artery เลือดจะถูกฟอกที่ปอด โดยอาศัยการแลกเปลี่ยน gas ผ่านทางหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่ผนังถุงลมของปอด จากนั้นเลือด (เลือดแดง) จะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่ที่เรียกว่า Pulmonary Vein เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดไหลจากห้องช้ายบนลงมาซ้ายล่าง โดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล ( Mitral ) เมื่อเลือด ( แดง ) อยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยงร่างกาย

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

   เกิดจากการมีจุด หรือ ตำแหน่งในหัวใจ เกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีการลัดวงจรของไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งจะมีผลต่อการหมุนเวียนเลือดบริเวณที่เกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดทำให้มีภาวะเลือดตกค้าง และเกิดลิ่มเลือดขึ้นในช่องหัวใจ โดยลิ่มเลือดนั้นมีโอกาสที่จะหลุดจากหัวใจ ไปตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักจะหลุดไปที่สมอง ทำให้เส้นเลือดสมองอุดตัน และอาจเกิดภาวะอัมพาตในที่สุด

#ศูนย์หัวใจ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #หัวใจเต้นผิดจังหวะ #ลิ่มเลือดหัวใจ #เส้นเลือดสมองอุดตัน #อัมพาต #โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด #เบาหวาน #ความดันโลหิตสูง #เจ็บหน้าอก #เป็นลมหมดสติ #รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ #Arrhythmia

สาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

   ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดจากความเครียด วิตกกังวลเกินไป พักผ่อนไม่พอ การดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ หรือยาบางชนิด อาจะทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งวิธีหลีกเลี่ยงคือ การพยายามลด ละ เลิก พฤติกรรมที่กล่าวมาเหล่านี้ และ หมั่นออกกำลังกายเพื่อหัวใจแข็งแรง

อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

   หัวใจที่เต้นผิดจังหวะทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกดิ จึงเกิดอาการเหล่านี้

  • ใจสั่น เจ็บหน้าอก : เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทำให้แรงบีบตัวของหัวใจในแต่ละครั้งไม่เพียงพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ รวมทั้งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • เป็นลมหมดสติ ร่างกายอ่อนเพลีย : เกิดจากหัวใจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะสมองและหัวใจทำให้มีอาการหน้ามืด เป็นลม
  • เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ : ลิ่มเลือดนี้อาจหลุดผ่านหัวใจออกไปที่หลอดเลือดแดงใหญ่ หรือหลุดไปอุดตันเส้นเลือดแดงต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะผิดปกติในบริเวณที่มีการอุดตัน เช่น ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ และภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายไปเลี้ยงแขนขาอุดตันอย่างเฉียบพลัน

คลื่นไฟฟ้ากับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

   โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือไฟฟ้า ในหัวใจลัดวงจร โดยปกติ ที่หัวใจจะเต้นด้วยอัตรา 60 - 100 ครั้งต่อนาที ก็อาจเต้นช้า (น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที) หรือเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งวินาที) หรือเต้นอย่างไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเต้นเดี๋ยวหยุด หรือ เต้นเร็วสลับกับเต้นช้า การรักษาให้หายขาด สามารถทำได้ด้วยการจี้คลื่นไฟฟ้า โดยแพทย์จะเจาะเส้นเลือดบริเวณต้นขาของคนไข้ แล้วสอดสายสวนหัวใจเข้าไปหาตำแหน่งไฟฟ้าในหัวใจที่ลัดวงจร จากนั้นจะปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เข้าไปทำให้อุณหภูมิที่ปลายสวนหัวใจสูงขึ้น จาก 37 °เซลเซียส  เป็น 50 ° –  60 °เซลเซียส ทำให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจที่มีการลัดวงจร ในขณะนั้นถูกทำลายลง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 –  2 วัน เท่านั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง