
วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และโรคไอกรน
โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และโรคไอกรน (Tetanus, Diphtheria, and Pertussis) เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็ก และสามารถพบได้ในผู้ใหญ่ โดยโรคคอตีบ (Diphtheria) และไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันที่ติดต่อได้ผ่านทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการหายใจนำละอองอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อจากการไอจามของผู้ป่วย ทำให้เกิดการอักเสบและมีเนื้อตายเป็นแผ่นหนาในคอหอยหรือหลอดลม ทำให้เกิดการตีบตันของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบและทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับโรคบาดทะยัก (Tetanus) สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ เนื่องจากมีการปนเปื้อนของเชื้อบาดทะยักได้ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผลที่ปนเปื้อน
ทำไมต้องฉีดวัคซีนรวมบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน? (Tetanus, Diphtheria, and Pertussis Vaccine)
โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และโรคไอกรน มักเกิดกับผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนในวัยเด็ก หรือไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น และเพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันโรคของผู้ใหญ่ให้อยู่ในระดับที่สูงเพียงพอต่อการป้องกันโรคได้
ข้อมูลวัคซีน
วัคซีนมีหลายชนิด เช่น วัคซีนเดี่ยว วัคซีนบาดทะยัก (tetanus toxoid; TT) วัคซีนรวม 2 โรค วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ (tetanus-diphtheria vaccine; Td) และวัคซีนรวม 3 โรค วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน (tetanus-diphtheria-acellular pertussis vaccine; Tdap และ TdaP)
ผลข้างเคียงของวัคซีน
- อาจจะมีอาการปวด บวม แดง และร้อนได้เล็กน้อยบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- อาจมีไข้ต่ำ ๆ อาการไข้มักเกิดภายใน 24 ชั่วโมง และหายไปเองภายใน 2 - 3 วัน
- คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งพบได้ไม่บ่อย
- อาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ชัก พบได้น้อยมาก
การดูแลรักษาอาการข้างเคียง
1. หากมีอาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบ กรณีเป็นไตแข็งให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ ผู้ฉีดบางรายอาจมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีดมากกว่าปกติ คือ บวมลามไปถึงหัวไหล่ ข้อศอกหรือทั่วทั้งแขน อาการดังกล่าวไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เป็นอาการที่พบได้น้อย สามารถรักษาให้หายได้ ไม่มีผลระยะยาว หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์
2. หากมีอาการไข้ ตัวร้อน ให้เช็ดตัวเพื่อลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลดให้รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม ทุก 4 - 6 ชั่วโมง จนกว่าไข้จะลด
3. หากมีอาการรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้วัคซีนที่มี Pertussis toxin เป็นส่วนประกอบในผู้ที่มีอาการทางระบบประสาท (encephalopathy) เช่น ไม่รู้สึกตัว ความรู้สึกตัวลดลง ชักเป็นเวลานาน ที่ไม่อธิยายด้วยสาเหตุอื่นภายใน 7 วันหลังได้รับวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ในครั้งก่อน
2. ห้ามให้วัคซีนชนิดนี้ในผู้ที่เคยมีปฏิกิริยารุนแรงต่อวัคซีนนี้มาก่อน หรือมีอาการแพ้มาก่อน
3. หากมีไข้สูงควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน
ราคาวัคซีน
- วัคซีนบาดทะยัก ราคาต่อเข็ม 128 บาท
- วัคซีนรวมบาดทะยัก-คอตีบ ราคาต่อเข็ม 248 บาท
- วัคซีนรวมบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ราคาต่อเข็ม 600 - 825 บาท
(ราคา ณ มิ.ย. 68 อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E
โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และโรคไอกรน (Tetanus, Diphtheria, and Pertussis) เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็ก และสามารถพบได้ในผู้ใหญ่ โดยโรคคอตีบ (Diphtheria) และไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันที่ติดต่อได้ผ่านทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการหายใจนำละอองอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อจากการไอจามของผู้ป่วย ทำให้เกิดการอักเสบและมีเนื้อตายเป็นแผ่นหนาในคอหอยหรือหลอดลม ทำให้เกิดการตีบตันของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบและทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับโรคบาดทะยัก (Tetanus) สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ เนื่องจากมีการปนเปื้อนของเชื้อบาดทะยักได้ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผลที่ปนเปื้อน
ทำไมต้องฉีดวัคซีนรวมบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน? (Tetanus, Diphtheria, and Pertussis Vaccine)
โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และโรคไอกรน มักเกิดกับผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนในวัยเด็ก หรือไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น และเพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันโรคของผู้ใหญ่ให้อยู่ในระดับที่สูงเพียงพอต่อการป้องกันโรคได้
ข้อมูลวัคซีน
วัคซีนมีหลายชนิด เช่น วัคซีนเดี่ยว วัคซีนบาดทะยัก (tetanus toxoid; TT) วัคซีนรวม 2 โรค วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ (tetanus-diphtheria vaccine; Td) และวัคซีนรวม 3 โรค วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน (tetanus-diphtheria-acellular pertussis vaccine; Tdap และ TdaP)
ผลข้างเคียงของวัคซีน
- อาจจะมีอาการปวด บวม แดง และร้อนได้เล็กน้อยบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- อาจมีไข้ต่ำ ๆ อาการไข้มักเกิดภายใน 24 ชั่วโมง และหายไปเองภายใน 2 - 3 วัน
- คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งพบได้ไม่บ่อย
- อาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ชัก พบได้น้อยมาก
การดูแลรักษาอาการข้างเคียง
1. หากมีอาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบ กรณีเป็นไตแข็งให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ ผู้ฉีดบางรายอาจมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีดมากกว่าปกติ คือ บวมลามไปถึงหัวไหล่ ข้อศอกหรือทั่วทั้งแขน อาการดังกล่าวไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เป็นอาการที่พบได้น้อย สามารถรักษาให้หายได้ ไม่มีผลระยะยาว หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์
2. หากมีอาการไข้ ตัวร้อน ให้เช็ดตัวเพื่อลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลดให้รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ในขนาดที่เหมาะสม ทุก 4 - 6 ชั่วโมง จนกว่าไข้จะลด
3. หากมีอาการรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
1. ไม่ควรให้วัคซีนที่มี Pertussis toxin เป็นส่วนประกอบในผู้ที่มีอาการทางระบบประสาท (encephalopathy) เช่น ไม่รู้สึกตัว ความรู้สึกตัวลดลง ชักเป็นเวลานาน ที่ไม่อธิยายด้วยสาเหตุอื่นภายใน 7 วันหลังได้รับวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ในครั้งก่อน
2. ห้ามให้วัคซีนชนิดนี้ในผู้ที่เคยมีปฏิกิริยารุนแรงต่อวัคซีนนี้มาก่อน หรือมีอาการแพ้มาก่อน
3. หากมีไข้สูงควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน
ราคาวัคซีน
- วัคซีนบาดทะยัก ราคาต่อเข็ม 128 บาท
- วัคซีนรวมบาดทะยัก-คอตีบ ราคาต่อเข็ม 248 บาท
- วัคซีนรวมบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ราคาต่อเข็ม 600 - 825 บาท
(ราคา ณ มิ.ย. 68 อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล)
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E