ผ่าตัดไทรอยด์ส่องกล้องทางช่องปาก เทคนิคใหม่ไร้รอยแผล

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์

   ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ ทำหน้าที่ควบคุมระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์จากการสังเกตหรือคลำพบก้อนที่คอได้ด้วยตนเอง โดยก้อนนั้นจะเคลื่อนที่ขึ้นลงตามการกลืน หากก้อนมีขนาดใหญ่จะมีอาการจากก้อนที่กดเบียด เช่น จุกแน่นที่คอ กลืนลำบาก เสียงแหบ แพทย์จะตรวจวินิจฉัย โดยการเจาะเลือดดูค่าการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมน พิจารณาทำการอัลตร้าซาวนด์ที่คอ เพื่อดูลักษณะและตำแหน่งของก้อน จากนั้นจะเจาะดูดชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดเล็กส่งตรวจทางเซลล์วิทยา เพื่อหาโอกาสของการเป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์ และให้คำแนะนำสำหรับการรักษาที่เหมาะสม การรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์มีทั้งการติดตามอาการ การรับประทานยา และการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลตรวจทางเซลล์วิทยา และลักษณะของก้อน

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์

    การผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิดบริเวณคอ (Open thyroidectomy) เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่มีมาแต่ดั้งเดิมและเป็นวิธีผ่าตัดมาตรฐานในปัจจุบัน การผ่าตัดโดยวิธีนี้มีข้อดีคือ ใช้ในการรักษาโรคของต่อมไทรอยด์ได้ทุกขนาด และเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์ รวมทั้งกรณีมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะข้างเคียง

   อย่างไรก็ตาม รอยแผลผ่าตัดที่คอเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จากวิธีการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด ซึ่งในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดแผลเป็นนูน หรือ คีลอยด์ ที่บริเวณกลางลำคอ ส่งผลต่อความมั่นใจในรูปลักษณ์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ลดลง

 

การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดบริเวณคอ (Open thyroidectomy) และรอยแผลเป็นนูน (Keloid)

 

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral endoscopic thyroidectomy)

   การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านทางช่องปาก เป็นเทคนิคการผ่าตัดวิธีล่าสุดที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก โดยในการผ่าตัดจะใช้เทคโนโลยีกล้องขนาดเล็กที่มีความละเอียดสูงช่วยในการผ่าตัด ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก โดยแผลจะอยู่บริเวณด้านในของริมฝีปากล่าง ตรงกลางขนาด 1.5 เซนติเมตร และด้านข้างอีก 2 จุด ข้างละ 0.5 เซนติเมตร

 

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral endoscopic thyroidectomy)

 

    จึงเป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์วิธีเดียวที่จะไม่เกิดแผลเป็นที่บริเวณผิวหนังที่มองเห็นจากภายนอกเลย (Scarless Thyroidectomy) นอกจากนี้ระยะจากแผลไปยังต่อมไทรอยด์มีระยะทางสั้นที่สุดเมื่อเทียบการการผ่าตัดเทคนิคอื่น จึงลดการอักเสบของเนื้อเยื่อโดยรอบ และเทคนิคการผ่าตัดวิธีนี้ยังสามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้ง 2 ข้างออกได้พร้อมกัน การผ่าตัดวิธีนี้ให้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีและมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิดซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน โดยสรุปข้อดีของการการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากนั้น ผู้ป่วยจะใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น อาการปวดแผลน้อย ฟื้นตัวเร็ว สามารถกินอาหารได้ปกติหลังผ่าตัด และไม่มีแผลด้านนอก ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังการผ่าตัด

 ผู้ป่วยที่เหมาะสมในการทำผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก

  1. ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีแผลเป็นที่บริเวณคอ
  2. กรณีก้อนต่อมไทรอยด์ที่ไม่เป็นมะเร็ง ต้องมีขนาดของต่อมไทรอยด์แต่ละข้างไม่เกิน 8 เซนติเมตร และขนาดของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ไม่เกิน 6 เซนติเมตร
  3. กรณีก้อนที่ต่อมไทรอยด์เป็นมะเร็ง ควรมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร และไม่มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ

ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

   หลังผ่าตัดจะพบมีลมแทรกในชั้นใต้ผิวหนัง ซึ่งจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน  นอกจากนี้อาจมีอาการบวมและชาบริเวณคาง ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายภายใน 1-3 สัปดาห์ ภาวะเสียงแหบหลังผ่าตัดจะพบได้ ประมาณ 1-2% (เท่ากับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิด) ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีการตรวจสัญญาณของเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของสายเสียงขณะผ่าตัด (Intraoperative nerve monitoring) ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

  1. รับประทานอาหารอ่อน 2-3 วัน จากนั้นรับประทานอาหารได้ปกติ
  2. รับประทานยาปฏิชีวนะจนครบ 1 สัปดาห์
  3. สามารถอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายได้ตามปกติ
  4. หลีกเลี่ยงการไอ จาม เบ่งถ่าย การออกแรงยกของหนัก หรือการออกกำลังกายหนัก อย่างน้อย 1 สัปดาห์
  5. หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ แนะนำให้เริ่มบริหารรอบปากและลำคอ เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดที่คอ

ข้อมูลจาก อ.นพ. ปรัชญา มณีประสพโชค

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D

 

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์

   ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ ทำหน้าที่ควบคุมระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์จากการสังเกตหรือคลำพบก้อนที่คอได้ด้วยตนเอง โดยก้อนนั้นจะเคลื่อนที่ขึ้นลงตามการกลืน หากก้อนมีขนาดใหญ่จะมีอาการจากก้อนที่กดเบียด เช่น จุกแน่นที่คอ กลืนลำบาก เสียงแหบ แพทย์จะตรวจวินิจฉัย โดยการเจาะเลือดดูค่าการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมน พิจารณาทำการอัลตร้าซาวนด์ที่คอ เพื่อดูลักษณะและตำแหน่งของก้อน จากนั้นจะเจาะดูดชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดเล็กส่งตรวจทางเซลล์วิทยา เพื่อหาโอกาสของการเป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์ และให้คำแนะนำสำหรับการรักษาที่เหมาะสม การรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์มีทั้งการติดตามอาการ การรับประทานยา และการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลตรวจทางเซลล์วิทยา และลักษณะของก้อน

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์

    การผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิดบริเวณคอ (Open thyroidectomy) เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่มีมาแต่ดั้งเดิมและเป็นวิธีผ่าตัดมาตรฐานในปัจจุบัน การผ่าตัดโดยวิธีนี้มีข้อดีคือ ใช้ในการรักษาโรคของต่อมไทรอยด์ได้ทุกขนาด และเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์ รวมทั้งกรณีมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะข้างเคียง

   อย่างไรก็ตาม รอยแผลผ่าตัดที่คอเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จากวิธีการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด ซึ่งในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดแผลเป็นนูน หรือ คีลอยด์ ที่บริเวณกลางลำคอ ส่งผลต่อความมั่นใจในรูปลักษณ์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ลดลง

การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดบริเวณคอ (Open thyroidectomy) และรอยแผลเป็นนูน (Keloid)

 

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral endoscopic thyroidectomy)

   การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านทางช่องปาก เป็นเทคนิคการผ่าตัดวิธีล่าสุดที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก โดยในการผ่าตัดจะใช้เทคโนโลยีกล้องขนาดเล็กที่มีความละเอียดสูงช่วยในการผ่าตัด ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก โดยแผลจะอยู่บริเวณด้านในของริมฝีปากล่าง ตรงกลางขนาด 1.5 เซนติเมตร และด้านข้างอีก 2 จุด ข้างละ 0.5 เซนติเมตร

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral endoscopic thyroidectomy)

    จึงเป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์วิธีเดียวที่จะไม่เกิดแผลเป็นที่บริเวณผิวหนังที่มองเห็นจากภายนอกเลย (Scarless Thyroidectomy) นอกจากนี้ระยะจากแผลไปยังต่อมไทรอยด์มีระยะทางสั้นที่สุดเมื่อเทียบการการผ่าตัดเทคนิคอื่น จึงลดการอักเสบของเนื้อเยื่อโดยรอบ และเทคนิคการผ่าตัดวิธีนี้ยังสามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้ง 2 ข้างออกได้พร้อมกัน การผ่าตัดวิธีนี้ให้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีและมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิดซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน โดยสรุปข้อดีของการการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากนั้น ผู้ป่วยจะใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น อาการปวดแผลน้อย ฟื้นตัวเร็ว สามารถกินอาหารได้ปกติหลังผ่าตัด และไม่มีแผลด้านนอก ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังการผ่าตัด

 ผู้ป่วยที่เหมาะสมในการทำผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก

  1. ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีแผลเป็นที่บริเวณคอ
  2. กรณีก้อนต่อมไทรอยด์ที่ไม่เป็นมะเร็ง ต้องมีขนาดของต่อมไทรอยด์แต่ละข้างไม่เกิน 8 เซนติเมตร และขนาดของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ไม่เกิน 6 เซนติเมตร
  3. กรณีก้อนที่ต่อมไทรอยด์เป็นมะเร็ง ควรมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร และไม่มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ

ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

   หลังผ่าตัดจะพบมีลมแทรกในชั้นใต้ผิวหนัง ซึ่งจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน  นอกจากนี้อาจมีอาการบวมและชาบริเวณคาง ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายภายใน 1-3 สัปดาห์ ภาวะเสียงแหบหลังผ่าตัดจะพบได้ ประมาณ 1-2% (เท่ากับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิด) ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีการตรวจสัญญาณของเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของสายเสียงขณะผ่าตัด (Intraoperative nerve monitoring) ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

  1. รับประทานอาหารอ่อน 2-3 วัน จากนั้นรับประทานอาหารได้ปกติ
  2. รับประทานยาปฏิชีวนะจนครบ 1 สัปดาห์
  3. สามารถอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายได้ตามปกติ
  4. หลีกเลี่ยงการไอ จาม เบ่งถ่าย การออกแรงยกของหนัก หรือการออกกำลังกายหนัก อย่างน้อย 1 สัปดาห์
  5. หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ แนะนำให้เริ่มบริหารรอบปากและลำคอ เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดที่คอ

ข้อมูลจาก อ.นพ. ปรัชญา มณีประสพโชค

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง