โรคลมพิษ ผื่นแดงร้าย อันตรายกว่าที่คิด

โรคลมพิษ (Urticaria) คือโรคที่มีอาการแสดงทางผิวหนังเป็นลักษณะผื่นนูนแดง (Wheal and flare) และคัน อาจพบร่วมกับอาการบวมนูนใต้ผิวหนัง (Angioedema) และพบได้บ่อยร้อยละ 10-20 ของประชากรทั่วไปจะเคยมีประสบการณ์การเป็นผื่นลมพิษ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่ออาหาร ยา การติดเชื้อ สิ่งกระตุ้นทางกายภาพ หรือเกิดขึ้นมาเองโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

อาการและอาการแสดง

ลักษณะอาการคือ ผื่นนูน (Wheal) ล้อมรอบด้วยรอยแดง (Flare) โดยเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของร่างกาย ส่วนใหญ่จะมีอาการคัน เกิดขึ้นทันทีและจางหายไปใน 24 ชั่วโมง โดยไม่ทิ้งร่องรอยหลังผื่นยุบ

ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดร่วมกับอาการบวมนูนในชั้นผิวหนังแท้ส่วนล่างหรือชั้นใต้ผิวหนัง (Angioedema) ซึ่งมักเกิดในบริเวณเนื้ออ่อน เช่น เปลือกตา ริมฝีปาก เป็นต้น หากเกิดขึ้นบริเวณกล่องเสียงจะทำให้เสียงแหบ และหากมีอาการบวมของหลอดลมจะมีอาการหายใจลำบากส่งผลอันรายถึงชีวิต และการบวมของเยื่อบุทางเดินอาหารจะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเหลวได้

ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีภาวะ Anaphylaxis คือ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบหืด เสียงแหบ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดินถึงขั้นมีภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือมีภาวะช็อค (Anaphylaxis Shock) ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินและอันตรายถึงชีวิต

การแบ่งชนิดของโรคลมพิษ

แบ่งตามระยะเวลาที่เกิดได้ 2 ชนิด

  • โรคลมพิษเฉียบพลัน (Acute Urticaria) ผื่นลมพิษที่มีอาการต่อเนื่องเป็นเวลาน้อยกว่า 6 สัปดาห์ สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ การติดเชื้อในร่างกาย ยา อาหาร แมลงสัตว์กัดต่อย หรือในบางรายตรวจไม่ทราบสาเหตุ
  • ลมพิษเรื้อรัง (Chronic Urticaria) มีอาการอย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ และต่อเนื่องนานกว่า 6 สัปดาห์

แบ่งตามสาเหตุของโรค

  • ลมพิษที่เกิดขึ้นเอง (Spontaneous urticaria)
  1. โรคลมพิษเฉียบพลัน (Acute Urticaria)
  2. โรคลมพิษเรื้อรัง (Chronic Urticaria)
  • ลมพิษเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ (Inducible Urticaria)
  1. โรคลมพิษที่ขึ้นตามรอยขีดข่วน (Dermographism) เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังเกิดปฏิกิริยาไวต่อรอยขีดข่วน เกิดเป็นรอยนูนบริเวณที่ถูกขีดข่วนภายในไม่กี่นาที ทำให้มีอาการคันและยิ่งเกาจะเป็นรอยและคันมากขึ้น
  2. โรคลมพิษที่เกิดจากความเย็น (Cold urticaria) จะปรากฏขึ้นเมื่อผิวหนังสัมผัสความเย็นแล้วกลับมาอุ่นใหม่ (Rewarming)
  3. โรคลมพิษที่เกิดจากการสัมผัสน้ำ (Aquagenic urticaria) พบได้น้อย ลักษณะจะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยรอยขาวจากเส้นเลือดหดตัว (Vasoconstriction)
  4. โรคลมพิษที่เกิดจากการสัมผัสความร้อน (Heat urticaria)
  5. โรคลมพิษที่เกิดจากการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย (cholinergic urticaria)
  6. โรคลมพิษที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีภายนอก (Contact urticaria) เช่น ยาทา เครื่องสำอาง ยางธรรมชาติ ยางลาเท็กซ์
  7. โรคลมพิษที่เกิดจากแสงแดด (Solar urticaria) โดยจะเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่ถูกแสง ภายในไม่กี่นาทีหลังจากที่สัมผัสแสงแดด
  8. โรคลมพิษที่เกิดจากการสัมผัสวัสดุที่มีการสั่นสะเทือน (Vibratory urticaria)
  9. โรคลมพิษที่เกิดจากแรงกดทับ (Delayed pressure urticaria) มักเกิดขึ้นช้ามากกว่า 30 นาที ถึงหลายชั่วโมงหลังมีแรงกดทับ เช่น เกิดที่สะโพก ก้น จากการนั่งนาน ๆ หรือเกิดขึ้นบริเวณเท้าเมื่อยืนหรือเดินเป็นเวลานาน

 

การรักษาโรคลมพิษ

  • แนวทางการรักษาทั่วไป (General treatment)
    1. การหาและกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมพิษ
    2. หลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสปัจจัยต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมพิษ บางครั้งอาจต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมบางอย่างที่ทราบว่าสามารถทำให้โรคกำเริบได้
  • แนวทางการดูแลรักษาที่จำเพาะ (Specific treatment)
    1. ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) มีหลายชนิดและหลายกลุ่ม มีทั้งที่ออกฤทธิ์สั้น ออกฤทธิ์ยาว ทั้งที่ง่วง และไม่ง่วง การจะเลือกใช้ยาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
    2. ยาอื่น ๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก ผื่นไม่ค่อยตอบสนองต่อยาต้านฮีสตามีน แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอื่นร่วมด้วย เพื่อให้เกิดผลดีในการรักษามากขึ้น

 

การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวผู้ป่วยที่มีเฉพาะผื่นลมพิษที่ผิวหนัง         

1. งดสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดผื่นลมพิษตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

2. ต้องนำยาต้านฮีสตามีนติดตัวไว้เสมอ เมื่อเกิดอาการจะได้ใช้ได้ทันที

3. ควรหลีกเลี่ยงภาวะเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ลดความวิตกกังวลจะช่วยให้อาการบรรเทาได้

4. หากมีอาการคันไม่ควรแกะเกาผิวหนัง อาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ

5. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากยาทำให้มีอาการง่วงซึม จนรบกวนการทำงานควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเปลี่ยนยา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

โรคที่มีอาการแสดงทางผิวหนังเป็นลักษณะผื่นนูนแดง (Wheal and flare) และคัน อาจพบร่วมกับอาการบวมนูนใต้ผิวหนัง (Angioedema) และพบได้บ่อยร้อยละ 10-20 ของประชากรทั่วไปจะเคยมีประสบการณ์การเป็นผื่นลมพิษ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่ออาหาร ยา การติดเชื้อ สิ่งกระตุ้นทางกายภาพ หรือเกิดขึ้นมาเองโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

อาการและอาการแสดง

ลักษณะอาการคือ ผื่นนูน (Wheal) ล้อมรอบด้วยรอยแดง (Flare) โดยเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของร่างกาย ส่วนใหญ่จะมีอาการคัน เกิดขึ้นทันทีและจางหายไปใน 24 ชั่วโมง โดยไม่ทิ้งร่องรอยหลังผื่นยุบ

ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดร่วมกับอาการบวมนูนในชั้นผิวหนังแท้ส่วนล่างหรือชั้นใต้ผิวหนัง (Angioedema) ซึ่งมักเกิดในบริเวณเนื้ออ่อน เช่น เปลือกตา ริมฝีปาก เป็นต้น หากเกิดขึ้นบริเวณกล่องเสียงจะทำให้เสียงแหบ และหากมีอาการบวมของหลอดลมจะมีอาการหายใจลำบากส่งผลอันรายถึงชีวิต และการบวมของเยื่อบุทางเดินอาหารจะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเหลวได้

ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีภาวะ Anaphylaxis คือ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบหืด เสียงแหบ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดินถึงขั้นมีภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือมีภาวะช็อค (Anaphylaxis Shock) ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินและอันตรายถึงชีวิต

การแบ่งชนิดของโรคลมพิษ

แบ่งตามระยะเวลาที่เกิดได้ 2 ชนิด

  • โรคลมพิษเฉียบพลัน (Acute Urticaria) ผื่นลมพิษที่มีอาการต่อเนื่องเป็นเวลาน้อยกว่า 6 สัปดาห์ สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ การติดเชื้อในร่างกาย ยา อาหาร แมลงสัตว์กัดต่อย หรือในบางรายตรวจไม่ทราบสาเหตุ
  • ลมพิษเรื้อรัง (Chronic Urticaria) มีอาการอย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ และต่อเนื่องนานกว่า 6 สัปดาห์

แบ่งตามสาเหตุของโรค

  • ลมพิษที่เกิดขึ้นเอง (Spontaneous urticaria)
  1. โรคลมพิษเฉียบพลัน (Acute Urticaria)
  2. โรคลมพิษเรื้อรัง (Chronic Urticaria)
  • ลมพิษเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ (Inducible Urticaria)
  1. โรคลมพิษที่ขึ้นตามรอยขีดข่วน (Dermographism) เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังเกิดปฏิกิริยาไวต่อรอยขีดข่วน เกิดเป็นรอยนูนบริเวณที่ถูกขีดข่วนภายในไม่กี่นาที ทำให้มีอาการคันและยิ่งเกาจะเป็นรอยและคันมากขึ้น
  2. โรคลมพิษที่เกิดจากความเย็น (Cold urticaria) จะปรากฏขึ้นเมื่อผิวหนังสัมผัสความเย็นแล้วกลับมาอุ่นใหม่ (Rewarming)
  3. โรคลมพิษที่เกิดจากการสัมผัสน้ำ (Aquagenic urticaria) พบได้น้อย ลักษณะจะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยรอยขาวจากเส้นเลือดหดตัว (Vasoconstriction)
  4. โรคลมพิษที่เกิดจากการสัมผัสความร้อน (Heat urticaria)
  5. โรคลมพิษที่เกิดจากการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย (cholinergic urticaria)
  6. โรคลมพิษที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีภายนอก (Contact urticaria) เช่น ยาทา เครื่องสำอาง ยางธรรมชาติ ยางลาเท็กซ์
  7. โรคลมพิษที่เกิดจากแสงแดด (Solar urticaria) โดยจะเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่ถูกแสง ภายในไม่กี่นาทีหลังจากที่สัมผัสแสงแดด
  8. โรคลมพิษที่เกิดจากการสัมผัสวัสดุที่มีการสั่นสะเทือน (Vibratory urticaria)
  9. โรคลมพิษที่เกิดจากแรงกดทับ (Delayed pressure urticaria) มักเกิดขึ้นช้ามากกว่า 30 นาที ถึงหลายชั่วโมงหลังมีแรงกดทับ เช่น เกิดที่สะโพก ก้น จากการนั่งนาน ๆ หรือเกิดขึ้นบริเวณเท้าเมื่อยืนหรือเดินเป็นเวลานาน

 

การรักษาโรคลมพิษ

  • แนวทางการรักษาทั่วไป (General treatment)
    1. การหาและกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมพิษ
    2. หลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสปัจจัยต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมพิษ บางครั้งอาจต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมบางอย่างที่ทราบว่าสามารถทำให้โรคกำเริบได้
  • แนวทางการดูแลรักษาที่จำเพาะ (Specific treatment)
    1. ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) มีหลายชนิดและหลายกลุ่ม มีทั้งที่ออกฤทธิ์สั้น ออกฤทธิ์ยาว ทั้งที่ง่วง และไม่ง่วง การจะเลือกใช้ยาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
    2. ยาอื่น ๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก ผื่นไม่ค่อยตอบสนองต่อยาต้านฮีสตามีน แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอื่นร่วมด้วย เพื่อให้เกิดผลดีในการรักษามากขึ้น

 

การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวผู้ป่วยที่มีเฉพาะผื่นลมพิษที่ผิวหนัง         

1. งดสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดผื่นลมพิษตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

2. ต้องนำยาต้านฮีสตามีนติดตัวไว้เสมอ เมื่อเกิดอาการจะได้ใช้ได้ทันที

3. ควรหลีกเลี่ยงภาวะเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ลดความวิตกกังวลจะช่วยให้อาการบรรเทาได้

4. หากมีอาการคันไม่ควรแกะเกาผิวหนัง อาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ

5. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากยาทำให้มีอาการง่วงซึม จนรบกวนการทำงานควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเปลี่ยนยา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง