“โรคด่างขาว” ปัญหาสีผิวที่ต้องการความเข้าใจ
โรคด่างขาว (Vitiligo) เป็นโรคที่ผิวหนังปกติมีการเปลี่ยนแปลงเป็นผื่นสีขาว มีขอบเขตชัดเจนสามารถพบรอยโรคได้ในทุกส่วนของร่างกาย บางครั้งอาจพบขนบริเวณรอยโรคมีสีขาวร่วมด้วย โรคด่างขาวพบได้ประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากร สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัยและทุกช่วงอายุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากความแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเชลล์สร้างเม็ดสี โดยทั่วไปพบโรคด่างขาวได้ในบุคคลที่สุขภาพแข็งแรงดีหรือพบร่วมกับโรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ โรคผมร่วงหย่อม โรคเบาหวาน โรคโลหิตจางบางชนิด เป็นต้น
ชนิดของโรคด่างขาว
- โรคด่างขาวเฉพาะที่ (Segmental Vitiligo) พบรอยโรคอยู่เฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย เป็นชนิดที่อาการค่อนข้างคงที่ ไม่ลุกลาม มักพบในคนที่อายุน้อย
- โรคด่างขาวกระจายทั่วไป (Non-segmental Vitiligo) เป็นชนิดที่พบบ่อย พบรอยโรคกระจายทั้งสองด้านของร่างกาย อาจพบรอยโรคบริเวณมือ เท้า ปากหรือบางรายอาจพบรอยโรคทั่วตัว เป็นชนิดที่มีโอกาสลุกลามมากกว่าชนิดอื่นๆ
การรักษาโรคด่างขาว
ปัจจุบันมีการรักษาโรคด่างขาวหลายวิธีขึ้นกับชนิดและปริมาณรอยโรคในผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีหลักการ คือยับยั้งความแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกัน และกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีที่เหลืออยู่สร้างเม็ดสีกลับคืนมายังรอยโรค
- ยาทาเฉพาะที่ เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาทาโครลิมัส ยาไพมิโครลิมัส
- การฉายแสงอาทิตย์เทียมอัลตราไวโอเลตบีชนิดคลื่นแคบ (narrowband UVB) เป็นการรักษาหลักในโรคด่างขาวชนิดกระจาย โดยสามารถฉายแสงอาทิตย์เทียมเฉพาะรอยโรคที่เป็น หรือฉายทั่วทั้งตัวได้ ผู้ป่วยต้องมารับการฉายแสงอาทิตย์เทียม 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
- การรับประทานยา เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาต้านอนุมูลอิสระ จะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการลุกลามของโรคด่างขาว
- การผ่าตัดปลูกถ่ายเม็ดสี (Melanocyte-Keratinocyte Transplantation Procedure:MKTP) ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมีอาการคงที่ ไม่ลุกลาม
- การใช้เครื่องสำอาง ช่วยปกปิดรอยโรค มักแนะนำให้ใช้ในตำแหน่งที่ตอบสนองไม่ดีหรือดื้อต่อการรักษา
หากผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษา จะพบจุดสีน้ำตาลขึ้นบริเวณรอยโรคด่างขาว หรืออาจสังเกตเห็นรอยโรคด่างขาวมีขนาดเล็กลง การตอบสนองจะขึ้นกับตำแหน่งของด่างขาวเป็นสำคัญ โดยด่างขาวบริเวณใบหน้า คอ ลำตัวจะตอบ สนองได้ดีกว่าด่างขาวบริเวณมือ เท้า
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเรื่องระยะเวลาที่เป็นด่างขาว โดยผู้ป่วยที่เริ่มมารับการรักษาเร็วจะได้ผลดีกว่ารายที่เป็นโรคด่างขาวมานานแล้วจึงมาเริ่มการรักษา ที่สำคัญคือโรคด่างขาวเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา การตอบสนองขึ้นกับตำแหน่งของรอยโรคและมีผลกระทบต่อจิตใจและสังคมของผู้ป่วย ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวโรคซึ่งจะทำให้การรักษาเป็นไปได้ด้วยดี
ข้อมูลจาก : รศ. พญ. นฤมล ศิลปอาชา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
โรคด่างขาว (Vitiligo) เป็นโรคที่ผิวหนังปกติมีการเปลี่ยนแปลงเป็นผื่นสีขาว มีขอบเขตชัดเจนสามารถพบรอยโรคได้ในทุกส่วนของร่างกาย บางครั้งอาจพบขนบริเวณรอยโรคมีสีขาวร่วมด้วย โรคด่างขาวพบได้ประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากร สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัยและทุกช่วงอายุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากความแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเชลล์สร้างเม็ดสี โดยทั่วไปพบโรคด่างขาวได้ในบุคคลที่สุขภาพแข็งแรงดีหรือพบร่วมกับโรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ โรคผมร่วงหย่อม โรคเบาหวาน โรคโลหิตจางบางชนิด เป็นต้น
ชนิดของโรคด่างขาว
- โรคด่างขาวเฉพาะที่ (Segmental Vitiligo) พบรอยโรคอยู่เฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย เป็นชนิดที่อาการค่อนข้างคงที่ ไม่ลุกลาม มักพบในคนที่อายุน้อย
- โรคด่างขาวกระจายทั่วไป (Non-segmental Vitiligo) เป็นชนิดที่พบบ่อย พบรอยโรคกระจายทั้งสองด้านของร่างกาย อาจพบรอยโรคบริเวณมือ เท้า ปากหรือบางรายอาจพบรอยโรคทั่วตัว เป็นชนิดที่มีโอกาสลุกลามมากกว่าชนิดอื่นๆ
การรักษาโรคด่างขาว
ปัจจุบันมีการรักษาโรคด่างขาวหลายวิธีขึ้นกับชนิดและปริมาณรอยโรคในผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีหลักการ คือยับยั้งความแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกัน และกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีที่เหลืออยู่สร้างเม็ดสีกลับคืนมายังรอยโรค
- ยาทาเฉพาะที่ เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาทาโครลิมัส ยาไพมิโครลิมัส
- การฉายแสงอาทิตย์เทียมอัลตราไวโอเลตบีชนิดคลื่นแคบ (narrowband UVB) เป็นการรักษาหลักในโรคด่างขาวชนิดกระจาย โดยสามารถฉายแสงอาทิตย์เทียมเฉพาะรอยโรคที่เป็น หรือฉายทั่วทั้งตัวได้ ผู้ป่วยต้องมารับการฉายแสงอาทิตย์เทียม 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
- การรับประทานยา เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาต้านอนุมูลอิสระ จะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการลุกลามของโรคด่างขาว
- การผ่าตัดปลูกถ่ายเม็ดสี (Melanocyte-Keratinocyte Transplantation Procedure:MKTP) ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมีอาการคงที่ ไม่ลุกลาม
- การใช้เครื่องสำอาง ช่วยปกปิดรอยโรค มักแนะนำให้ใช้ในตำแหน่งที่ตอบสนองไม่ดีหรือดื้อต่อการรักษา
หากผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษา จะพบจุดสีน้ำตาลขึ้นบริเวณรอยโรคด่างขาว หรืออาจสังเกตเห็นรอยโรคด่างขาวมีขนาดเล็กลง การตอบสนองจะขึ้นกับตำแหน่งของด่างขาวเป็นสำคัญ โดยด่างขาวบริเวณใบหน้า คอ ลำตัวจะตอบ สนองได้ดีกว่าด่างขาวบริเวณมือ เท้า
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเรื่องระยะเวลาที่เป็นด่างขาว โดยผู้ป่วยที่เริ่มมารับการรักษาเร็วจะได้ผลดีกว่ารายที่เป็นโรคด่างขาวมานานแล้วจึงมาเริ่มการรักษา ที่สำคัญคือโรคด่างขาวเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา การตอบสนองขึ้นกับตำแหน่งของรอยโรคและมีผลกระทบต่อจิตใจและสังคมของผู้ป่วย ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวโรคซึ่งจะทำให้การรักษาเป็นไปได้ด้วยดี
ข้อมูลจาก : รศ. พญ. นฤมล ศิลปอาชา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A